2 ตอบกลับ

เด็กที่มีอารมณ์โกรธรุนแรงเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ตนต้องการ อีกทั้งยังมีพฤติกรรมการไม่ยอมทำตาม ซึ่งการแสดงออกดังกล่าว มักรบกวนและอาจนำไปสู่ปัญหาความเครียดของคนรอบข้างได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง ครู และเพื่อน การตรวจวิเคราะห์สาเหตุและลักษณะของปัญหาเด็กเอาแต่ใจอย่างถูกต้องถือเป็นสิ่งจำเป็น บ่อยครั้งที่ปัญหาเด็กเอาแต่ใจไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุของลักษณะอารมณ์โกรธรุนแรงในเด็ก นอกจากนี้เด็กที่มีปัญหาเอาแต่ใจยังอาจได้รับการวินิจฉัยที่เกินจริงว่าเป็นโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder - ADHD) เหตุเพราะนิสัยวู่วามซึ่งแปรผันอย่างรุนแรงตามอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเด็กไม่ได้รับการเอาอกเอาใจตามที่ต้องการ อีกทั้งอารมณ์โกรธของเด็กที่เอาแต่ใจบางราย มักมีความรุนแรงมากจนกระทั่งอาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) ทั้งนี้ พ่อแม่ถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดในการป้องกันเด็ก ครอบครัว และสังคมจากปัญหาอันอาจเกิดจากความเอาแต่ใจ แต่ในทางกลับกัน การเลี้ยงดูของพ่อแม่ก็เป็นปัจจัยจุดประกายนิสัยความเอาแต่ใจในเด็กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น หากรักลูก พ่อแม่ก็ไม่ควรทำร้ายลูกตั้งแต่ต้น อย่างไรก็ตาม โชคดีที่การป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กเอาแต่ใจไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไปนัก หากเด็กได้รับการปลูกฝังที่ดีตั้งแต่เล็ก หรือปัญหาได้รับการแก้ไขตั้งแต่พฤติกรรมเอาแต่ใจเริ่มแสดงออก ที่สำคัญหากพ่อแม่สามารถเลี้ยงดูลูกได้อย่างเหมาะสม ปัญหาเด็กเอาแต่ใจย่อมไม่มีทางเกิดขึ้น

Promo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-7981)

คำถามที่เกี่ยวข้อง

คำถามยอดฮิต