10 ตอบกลับ

สุขภาพเด็ก   โรคเด็กอื่น ๆ   เด็กร้อง 3 เดือน (โคลิก) รศ.นพ. ประพันธ์ อ่านเปรื่อง (Assoc. Prof. PRAPUN AANPREUNG)   เด็กร้อง 3 เดือน (โคลิก)   รศ.นพ.ประพันธ์  อ่านเปรื่อง ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อเด็กทารกในช่วงอายุ 3 เดือนแรกมีอาการร้องไห้รุนแรงและร้องเป็นเวลานาน เป็นผลให้พ่อแม่มีความกังวลใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับทารก มีโรคอะไรร้ายแรงที่เป็นสาเหตุ   โดยทั่วไปเรียกอาการดังกล่าวว่า   โคลิก (colic)    ในต่างประเทศพบได้ประมาณร้อยละ 5-25     ซึ่งจะมีอาการร้องไห้มากในช่วงอายุเหล่านี้ได้บ่อยอยู่แล้ว แต่จะถือว่ามีอาการโคลิกเมื่อทารกมีอาการร้องไห้ที่รุนแรง โมโห ร้องแบบแผดเสียง หน้าแดง กำหมัดแน่น ขางอเข้าหาหน้าท้อง โดยมีอาการนานมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์และเป็นอยู่นานมากกว่า 3 เดือน โดยทารกต้องมีสุขภาพดีและกินอาหารได้เป็นปกติ   เริ่มมีอาการเมื่ออายุประมาณ 2 สัปดาห์และจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายในอายุ 4 เดือน  อาการร้องมักจะเกิดขึ้นในช่วงบ่ายหรือเย็น สาเหตุ สาเหตุของอาการเหล่านี้ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่เชื่อว่าน่าจะมีสาเหตุหลาย ๆ อย่างร่วมกันของระบบทางเดินอาหาร จิตวิทยาระบบประสาทและพัฒนาการในทารก  อย่างไรก็ตามอาการโคลิกจะพบได้ในโรคหลายโรค แต่จะเป็นสาเหตุได้น้อยในโคลิก และโรคเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีอาการแบบเฉียบพลัน เช่น ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ท้องผูก แพ้นม การขย้อนหรือสำลักอาหาร แผลที่รูก้น การติดเชื้อในร่างกาย เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ การได้รับอุบัติเหตุ  เช่น กระดูกหัก แผลที่ตาดำ แมลงเข้าไปในหู เป็นต้น    เนื่องจากขณะที่ทารกร้องไห้จะมีท่างอขาไปชิดหน้าท้อง ทำให้คิดว่าน่าที่จะมีความผิดปกติที่ระบบทางเดินอาหาร  การที่ทารกร้องไห้มาก ๆ ทำให้มีการกลืนก๊าซเข้าไปลำไส้มาก เป็นผลให้แน่นท้อง ไม่สบายตัว แต่ไม่น่าจะทำให้ทารกมีอาการร้องไห้ที่รุนแรง    ข้อมูลที่กล่าวว่าอาจเป็นผลจากการแพ้สารอาหารที่รับประทานซึ่งยังไม่สรุปแน่นอน  การเคลื่อนไหวของลำไส้ที่มากกว่าปกติ อาจทำให้ทารกมีอาการเจ็บปวด ซึ่งทารกบางรายอาจมีอาการดีขึ้น  เมื่อได้รับยาลดการบีบตัวของลำไส้  ด้านของสุขภาพจิตของมารดาและความสัมพันธ์ระหว่างมารดากับทารก พบว่ามารดาอาจคิดว่าตัวเองยังไม่มีความชำนาญในการเลี้ยงดู มีความกังวลและรู้สึกล้าในการดูแลทารก มารดาที่อายุน้อยและไม่มีผู้ใหญ่ช่วยเลี้ยงดูทารก มารดาจะรู้สึกเครียด เมื่อทารกร้องไห้และไม่รู้วิธีการที่ทำให้ทารกหยุดร้อง   ด้านระบบประสาทและพัฒนาการพบว่า ทารกที่ร้องไห้มาก ๆ อาจถือว่าเป็นปกติสำหรับเขาเพียงแต่ว่าทารกกลุ่มนี้อยู่ในกลุ่มที่ร้องไห้มากกว่าทารกทั่วไป และเมื่อเวลาผ่านไประบบประสาทและการพัฒนาการดีขึ้นอาการก็จะหายไปได้เอง   การวินิจฉัยโรค ผู้ปกครองมักมีความกังวลว่าจะมีโรคที่รุนแรงที่ทำให้ทารกร้องไห้มาก การซักประวัติและการตรวจร่างกายอย่างรอบคอบของแพทย์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง  แพทย์จะถามถึงพฤติกรรมขณะที่ร้องไห้ ช่วงของเวลา และระยะเวลาของการร้อง  ประวัติการหยุดหายใจ อาการเขียว หายใจลำบาก อาการแหวะนมและอาเจียน  การตรวจร่างกายของแพทย์มีจุดประสงค์เพื่อหาสาเหตุที่จะทำให้ทารกมีอาการร้องไห้อย่างรุนแรง ไม่มีความจำเป็นในการทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ปัสสาวะหรือเอกซเรย์ถ้าทารกมีการเจริญเติบโตและการตรวจร่างกายที่ปกติ การรักษา สิ่งที่สำคัญคือ การให้ข้อมูลกับผู้ปกครองให้เข้าใจถึงอาการนี้รวมทั้งการดำเนินโรค การให้คำแนะนำจะช่วยลดความกังวลของตัวผู้ปกครองรวมทั้งญาติที่อยู่ด้วยกัน ข้อแนะนำในการดูแลทารกทีมีอาการ ได้แก่  การสร้างบรรยากาศในการเลี้ยงดูให้สงบ อุ้มทารกเมื่อมีอาการ โดยพยายามสังเกตว่ามีอะไรที่ทำให้ทารกไม่สบายตัว เช่น ผ้าอ้อมเปียก อากาศที่ร้อนหรือเย็นเกินไป   ให้อาหารไม่มากหรือน้อยเกินไป สังเกตอาการหิวของทารก และให้นมตามที่ต้องการ  อาการโคลิกจะพบได้ทั้งในทารกที่กินนมมารดาและนมผสม   ถ้าทารกที่กินนมมารดาแนะนำให้กินต่อไป ถ้าคิดว่าทารกอาจมีปฏิกิริยาต่อสารอาหารที่มารดารับประทาน  และสารนั้นอาจผ่านมาทางน้ำนม  อาจลองให้มารดาหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนมวัว ไข่ ถั่ว แล้วดูการตอบสนอง ในทารกที่ดื่มนมผสมแนะนำให้ดื่มต่อไปยกเว้นมีข้อมูลที่ชี้นำว่าอาจแพ้นมวัว เช่น อาการแหวะนม มีผื่นขึ้น ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นเลือด ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อแนะนำให้เปลี่ยนนมเป็นชนิดอื่น การใช้ยาขับลม  simethicone  ไม่ค่อยได้ผลมากนัก การใช้ยาขับลมที่ผสมสารหลายอย่าง เช่น Gripe Water เพื่อลดอาการท้องอืด ย่อยไม่ดี แต่ต้องระวังในส่วนประกอบว่ามี น้ำตาลหรือแอลกอฮอล์ ซึ่งจะมีผลเสียกับทารกได้  ยากลุ่มที่ลดการบีบตัวของลำไส้อาจทำให้อาการดีขึ้น แต่จะต้องระวังผลข้างเคียงของยา เช่น กดการหายใจ ทำให้ง่วงซึม

โคลิก (Colic หรือ Baby colic) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดอายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน เด็กจะร้องมาก ร้องนานและมักชอบร้องตอนกลางคืนโดยจะร้องจนตัวงอ ทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลกับพ่อแม่และครอบครัวมาก คนรุ่นก่อนจึงมักเรียกว่า “เด็กร้องร้อยวัน”อาการที่ทำให้เกิดเป็นเรื่องของการปวดท้อง ไม่สบายท้องของเด็ก โคลิก (Colic หรือ Baby colic) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดอายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน เด็กจะร้องมาก ร้องนานและมักชอบร้องตอนกลางคืนโดยจะร้องจนตัวงอ ทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลกับพ่อแม่และครอบครัวมาก คนรุ่นก่อนจึงมักเรียกว่า “เด็กร้องร้อยวัน”อาการที่ทำให้เกิดเป็นเรื่องของการปวดท้อง ไม่สบายท้องของเด็ก โคลิก เกิดได้ประมาณ 8-40% ของเด็กเล็ก และที่น่าสังเกตคือ พบบ่อยในครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง เป็นบุตรของพ่อแม่ที่มีอายุมาก เกิดในครอบครัวที่มีลูกน้อยคน และ ในพ่อแม่มีการศึกษาสูง สาเหตุและพยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology/ความผิดปกติในด้านการทำงานของอวัยวะต่างๆ) ของการเกิดโคลิกยังไม่ทราบแน่นอน แต่คิดว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันคือ จากพื้นฐานอารมณ์ของเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กเลี้ยงยาก - เด็กกลืนอากาศขณะดูดนมเข้าไปมาก ผู้ดูแลไม่สามารถทำให้เด็กเรอได้เพียงพอ อากาศในท้องจึงก่อให้เด็กเกิดอาการแน่นอึดอัดในท้อง - เด็กอยู่ในท่านอนที่ไม่เหมาะสม - เด็กกินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป - ครอบครัวมีความเครียด หรือความวิตกกังวลมาก (ซึ่งอาจตรงกับที่พบอุบัติการณ์โคลิดสูงในครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง เป็นบุตรของพ่อแม่ที่มีอายุมาก ครอบ ครัวที่มีลูกน้อย และในพ่อแม่ที่มีการศึกษาสูง) พบว่าความเครียดของแม่ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์มีผลให้เกิดโคลิกในเด็กได้ - เกิดในเด็กที่มีภาวะ/โรคกรดไหลย้อน - เกิดในเด็กที่มีการเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติ คือมีการเคลื่อนตัวของลำไส้มากเกินไป - เกิดในเด็กที่มีการกินอาหารพวกแป้งมากเกินไป ทำให้ลำไส้ย่อยแป้งไม่หมด จึงเหลือแป้งให้แบคทีเรีย (ในลำไส้) ย่อยแป้งที่เหลือ ทำให้เกิดแก๊สในลำไส้มาก เด็กจึงแน่นอึดอัดท้อง - ในเด็กที่มีการแพ้อาหาร หรือในเด็กที่ได้รับน้ำผลไม้บางอย่าง เช่น น้ำแอปเปิล - เด็กที่บิดา มารดา มีปัญหาทางอารมณ์ - มีการเปลี่ยนแปลงของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้เด็ก โดยเฉพาะมีแบคทีเรียบางกลุ่มสัมพันธ์กับการเกิดอาการโคลิก ซึ่งเมื่อลดแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวอาการโคลิกก็ลดลงได้ ยังมีข้อมูลอีกมากเกี่ยวกับโคลิคค่ะ ลองศึกษาเพิ่มเติมที่นี่ค่ะ http://haamor.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81/

VIP Member

บ้านนี้น้องมีอาการโคลิคตอนอายุจะครบเดือนคะ เป็นช่วงตี 2-4 บางทีลากยากไปถึงตี 5 เลยคะ น้องจะร้องโยเยไม่เอาอะไร กินนมก็ไม่กิน ต้องอุ้มพาเดินรอบห้องตลอดเลยคะ อาการโคลิครักษาไม่หายแต่มันจะหายไปเองเมื่อถึงเวลาคะ ตอนนี้น้องได้ 1m12d ยังไม่หายเลยคะ ต้องอดทนให้มากๆ นะคะ

หมอบอกว่าอาหารโคลิคส่วนมากจะพบไม่เกินอายุ 3 เดือนค่ะ ^^ ถ้าเลยกว่า3 เดือนควรหาสาเหตุ เช่น ท้องอืดคะแม่

บ้านนี้กำลังเปนคะน้องได้2เดือน22วันร้องเวลาเดิมช่วงทุ่มกว่าๆเปนมาสี่วันละจ้าต้องอดทนนะคะคุณแม่ๆ

Promo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-7810)

ช่วง1-3เดือนค่ะ ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ ในเวลาเดียวกัน

แล้วแต่เด็กค่ะ บางคนก็ 3 เดือนแรกค่ะ

VIP Member

ช่วง3เดือนแรกค่ะแม่

ช่วง 1-3 เดือนแรกค่ะ

คำถามที่เกี่ยวข้อง

คำถามยอดฮิต