8 ตอบกลับ
ท่านอนคนท้องในแต่ละช่วง ในช่วงตั้งครรภ์แต่ละไตรมาส คุณแม่อาจมีคำถามว่า ช่วงไหนควรนอนท่าไหนจึงจะดี และท่าไหนไม่เหมาะกับแม่ท้อง ฟังคำตอบที่นี่ค่ะ ในช่วงท้องอ่อนๆ ขนาดมดลูกของคุณแม่ยังไม่ขยายมากนัก หากคุณแม่ยังนอนหงายแล้วรู้สึกสบาย ไม่อึดอัด เจ็บท้อง เสียดท้อง ก็สามารถนอนหงายได้แต่ควรระวังเวลาจะลุกขึ้นนั่ง จะลุกพรวดพราดเหมือนตอนยังไม่ท้องไม่ได้นะคะ คุณหมอแนะนำให้ พลิกตัวนอนตะแคงก่อน แล้วค่อยใช้มือยันเพื่อลุกขึ้น ในช่วงท้องโต ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป การนอนหงายอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับแม่ท้องอีกต่อไป คุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้สึกสบายเมื่อนอนตะแคง เพื่อน้ำหนักของท้องส่วนหนึ่งจะตกลงที่พื้น ทำให้ไม่มีแรงกดบนเส้นเลือดใหญ่ในช่องท้อง คุณแม่ควรใช้หมอนสอดรองไว้ระหว่างขาสองข้างตรงใต้เท้า หรือนอนกอดหมอนข้าง จะช่วยให้นอนสบายและนอนได้นาน ส่วนเวลาคุณแม่จะพลิกตัวหรือลุกขึ้นนั่งคุณแม่ควรใช้มือประคองท้องเอาไว้ให้หมุนตามไปด้วย เท่านี้ก็ไม่เจ็บแล้ว นอนหงายไม่ดีอย่างไร ท่านอนหงายทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกไม่เพียงพอ เนื่องจากน้ำหนักของมดลูกที่ขยายเพิ่มขึ้น ไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ที่จะนำเลือดกลับสู่หัวใจ เลือดจึงไหลเวียนไม่สะดวก หัวใจเต้นเร็ว เกิดอาการใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด อึดอัด หายใจลำบาก ท่านอนหงายจึงเป็นท่านอนที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง
สาเหตุที่คนท้องมักนอนไม่หลับ เพราะร่างกายของแม่ท้องเปลี่ยนแปลง ท้องขยายใหญ่ขึ้นทำให้นอนในท่าเดิมไม่ถนัดอีกต่อไป แม่ท้องจึงนอนไม่ค่อยหลับ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น เพราะร่างกายต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงมดลูกมากขึ้น ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น ทำให้แม่ท้องต้องหายใจถี่และเร็วกว่าเดิม ซึ่งแม่ท้องจะรู้สึกถึงการหายใจเร็วและหัวใจเต้นเร็วได้ชัดในเวลานอน จึงทำให้นอนไม่หลับ ในช่วงตั้งครรภ์ แม่ท้องจะจดจำความฝันได้ดีกว่าปกติ หากคุณแม่ตื่นขึ้นมาเพราะฝันร้าย จะทำให้นอนต่อได้ยาก โรค Restless Leg Syndrome (RLS) ทำให้คุณแม่ท้องรู้สึกไม่สบายกล้ามเนื้อขา น่อง หรือเท้า บางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก ในช่วงไตรมาสที่สามเมื่อได้ขยับเท้าอาการจะทุเลาลงหรือหายไป แต่หากเท้าอยู่นิ่งอาการปวดก็จะกลับมาอีก ซึ่งหากมีอาการในช่วงกลางคืน อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แม่ท้องนอนไม่หลับ อาการไม่สบายตัวอื่นๆ ในช่วงตั้งครรภ์ที่มักรบกวนการนอนหลับพักผ่อนของแม่ท้อง เช่นปวดหลัง ปวดปัสสาวะบ่อย ตะคริว ริดสีดวง กรดไหลย้อน คลื่นเหียนวิงเวียน เป็นต้น เพราะอารมณ์และจิตใจของแม่ท้องเปลี่ยนแปลง ความกังวลต่าง ๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอดบุตร การทำงาน การเลี้ยงลูก ไปจนถึงความสัมพันธ์กับสามีที่อาจเปลี่ยนไป ก็ทำให้แม่ตั้งครรภ์นอนไม่หลับได้เช่นกัน
นอนท่าไหนทับลูก คุณแม่ท้องมักคิดว่าการนอนคว่ำจะทับลูก? ทำให้ลูกเป็นอันตราย แต่ความจริงนั้น ทารกนอนอยู่ในถุงน้ำคร่ำ คุณแม่จะสังเกตว่า ถ้านอนทับด้านหนึ่ง ท้องก็จะไปปูดออกอีกด้านหนึ่ง เนื้อที่ที่ลูกอาศัยอยู่นั้นจะคงที่ตลอดการนอนคว่ำจึงไม่ได้เป็นการนอนทับลูกแต่อย่างใด แม่ท้องอีกหลายคนมักคิดว่านอนตะแคงขวาจะกดทับเส้นเลือดใหญ่? ความจริงแล้วคุณหมอไม่ได้ห้ามคุณแม่นอนตะแคงขวา เพราะอันที่จริงเส้นเลือดส่วนใหญ่นั้นค่อนไปทางขวาเพียงนิดเดียว ดังนั้นการนอนจะแคงซ้ายจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่สามารถนอนตะแคงขวาได้ หากเป็นท่าที่คุณแม่นอนแล้วรู้สึกสบายคุณแม่อย่าได้กังวลไปเลยค่ะ นอกจากนี้หากนอนตะแคงซ้ายนานๆ ก็ทำให้เมื่อยได้เช่นกัน คุณแม่ควรพลิกมานอนตะแคงขวาบ้าง สลับๆ กันไปค่ะ ท่านอนแก้ปวดหลัง เท้าบวม สำหรับคุณแม่ท้องที่มีขนาดครรภ์ใหญ่ขึ้น ทำให้เวลานอนไม่ค่อยรู้สึกสบายสักเท่าไหร่ ซึ่งตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้การนอนนั้นสบายตัวมากขึ้น ลดอาการปวดหลัง คือการใช้หมอนสอดไว้ที่ใต้ท้องหรือหว่างขา หรือใช้ขาพาดหมอนข้างไว้ หรืออาจจะใช้หนุนหลังด้วย จะทำให้คุณแม่รู้สึกสบายขึ้นค่ะ
ทำไมต้องนอนตะแคงซ้าย การนอนตะแคงซ้ายช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตทำงานได้ดีมดลูกกดทับหลอดเลือดในช่องท้องน้อยกว่าการนอนในท่าอื่นๆ เมื่อการไหลเวียนเลือดดี ก็สามารถส่งอาหารได้ยังทารกได้ดีตามไปด้วย นอกจากนี้ การที่ระบบไหลเวียนเลือดดียังช่วยให้ไตขับน้ำปัสสาวะได้ดี ช่วยลดอาการบวมในแม่ท้องได้อีกด้วย ท่านอนตะแคงที่แนะนำคือ คือ ท่านอนตะแคงงอเข่าทั้งสองข้าง โดยคุณแม่อาจใช้หมอนรองระหว่างขาทั้งสองข้างก็จะช่วยให้รู้สึกสบายมากขึ้น
นอนตะแคงค่ะ เวลานอนหงายจะชอบท้องแข็ง😄
เจ็บเหมือนกัน5เดือนค่ะ ท้อง3
ขอบคุณมากเลยค่ะ
สู้ๆ นะคะ.....