การตรวจคัดกรองดาวน์

สอบถามหน่อยจ้า แม่ๆท่านใด เคยผ่านขั้นตอนการตรวจคัดกรองดาวน์ บ้างแล้วค่ะ หมอนัดเราให้ไป ตรวจเลือด คัดกรองดาวน์ก่อน แล้วค่อยเจาะน้ำคร่ำค่ะ

12 ตอบกลับ
undefined profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

ตรวจดาวน์ซินโดรม แบบไหนดี การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีกี่ประเภท ตรวจดาวน์ซินโดรม แบบไหนดี แล้วแม่ท้องจะตรวจดาวน์ซินโดรมได้ตอนอายุครรภ์กี่เดือน ทำความรู้จักกับเด็กดาวน์ โรคดาวน์ (Down’s syndrome) หรือกลุ่มอาการดาวน์ เกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรม โดยเด็กจะมีสารพันธุกรรมของโครโมโซมแท่งที่ 21 เกินขึ้นมา 1 แท่ง โดยอาการที่แสดงหลักคือ ปัญญาอ่อน มีโรคหัวใจพิการ และอายุสั้น ซึ่งกลุ่มอาการดาวน์เป็นสาเหตุที่พบบ่อยสุดของโรคปัญญาอ่อน และยังมีระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ที่ผิดปกติ รวมถึงรูปร่างหน้าตาของเด็กดาวน์ก็จะเหมือนกันทุกเชื้อชาติ หน้าตาของเด็กดาวน์ จะมีดวงตาทั้ง 2 ข้างเฉียงขึ้น หัวคิ้วด้านใกล้จมูกหนาตัวขึ้น ม่านตามีจุดสีขาว สันจมูกแบน ปากเปิดออก ลิ้นมักจะจุกอยู่ที่ปาก หูมีขนาดเล็ก รอยพับของหูมีมากกว่าปกติ รูปร่างจะมีระยะห่างระหว่างหัวนมใกล้กว่าเด็กทั่วไป มือสั้นและกว้าง ลักษณะนิ้วและลายมือ ไม่เหมือนเด็กปกติ ศีรษะเล็ก กะโหลกศีรษะด้านหลังแบน เมื่อเติบโตขึ้นก็จะตัวเตี้ยและส่วนใหญ่จะอ้วน สำหรับทารกที่เป็นดาวน์จะมีชีวิตรอดมาได้จนถึง 1 ปี ประมาณ 50% จะมีชีวิตอยู่ได้จนถึง 50 ปี โดยสาเหตุการเสียชีวิตในช่วงวัยทารกและวัยเด็กมาจากความพิการของหัวใจ ขึ้นกับว่าหัวใจพิการรูปแบบไหน เมื่อเด็กสามารถมีชีวิตรอดเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญ คือ การที่ร่างกายแก่ก่อนวัยทำให้มีอายุขัยเฉลี่ยสั้น

อ่านเพิ่มเติม

ตรวจดาวน์ซินโดรม แบบไหนดี แม่จะรู้ได้ยังไงว่าการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมวิธีไหนเหมาะ นายแพทย์เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ สูติแพทย์ แบ่งการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ออกเป็นการตรวจคัดกรองหรือตรวจวินิจฉัย แม่อายุมาก กลุ่มความเสี่ยงสูงหรือมีประวัติบุตรคนก่อนเป็นโรคดาวน์ซินโดรม แพทย์จะเลือกการตรวจ NIPT เน้นตรวจคัดกรองที่ต้องมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น หรือใช้วิธีเจาะน้ำคร่ำ แม่อายุน้อย กลุ่มความเสี่ยงต่ำเป็นการตรวจคัดกรอง ส่งตรวจด้วยการตรวจสารเคมีในเลือด อาจร่วมกับการตรวจอัลตร้าซาวน์ นอกจากนี้ ยังต้องประเมินความเสี่ยงจากการซักประวัติและการตรวจอัลตร้าซาวน์ เช่น ประวัติการแท้งบุตรต่อเนื่องมากกว่า 3 ครั้ง คนในครอบครัวหรือพี่น้องเป็นโรคนี้มาก่อน หรือ การตรวจอัลตร้าซาวน์พบความผิดปกติบางอย่างที่บ่งชี้ว่าเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น พบเด็กขาสั้น พบเด็กลิ้นโต หากประเมินแล้วมีความเสี่ยงสูงมักนิยมให้เจาะตรวจน้ำคร่ำ สำหรับอายุครรภ์เองก็มีส่วนในการเลือกวิธีตรวจดาวน์ได้เช่นกัน อย่างอายุครรภ์น้อย นิยมตรวจด้วยการวัดสารเคมีในเลือด รอฟังผลได้ ถ้าผิดปกติให้ยืนยันด้วยการเจาะน้ำคร่ำ หากอายุครรภ์มากรอผลตรวจนานได้ อาจเลือกเป็นวิธี NIPT จากมีความแม่นยำสูง รวดเร็ว แต่ค่าใช้จ่ายก็สูงตามไปด้วย

อ่านเพิ่มเติม
6y ago

รบกวนสอบถามค่ะ อัลตราซาวน์ ดูเด็กเหมือนจะมีความผิดปกติแต่หมอบอกยังไม่ค่อยชัดเจนเพราะอายุครรภ์ยังน้อย ตอนซาวน์อายุครรภ์ 15w+ แต่ถ้าผลการตรวจเลือดของแม่ออกมาว่ามีความเสี่ยงต่ำ เราจะสามารถมั่นใจได้มั้ยคะว่า ลูกจะไม่เป็นดาวน์ แล้วควรเชื่อผลการตรวจเลือดหรือการอัลตราซาวน์

ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมแบบไหนดี เจาะน้ำคร่ำ แม่อายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ ทำได้โดยนำเซลล์จากตัวทารกที่หลุดลอยอยู่ในน้ำคร่ำ จากเซลล์ผิวหนังหรือเซลล์ของเยื่อบุผนังลำไส้ มาปั่นหาเซลล์ของทารก แล้วนำมาเลี้ยงเพื่อศึกษาลักษณะของโครโมโซม ถือว่าเป็นวิธีที่แม่นยำ แต่ระยะเวลาการรอฟังผล 3-4 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ยังมีความเสี่ยง เช่น คุณแม่มีโอกาสแท้งบุตรจากถุงน้ำคร่ำรั่ว ติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ หรือแม้แต่เข็มที่เจาะไปโดนตัวทารกขณะเจาะ ประมาณ 0.5–1% การเจาะน้ำคร่ำจึงจำเป็นต้องใช้ความชำนาญของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เจาะเลือดแม่หาปริมาณสารเคมี ขณะตั้งครรภ์ ทั้งแม่ท้องและทารกในครรภ์จะสร้างสารเคมีขึ้น ดยตัวที่มีความสำคัญนำมาใช้ตรวจคัดกรองทารกดาวน์ซินโดรม ได้แก่ อัลฟ่า ฟีโตโปรตีน (alpha feto-protein) เอสตริออล (estriol) เอชซีจี (hCG) อินฮิบิน เอ (Inhibin A) แพบเอ (PAPP-A) แม่ท้องตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ หากทารกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ จะมีระดับ อัลฟ่า ฟีโต โปรตีน ต่ำ ระดับเอชซีจีสูง โดยจะนำค่าที่ตรวจต่าง ๆ มาคำนวณ ก็จะสามารถบอกได้ว่า ทารกในครรภ์มีกลุ่มอาการดาวน์หรือไม่

อ่านเพิ่มเติม

อัลตร้าซาวนด์ร่วมกับการตรวจสารเคมีในเลือด วิธีนี้ตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10-14 สัปดาห์ การอัลตร้าซาวนด์จะวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอทารกในครรภ์ พร้อม ๆ กับการตรวจเลือดหาค่าสารเคมี เอชซีจี และแพบเอ แล้วจึงคำนวณหาค่าความเสี่ยง ความแม่นยำของวิธีนี้ยังไม่มาก บอกได้เพียงว่าลูกน้อยในครรภ์มีความเสี่ยงแค่ไหน แต่มีความไวในการตรวจจึงเป็นที่นิยมของสูติแพทย์ทั่วโลก ทั้งนี้ หากตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูง ที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรม ก็จะเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจเพิ่มเติม

อ่านเพิ่มเติม
6y ago

หมอบอกให้เราไปหลังจาก14w จะเกินกำหนดไกมคะ

การตรวจกรองหาลักษณะความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์คุณแม่ โดยไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ เพียงแค่เจาะเลือดคุณแม่ 10 มิลลิลิตร ก็สามารถตรวจลักษณะทางพันธุกรรมของลูก และสามารถรู้เพศลูกเลยคะ

6y ago

แค่ตรวจเลือดคัดกรองก้อรู้เพศหราค่ะ

เราท้องแฝดจ้า อายุแม่ 29 อายุครรภ์ตอนตรวจ 12 วีค เลือกตรวจแบบนิฟตี้ทวิน รู้เพศด้วยจ้า ปลอดภัยดีกว่าเจาะน้ำคร่ำ ค่าใช้จ่าย 20150 จ้า

6y ago

Niftybgi แอดไลน์ของนิฟตี้ได้เลยจ้า ว่าแต่ละจังหวัด สามารถเข้าเจาะเลือดได้ที่ไหน ของเค้าอยู่พิจิตร เจาะที่รพ.ชัยอรุณ

บ้านนี้แม่อายุ 35 หมอไม่แนะนำเจาะคะบอกเสี่ยงโดนเด็ก กลัวแท้ง ตรวจเลือดหมดไป หมื่นสองกว่าคะ รู้เพศลูกด้วยตอนนั้น4เดือนกว่า

ของเราคุณหมอนัดตรวจเลือดก่อนเหมือนกันค่ะ ถ้าเสี่ยงสูงได้เจาะน้ำคล่ำแต่ถ้าเสี่ยงต่ำไม่ได้เจาะค่ะ

6y ago

เราเจาะหน้าท้องเลยค่ะอายุเลย 35 แล้ว ฟังผลปกติค่ะ

เหมือนกันค่ะ เราตรวจเลือดคัดกรองก่อน ผลเลือดไม่ผ่านมีความเสี่ยง เลยต้องเจาะน้ำคร่ำด้วย

6y ago

ไม่ต้องกังวลค่ะแม่ ทำใจให้สบาย มีแบบนี้หลายคนเจาะน้ำคร่ำผ่านจร้า

เราเจาะเลือดตรวจดาวน์ตอน 13 วีคค่ะ แบบnifty ราคา 18000 บาท แบบนี้จะตรวจได้ถึงโครโมโซมและเพศลูกค่ะ

คำถามที่เกี่ยวข้อง