สอบถามทำงานPart Time
**ใครทราบกฏหมายแรงงาน หรือทำPart Time ด้านขายมีหน้าร้าน แนะนำหน่อยคะ** เราเขาทำงานบริษัทนึง เป็นพนักงานขาย พึ่งรู้ว่าตั้งท้อง ตอนทำงานผ่านไปเดือนนึง ตอนนี้อายุครรภ์ 5 เดือน มีพนักงานในบริษัท โทรมาแจ้งว่า กฏหมาย ไม่ให้คนท้องที่ทำตำแหน่งงานขาย อยู่หน้าร้าน หาก อายุครรภ์ 3-5 เดือน ให้ออก แต่ในขณะเดียวกัน มีเด็กฝาก จากพนักงานบริษัท เป็นความจริงมั้ยคะเรื่องกฏหมายที่เขาอ้างมา
เคยเจอแต่ ห้ามพนง.หญิงท้องทำงานอันตราย และห้ามทำงานช่วงเวลา 4 ทุ่มถึง 6 โมงเช้านะคะ แต่ห้ามทำงานหน้าร้านนี่ไม่เคยเจอ ถ้าเขาให้ออกก็ฟ้องกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานนะคะ (ดูมาตรา 42 ข้างล่าง) มาตรา 39 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 น.ถึงเวลา 06.00 น. ทำงานล่วงเวลา ทำงานวันหยุด หรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ • งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน • งานขับเคลื่อนที่ติดไปกับยานพาหนะ • งานยกแบกหาม ทูน ลากหรือเข็นของหนักเกินสิบห้ากิโลกรัม • งานที่ทำในเรือ • งานที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรานี้มีความชัดเจนอยู่แล้วว่ามีเจตนาจะคุ้มครองสุขภาพของหญิงมีครรภ์ไม่ไห้ได้รับผลกระทบจากสภาพการทำงาน เช่นห้ามทำงานกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน ห้ามทำงานในเวลาอันผิดปกติเช่นช่วงเวลากลางคืน หรือห้ามทำงานยาวนานชั่วโมง จึงกำหนดห้ามไม่ให้ทำงานล่วงเวลา ห้ามให้ทำงานในวันหยุด ก็เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์นั้นมีเวลาพักผ่อนนั่นเอง รวมทั้งกำหนดประเภทและสถานที่ที่ห้ามทำงานไว้อีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และเด็กนั่นเอง มาตรา 42 ในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์ เลิกจ้างคนงานหญิงเพราะเหตุมีครรภ์ตามบทบัญญัตินี้ เพราะถ้าหากมีการเลิกจ้างคนงานหญิงระหว่างที่ตั้งครรภแล้ว ย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อแม่และเด็ก ในด้านของการขาดรายได้ดำรงชีพและในด้านจิตใจ คนงานหญิงที่ตั้งครรภ์จึงได้รับสิทธิการคุ้มครองพิเศษที่ห้ามนายจ้างเลิกจ้างคนงานหญิงเพราะเหตุมาจากการตั้งครรภ์ แต่กฎหมายแรงงาน ไม่ไม่ได้ห้ามนายจ้างเลิกจ้างคนงานหญิงที่ตั้งครรภ์ในเหตุผลอื่น หรือในกรณีที่คนงานหญิงที่ตั้งครรภ์ได้กระทำความผิดเช่น กระทำความผิดทุจริตต่อหน้าที่ ขาดงานติดต่อกันสามวันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย กระทำความผิดซ้ำใบเตือน ฯลฯ (ดูมาตรา 119 กรณีการจ่ายเงินค่าชดเชย ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 ) ด้วยเหตุนี้หากคนงานหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่ได้กระทำความผิดอื่นใดตามมาตรา 119 พรบ.คุ้มครองแรงงาน นี้แล้ว หากนายจ้างเลิกจ้างคนงานหญิงที่ตั้งครรภ์ ย่อมมีความผิดต้องถูกลงโทษทางอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ คนงานหญิงที่ตั้งครรภ์และถูกเลิกจ้าง สามารถร้องเรียน โดยกรอกเอกสารคร. 7 ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานได้ดำเนินการให้นายจ้างปฏิบัติตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน
อ่านเพิ่มเติมอันนี้น่าจะเป็นเพราะว่า ท้องก่อนที่จะเข้ามาทำงานค่ะ เพราะปกตินายจ้างจะไม่รับคนท้องเข้าทำงานอยุ่แล้วเกือบทุกแห่ง บางที่มีการตรวจสุขภาพตรวจฉี่หาการตั้งครรภ์ด้วยค่ะ เคสของแม่น่าจะเป็นเพราะว่าตั้งครรภ์อยู่ก่อนแล้วเข้ามาทำงาน เค้าถึงหากฎหมายมาบีบให้ลาออกได้ เพราะทำงานได้แค่เดือนเดียว แต่อายุครรภ์ 5 เดือนแล้ว
อ่านเพิ่มเติมไม่เคยได้ยินนะคะ แล้วตอนท้องเราก็ทำงานเป็นพนักงานขายด้วย แนะนำให้โทรสอบถามกรมแรงงานโดยตรงเลยดีกว่าไหมคะ คิดว่าน่าจะโดนบีบออกทางอ้อมเพราะเขากลัวเราลาคลอดแล้วต้องจ่ายเงินเดือนฟรีๆหรือเปล่าคะ
ต้องดูที่กฏบริษัทกับสัญญาที่เราเซ็นตอนสมัครงานค่ะส่วนมากจะไม่รับคนท้องเพราะทำงานให้เค้าได้ไม่เต็มที่ค่ะถ้าเราเซ็นมีระบุในสัญญาเราก็ต้องยินยอมออกค่ะ แต่ตามกฏหมายแรงงานไม่ได้ระบุค่ะ
ถ้าตามกฎหมายแรงงานไม่มีนะคะแม่ ถ้าเป็นกฎบริษัทอาจจะไม่แน่ แต่ กม. ไม่แบ่งเพศหรือท้องไม่ท้องค่ะ เหตุผลที่ทางบริษัทกล่าวอ้างไม่มีในกฎหมายแน่นอนค่ะ
เราก็เป็นพนักงานขายนะก็ทำได้นะเราทำจนจะคลอดเลยตอนนี้8เดือนลาคลอดแล้วก็ไม่เห็นเขาจะว่าอะไรนะคะ
กฏหมายแรงงานไม่มีนะคะ แต่ถ้าเปนกฎบริษัทก็แล้วแต่ที่ค่ะ
เพราะยังไม่ผ่านโปร หรือป่าวคะ เค้าให้ออกได้
น่าจะแร้วแต่บริษัทรึป่าวคะแม่