4 ตอบกลับ

การป้องกันโรคหัดเยอรมัน 1.โรคหัดเยอรมันสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน MMR โดยฉีดครั้งแรกเมื่ออายุ 9 – 15 เดือน ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4 – 6 ปี 0:00/0:00 2.กรณีหญิงที่แต่งงานหรือมีความตั้งใจจะมีบุตร หากยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน ควรฉีดก่อนตัดสินใจตั้งครรภ์อย่างน้อย 28 วัน และในระหว่างที่ฉีดนี้ควรคุมกำเนิดไว้ก่อน 3.ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัดเยอรมันควรหยุดเรียนหรือลางาน พักผ่อนอยู่บ้านเป็นเวลา 7 วัน หลังจากที่ผื่นขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปสู่ผู้อื่น 4.ทารกที่คลอดออกมาและได้รับการวินิจว่าเป็นโรคหัดเยอรมันตั้งแต่กำเนิด ควรหลีกเลี่ยงการพาไปที่สาธารณะจนถึงอายุ 1 ปีเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น เนื่องจากเด็กทารกนี้จะมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัว 5.ผู้ที่เคยติดเชื้อหัดเยอรมันหรือผู้ที่ฉีดวัคซีนโรคหัดเยอรมันมาแล้วจะมีภูมิคุ้มไปตลอดชีวิต แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้อหัดเยอรมันได้อีกแต่จะไม่แสดงอาการออกมา มาดูกันต่อว่าการฉีดวัคซีนหัดเยอรมันควรทำเมื่อไร และหากไม่ได้ฉีดและตั้งครรภ์จะมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร >> ฉีดวัคซีนหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์กันไว้ดีกว่าแก้ หัดเยอรมันเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาการโดยทั่วไปจะคล้ายโรคหวัด คือ มีไข้ และมีผื่นขึ้นตามตัว หากคุณแม่ตั้งครรภ์เกิดเป็นโรคนี้ขึ้นมาในช่วงตั้งครรภ์ 3-4 เดือนแรก เชื้อไวรัสจะทำให้เด็กทารกเกิดความพิการในอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น หู ตา หัวใจ แขน ขา และสมอง ข้อแนะนำ เมื่อคู่แต่งงานคิดที่จะมีบุตร ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันแต่เนิ่น ๆ โดยฉีดแล้วควรเว้นระยะการมีบุตรออกไป 3 เดือน ทั้งนี้เพื่อให้วัคซีนหัดเยอรมันสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย เนื่องจากวัคซีนเชื้อไวรัสหัดเยอรมันที่นำมาฉีดนั้นเป็นชนิดวัคซีนเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ถูกทำให้อ่อนแรง เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาภายใน 60 วัน และเชื้อไวรัสจะถูกทำลายจนหมด ภูมิคุ้มกันชนิดนี้จะอยู่คงทนในร่างกายและเมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสหัดเยอรมันเข้ามา ระบบภูมุคุ้มกันจะทำลายไวรัสได้ จึงไม่ก่อให้เกิดโรคและคุ้มครองได้ตลอดชีวิตของคุณแม่

ทำความรู้จักโรคหัดเยอรมัน โรคหัดเยอรมันเป็นไวรัส RNA จัดอยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus ที่ติดจากการสัมผัสโดยตรงต่อสารคัดหลั่งจากโพรงจมูกและปากของผู้ติดเชื้อ มีระยะฟักตัวประมาณ 14-21 วัน หลังจากสัมผัสเชื้อโรคโดยระยะเวลาแพร่กระจายเร็ว คือ 7 วันก่อนที่จะมีผื่นขึ้น จนถึง 7 วันหลังจากที่ผื่นขึ้น อาการโรคหัดเยอรมัน จะพบว่ามีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ตาแดง คออักเสบ จากนั้นและมีผื่นแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามตัว และจะมีต่อมน้ำเหลืองโตมักจะเป็นบริเวณหลังหูและลำคอ นอกจากนี้ยังพบว่า 1 ใน 3 ของการติดเชื้อจะไม่แสดงอาการใด ๆ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อหัดเยอรมันเนื่องจากก่อนตั้งครรภ์คุณแม่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไว้ก่อน เชื้อจะติดต่อถึงทารกในครรภ์ได้และมีความเสี่ยงสูงที่ทารกจะพิการแต่กำเนิด การวินิจฉัยของแพทย์ ภาวการณ์ติดเชื้อหัดเยอรมันจากอาการต่าง ๆ อาจสังเกตได้ยากและมีความแม่นยำค่อนข้างต่ำ เนื่องจากการแสดงอาการต่าง ๆ สามารถพบได้ในโรคติดเชื้ออื่น ๆ ด้วย ซึ่งคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่นั้นและมีประวัติการสัมผัสโรคหัดเยอรมันในช่วงอายุครรภ์ก่อน 16 สัปดาห์ และได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อหัดเยอรมัน โดยการตรวจในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มักจะตรวจพบได้ในวันที่ 5 หลังจากที่ผื่นขึ้น ทั้งนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการดูแลต่อไป

หากตั้งครรภ์แล้วแต่ไม่ได้ฉีดวัคซีนหัดเยอรมัน หากตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรกคุณแม่ต้องระมัดระวังตัวเองให้มาก ควรหลีกเลี่ยงสถานที่สาธารณะหรือหลีกเลี่ยงผู้ที่มีเชื้อหวัดไอ จาม เพราะนั่นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของหัดเยอรมันได้ เพราะหากได้รับเชื้อในช่วง 3-4 เดือนมีอัตราเสี่ยงสูงที่ทารกจะคลอดออกมาพิการได้ กรณีในช่วงไตรมาสสุดท้ายเกิดเป็นโรคหัดเยอรมันขึ้นมา ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะโรคนี้จะไม่สามารถทำให้ทารกในครรภ์ผิดปกติได้ เพราะร่างกายของลูกเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว อย่างไรก็ตามควรพูดคุยปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเพื่อความสบายใจดีกว่าค่ะ จะเห็นว่าโรคหัดเยอรมันเป็นโรคที่น่ากลัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังเจริญเติบโตในช่วง 3 – 4 เดือนแรก อย่างไรก็ตามกันไว้ดีกว่าแก้ เมื่อคู่แต่งงานวางแผนที่จะมีบุตร คุณผู้หญิงควรไปปรึกษาแพทย์และฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันเสียก่อน แต่อย่าลืมนะคะต้องคุมกำเนิดก่อนเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อให้เชื้อจากวัคซีนสร้างภูมิต้านทานในร่างกาย หลังจากนั้นการตั้งครรภ์ก็จะหายห่วงปลอดโรคหัดเยอรมันแน่นอนค่ะ

Promo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-143230)

คำถามที่เกี่ยวข้อง

คำถามยอดฮิต

บทความเกี่ยวข้อง