ตอนนี้36w+4dวันแล้ววว จากน้ำหนัก43 ขึ้นมาเป็น 56 ขึ้นมา13กว่าโหล. อ้วนไปไหม

น้ำหนัก

7 ตอบกลับ
undefined profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

ทำอย่างไรถ้าน้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป คุณแม่ไม่ควรใช้วิธีอดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือลดน้ำหนัก เพราะลูกน้อยในครรภ์จะไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะ แต่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบคุณค่าภายใต้การดูแลแพทย์ ไม่กินจุบจิบ และควรออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์อย่างสม่ำเสมอ โดยยึดหลักการออกกำลังกายสำหรับคนท้อง คือ ไม่รุนแรง ไม่หักโหม และไม่ก่อให้เกิดอันตราย เช่น การว่ายน้ำ เดินเร็ว การเหยียดแขนขา ก้มตัว บิดตัว เป็นต้น นอกจากการออกกำลังกายจะช่วยคุมน้ำหนักตอนท้องแล้ว คุณแม่ยังได้ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ นอนหลับได้ดี และยังทำให้ระบบขับถ่ายของเสียทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย แต่หากคุณแม่มีน้ำหนักตัวน้อยเกินไประหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ควรเพิ่มการรับประทานอาหารให้มากขึ้น ขณะเดียวกันลองปรึกษาแพทย์ ให้แพทย์แนะนำอาหารสุขภาพดีที่จะช่วยคุณเพิ่มน้ำหนักตัวในระหว่างตั้งครรภ์ควบคู่กันไปก็ได้ค่ะ

อ่านเพิ่มเติม

คนท้องน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ น้ำหนักตัวของคุณแม่ท้องตลอดการตั้งครรภ์ควรเพิ่มขึ้นประมาณ 10 -12 กิโลกรัม ในช่วง 3 เดือนแรก น้ำหนักคุณแม่อาจยังไม่เพิ่มขึ้น หรือบางคนอาจลดลง เพราะอาการแพ้ท้อง ทานอะไรก็อาเจียนออกมาหมด ในช่วงนี้คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลว่าน้องจะไม่ได้รับสารอาหารนะคะ เพราะตัวอ่อนจะมีอาหารของเขาอยู่ในถุงไข่แดง ยังไม่ได้ทานอาหารผ่านทางคุณแม่ค่ะ ตลอด 3 เดือนแรกน้ำหนักคุณแม่มักเพิ่มไม่เกิน 2 กิโลกรัม ซึ่งมักจะยังดูไม่ออกว่าคุณแม่กำลังมีน้อง ในช่วง 4-6 เดือน น้ำหนักของคุณแม่จะค่อยๆ ขึ้นประมาณ 4-5 กิโลกรัม ซึ่งคนอื่นพอจะสังเกตออกแล้วว่าคุณแม่เริ่มอ้วนขึ้น แต่ยังสามารถใส่ชุดปกติได้ ในบางรายหากน้ำหนักขึ้นมากอาจอึดอัดและต้องเปลี่ยนไปใส่ชุดคลุมท้องแทน ในช่วง 3 เดือนสุดท้าย น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 5-6 กิโลกรัมตลอด 3 เดือน

อ่านเพิ่มเติม

คุมน้ำหนักตอนท้อง อย่างไรให้อยู่ในเกณฑ์พอดี BMI-index น้ำหนักระหว่างการตั้งครรภ์ของคุณแม่จะเพิ่มมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหารของคุณแม่เป็นสำคัญ คุณแม่ต้องการแคลอรีเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ของที่เคยได้รับ ซึ่งอาหารแต่ละหมู่นั้นมีประโยชน์และความจำเป็นสำหรับคุณแม่ท้องไม่เท่ากัน คุณแม่ควรทานโปรตีนเพิ่มขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่ว เพื่อนำไปใช้ในการสร้างอวัยวะและส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารก ทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลให้น้อยลง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว และขนมหวาน เพราะระหว่างตั้งครรภ์ร่างกายจะนำคาร์โบไฮเดรตไปใช้น้อยลง และยิ่งคุณแม่ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย ยิ่งมีโอกาสอ้วนได้ง่ายค่ะ นอกจากนี้คุณแม่ยังควรหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวที่ได้จากน้ำมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เพราะทำให้คุณแม่อ้วน แต่ลูกน้อยอาจไม่ได้อ้วนตามคุณแม่ไปด้วย

อ่านเพิ่มเติม

รู้ทันร่างกายที่เปลี่ยนแปลงจากการตั้งครรภ์ ร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปของคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจทำให้หุ่นสวยของคุณแม่เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล จากที่เคยเอวบางร่างน้อย กลับมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 10-12 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย แบ่งเป็น น้ำหนักตัวของทารกในครรภ์ 3,000 กรัม น้ำหนักของรก 500 – 700 กรัม น้ำหนักน้ำคร่ำ 1,000 กรัม กล้ามเนื้อมดลูก 1,000 กรัม เต้านม 300-500 กรัม ปริมาณเลือดที่เพิ่ม 1,000 กรัม ปริมาณน้ำในร่างกายของคุณแม่ 1,500 กรัม ไขมันที่สะสมในตัวแม่ 3,000 กรัม

อ่านเพิ่มเติม
VIP Member

ลองอ่านในนี้ดูนะคะ เป็นเรื่่อน้ำหนักคุณแม่ตั้งครรภ์กับวิธีคุมน้ำหนักค่ะ https://th.theasianparent.com/คุมน้ำหนักตอนท้องอย่างไร-ให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์พอดี/

ขอบคุณค่า

น้ำหนักของคนท้องที่เหมาะสม สัปดาห์นึงควรขึ้นไม่เกิน 0.5 กก. (ยกเว้นครรภ์แฝด ขึ้นได้สัปดาห์ละไม่เกิน 1 กก.) และตลอดการตั้งครรภ์ควรขึ้นไม่เกิน 12 กก. ค่ะ *ยกเว้นแม่ที่ก่อนท้องหนัก 80 กก. ขึ้นไป ตลอดการตั้งครรภ์นน.ควรขึ้นไม่เกิน 8 กก. **และแม่ที่ก่อนท้องผอมมากๆ ตลอดการตั้งครรภ์สามารถขึ้นได้ถึง 15-20 กก. ค่ะ (ข้อมูลจากคุณหมอที่ศิริราชจ้า)

อ่านเพิ่มเติม
คำถามที่เกี่ยวข้อง