2 ตอบกลับ

ขออนุญาตแบ่งปั่นบทความเกี่ยวกับภาวะนี้นะคะ ขอให้คุณแม่และน้องแข็งแรงนะค้าา ภาวะรกเกาะต่ำคืออะไร ? เมื่อมีการตั้งครรภ์ตัวอ่อนจะมีการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์จนมีขนาดใหญ่ เมื่อถึงระยะหนึ่งจะมีกลุ่มเซลล์ส่วนหนึ่งที่แยกพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนในครรภ์ ขณะที่เซลล์อีกกลุ่มจะพัฒนากลายไปเป็นรก ซึ่งมีหน้าที่ในการนำสารอาหารจากคุณแม่ส่งต่อให้กับทารก ขณะที่ทารกมีการเจริญเติบโตอยู่ในถุงน้ำคร่ำ รกก็จะเจริญเติบโตโดยเกาะติดอยู่กับผนังมดลูก และค่อยๆ ฝังลึกเข้าไปในผนังมดลูก ตำแหน่งที่รกเกาะติดกับผนังมดลูกมักอยู่ที่บริเวณด้านบนของมดลูก โดยค่อนไปทางด้านหลังเล็กน้อย แต่ในคุณแม่ตั้งครรภ์บางรายจะมีลักษณะของรกที่เกาะตรงส่วนล่างของมดลูก หรือคลุมที่ปากมดลูก จึงเรียกการเกาะของรกลักษณะนี้ว่า รกเกาะต่ำ(Placenta previa) ภาวะรกเกาะต่ำมีกี่แบบ ? มีการแบ่งลักษณะของรกเกาะต่ำเป็น 3 แบบใหญ่ๆ ตามความรุนแรง ดังนี้ รกเกาะต่ำคลุมปากมดลูกทั้งหมด รกปิดปากมดลูกทั้งหมดทำให้ทารกคลอดทางช่องคลอดไม่ได้ ต้องผ่าคลอดทารกออกมา รกเกาะต่ำคลุมปากมดลูกเป็นบางส่วน ปากมดลูกที่ขยายมากขึ้นอาจไปดึงให้รกขยับสูงขึ้น บางครั้งอาจไม่ขวางการคลอดของทารก แต่จะทำให้มีเลือดออกมาก ทำให้ต้องผ่าคลอดทารกออกมา รกเกาะต่ำบริเวณด้านล่างของมดลูกแต่ไม่คลุมปากมดลูก คือทารกสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ แต่ถึงแม่จะสามารถคลอดทารกทางช่องคลอดได้ ก็ทำให้เลือดออกมามากเช่นกัน ทำไมจึงเกิดภาวะรกเกาะต่ำ? และรกเกาะต่ำอันตรายแค่ไหน ? อ่านหน้าต่อไปคลิก ภาวะรกเกาะต่ำอันตรายแค่ไหน ทำไมจึงเกิดภาวะรกเกาะต่ำ ? ส่วนมากในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะรกเกาะต่ำขึ้นในขณะตั้งครรภ์ เบื้องต้นอาจมาจากปัจจัยเหล่านี้ คือ มีการคลอดบุตรมาแล้วหลายครั้ง เคยขูดมดลูก เคยผ่าตัดที่มดลูก และเคยมีอาการมดลูกอักเสบ แม่มีอายุมาก เป็นคนสูบบุหรี่จัด การตั้งครรภ์แฝด การติดเชื้อในครรภ์มารดา จะรู้ได้อย่างไรว่ามีอาการของภาวะรกเกาะต่ำ ? สำหรับในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ในคุณแม่ที่มีปัจจัยสุ่มเสี่ยงว่าจะเกิดภาวะรกเกาะต่ำ สามารถสังเกตตัวเองได้ หากมีอาการดังนี้เกิดขึ้น ไม่มีอาการปวดท้อง แต่มีเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด เลือดไหลออกมาไม่มาก แต่เลือดออกบ่อยครั้ง ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นตลอดในช่วงอายุตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย หรือใกล้ช่วงที่จะคลอดลูก ให้พบแพทย์ทันที เพื่อจะได้อยู่ในความดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ภาวะรกเกาะต่ำอันตรายแค่ไหน ? เมื่อมีภาวะรกเกาะต่ำ ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์คุณแม่มักจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ จนกระทั่งอายุครรภ์มากขึ้นจนถึงช่วงใกล้คลอด ซึ่งมดลูกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ปากมดลูกและส่วนล่างของมดลูกจะเริ่มบางตัวลง และยืดขยายมากขึ้น เป็นผลให้รกที่เคยเกาะแน่นเกิดมีรอยปริแยกเกิดขึ้นจากการยืดขยายของส่วนล่างของมดลูก ทำให้เลือดออกตรงบริเวณที่รกเกาะ ซึ่งเลือดที่ออกจะไหลผ่านปากมดลูกลงมาในช่องคลอด ลักษณะเป็นเลือดสด มักไม่มีอาการเจ็บท้องร่วมด้วย ส่วนมากเมื่อมีเลือดออกครั้งแรกจะออกมาไม่มาก และจะหยุดได้เอง แต่ถ้ามีเลือดไหลออกมาอีกครั้ง และเลือดออกมากไม่หยุดไหล อาการแบบนี้ถือว่ารุนแรงส่งผลให้เป็นอันตรายถึงชีวิตทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ แม่ท้องสามารถดูแลตัวเองได้อย่างไรบ้างเมื่อมีภาวะรกเกาะต่ำ ? ในเบื้องต้นหากพบว่าตัวเองมีเลือดออก ให้รีบไปพบแพทย์ที่ดูแลครรภ์ในทันที คุณแม่จะต้องนอนพักผ่อนให้มากๆ และระวังไม่ให้มีการกระทบกระเทือนต่อทารกในครรภ์ หลีกเลี่ยงการทำงานหนักทั้งนอกบ้าน และในบ้าน สำหรับปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องสามารถป้องกันในเบื้องต้นได้ด้วยการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ และเล่าถึงปัญหาสุขภาพที่เคยมี ประวัติการเจ็บป่วยให้คุณหมอทราบ ก็จะช่วยให้การตั้งครรภ์ราบรื่นปลอดภัย เป็นการตั้งครรภ์คุณภาพได้ตลอดทั้ง 40 สัปดาห์ค่ะ

ขอบคุณมากๆนะคะคุณแม่

ท้องแก่เดี๋ยวก็ลอยขึ้นจ้า บ้านนี้ต่ำตั้งแต่ตั้งท้องจนถึง35w ตอนนี้37w รกลอยขึ้นแล้วจ้า แต่บางคนก็ไม่ลอยก็จะได้ผ่าคลอด อย่าเดิน ยืนนานเกินไป งดเพศสัมพันธุ์ เลี่ยงการนั่งยองๆ ไม่ยกของหนัก สังเกตุอาการตัวเอง ถ้าปวดท้องมีเลือดออกออกต้องพบหมอทันทีค่ะ อย่าเครียดนะคะ

คำถามที่เกี่ยวข้อง

คำถามยอดฮิต

บทความเกี่ยวข้อง