11 ตอบกลับ
าหารและยาประเภทใดบ้างที่คนเป็นโรค G6PD ห้ามกินหรือสัมผัส? อาหารที่ควรเลี่ยง ถั่วปากอ้า (Fava bean) พืชตระกูลถั่วที่มีผลเป็นฝัก (all legumn) เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว ไวน์แดง บลูเบอร์รี่ การบูร (Camphor) Berberine (สารประกอบเชิงซ้อนที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียพบในสมุนไพร goldenseal) สารเคมีที่ควรเลี่ยง ลูกเหม็น (Naphthalene) สีย้อมพวก Toluidine blue สารหนูชนิดอินทรีย์-organic arsenic ยาที่ควรหลีกเลี่ยง ยากลุ่ม NSAIDs บางชนิด ยาแอสไพริน ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ยากลุ่มซัลฟา หรือไนโตรฟูแรนโทอิน เป็นต้น ยาต้านมาเลเรียบางชนิด เช่น ควินิน หรือควินิดีน เป็นต้น ดูแลลูกที่เป็น โรค G6PD อย่างไร? สำหรับทารกแรกเกิดที่เป็นโรคนี้ มักจะมีอาการตัวเหลืองเมื่อแรกคลอด เมื่อแพทย์ตรวจพบว่ามีระดับสารเหลืองเกินกว่าปกติ จะได้รับคำแนะนำให้รักษาด้วยการส่องไฟ เพื่อให้แสงไฟทำปฏิกิริยาการสารเหลือง และขับสารเหลืองออกจาากร่างกายทางปัสสาวะ และ อุจจาระ หรือหากพบว่าระดับสารเหลืองสูงมาก อาจะได้รับการวินิจฉัยให้ถ่ายเลือด และเมื่อระดับสารเหลืองถูกขับออกมาจนอยู่ในระดับที่ปลอดภัยจนสามารถกลับบ้านได้แล้ว การดูแลเด็กที่เป็นโรค G6PD นั้นก็ดูแลเหมือนทารกปกติทั่วไป สามารถดื่มนมแม่ได้ตามปกติ เพียงแต่คุณแม่จะต้องทำตามแนะนำของแพทย์ในการระมัดระวังเรื่องการทานอาหารและยาต้องห้าม ควรติดตามอาการของลูกอยู่ตลอดเวลา โดยหากลูกอาการเหนื่อย เพลีย หรือดูว่าซีด เหลือง และ/หรือมีปัสสาวะสีน้ำตาลดำ หรือไม่มีปัสสาวะ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการและหาสาเหตุต่อไป ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคอื่น ๆ หรือหากต้องทานหรือใช้ยาใด ๆ ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาล ให้ทราบทุกครั้งว่ามีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถกระตุ้นให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ สำหรับเด็กที่โตแล้ว ควรสอนให้ลูกรู้จักและเข้าใจภาวะนี้ เพื่อระแวดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เด็กที่เป็นโรค G6PD นั้นไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง หากได้รับการรักษาที่ถูกวิธี และระมัดระวังการทานหรือสัมผัสอาหาร ยา และสารเคมีต้องห้าม ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติค่ะ
เมื่อลูกเป็นโรค G-6-PD ควรดูแลอย่างไร “G6PD” หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “โรคแพ้ถั่วปากอ้า” เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม แม้การป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ในเด็กทำได้ค่อนข้างยาก แต่ก็สามารถดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีและหลีกเลี่ยงปัจจัยเพื่อไม่ให้เกิดอาการของโรคแทนได้ ควรดูแลสุขภาพลูกให้เหมือนเด็กปกติทั่วไป รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ป้องกันการติดเชื้อ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย และไม่เครียด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ สอนลูกไม่เลือกกินเฉพาะอาหารที่ชอบ เพราะจะขาดความสมดุลของสารอาหาร ซึ่งสารอาหารบางอย่างช่วยต้านการเกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชัน ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและพอดี ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหม เพราะจะเพิ่มการใช้ออกซิเจนอย่างมากและกล้ามเนื้อทำงานหนัก จนอาจชักนำให้เกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชัน เมื่อมีไข้ สังเกตเห็นอาการซีด ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม หรือการติดเชื้อให้ไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรักษาสาเหตุของไข้ เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ไม่ควรซื้อยารับประทานกินเองไม่ว่ากรณีใด ๆ และควรแจ้งให้คุณหมอหรือพยาบาลทราบทุกครั้งว่ามีอาการป่วยเป็นโรคจีซิกพีดี สอนให้ลูกหลีกการรับประทานอาหารบางอย่างเช่น ถั่วปากอ้า พืชตระกูลถั่วหรือสิ่งกระตุ้นที่มีผลทำให้เกิดภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน รวมทั้งสอนให้สังเกตอาการผิดปกติของร่างกายที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับสารกระตุ้น เช่น สีของปัสสาวะ สีผิวที่อาจซีดเหลือง เป็นต้น ควรแจ้งทางโรงเรียนและครูประจำชั้นให้ทราบว่าลูกเป็นโรคจีซิกพีดีหรือโรคแพ้ถั่วปากอ้า และเขียนรายชื่ออาหารและยาที่ไม่ควรให้ลูกรับประทาน เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะจีซิกพีดี ในหลายสถานพยาบาลมักให้บัตรประจำตัวแก่ผู้ที่เป็นโรคพร่องเอนไซม์G6PDควรพกบัตรติดตัวไว้
ของลูกเราช่วง1-2เดือนแรกเวลาแม่กินอะไรที่มีถั่วผสมน้องจะตัวเหลืองค่ะ เลยลองงดดูก่อน พอมา3เดือนลองกินดูก็ไม่มีอาการเหลืองแล้วนะคะ ถั่วของไทยมันไม่ได้ร้ายแรงเท่าถั่วของต่างประเทศ แต่เด็กบางคนก็อาจจะมีอาการแพ้เฉพาะตัวก็ได้ ควรเลี่ยงแค่สิ่งต้องห้ามเอาค่ะ ใบประจำตัวน้องก็เอาติดตัวไว้ตลอดๆยิ่งดี อย่าซื้อยากินเองดีที่สุดนะคะ เพราะไอ้ยาเนี้ยตัวดีเลย
1. กลุ่มยาแก้ปวด ลดไข้ ได้แก่ Aspirin, Aminopyrine, Dipyrone(Metamizole), Phenacetin 2. กลุ่มยารักษาโรคมาลาเรีย ได้แก่ Chloroquine, Quinine, Primaquine, Hydroxychloroquine 3. กลุ่มยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ยากลุ่ม Quinolone, Nitroturan, Chloramphenical 4. กลุ่มยาเคมีบำบัด เช่น Doxorubicin 4. ยากลุ่มซัลฟา เช่น Dapsone, Co-trimoxazole 5. ยาโรคหัวใจ และหลอดเลือด ได้แก่ Procainamide, Quinidine และDopamine 6. อื่น ๆ ได้แก่ Vitamin C, Vitamin K (Menadione, Phytomenadione), Methylene blue, Toluidine blue, สารหนู และ Naphthalene
หากคุณแม่กังวลว่า ทารก เป็น g6pd ห้ามกินยา อะไรบ้าง อ่านเพิ่มได้ที่นี่นะคะ https://th.theasianparent.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B9%89%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%A1%E0%B9%8C-g6pd
น้องพึ่งได้20วันน้องเป็นg6pdกินนมแม่อยู่แม่สามารถกินขนมปังที่มีส่วนประกอบของถั่วเหลืองได้ไหมค่ะมันจะผ่านทางน้ำนมได้ไหมค่ะ
รายชื่อยาที่ห้ามกินในผู้ป่วยที่เป็น G6PD ค่ะ http://pca.fda.moph.go.th/public_media_detail.php?id=6&cat=56&content_id=1624
ยากลุ่มซัลฟา และ แอสไพริน ค่ะ แจ้งคุณหมอ/เภสัชก่อนทุกครั้งนะคะ
หลานเป็นค่ะ ห้ามซื้อยาทานเอง ไม่สบายต้องปรึกษาหมอเท่านั้น
ถั่วปากอ้า เลี่ยงพวกการบูร ลูกเหม็นค่ะ
Phawinee Wongkhamchan