2 ตอบกลับ

1. ใช้สัดส่วนของยอดมดลูก กับหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์ วิธีวัดความสูงยอดมดลูกโดยการใช้สัดส่วนของยอดมดลูกกับหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์ ทำได้โดยแบ่งระยะระหว่างสะดือกับกระดูกหัวหน่าวเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กัน และแบ่งระยะระหว่างสะดือกับกระดูกลิ้นปี่เป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน ซึ่งความสูงของยอดมดลูกแต่ละช่วงอายุครรภ์ จะมีความสัมพันธ์กันดังนี้ อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงประมาณ 1/3 เหนือกระดูกหัวหน่าว อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงประมาณ 2/3 เหนือกระดูกหัวหน่าว อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ระดับสะดือ อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงกว่าระดับสะดือเล็กน้อย อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ 1/4 เหนือระดับสะดือ อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ 2/4 เหนือระดับสะดือ อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ยอดมดลูกอยู่ 3/4 เหนือระดับสะดือ 2. วิธีวัดความสูงยอดมดลูกโดยใช้สายวัด การวัดระดับยอดมดลูกโดยใช้สายวัดทำได้โดยการวัดระยะจากรอยต่อของกระดูกหัวหน่าวไปจนถึงยอดมดลูก โดยแนบตามส่วนโค้งของมดลูก ซึ่งในช่วงอายุครรภ์ 18–30 สัปดาห์ ระยะที่วัดได้เป็นเซนติเมตร จะเท่ากับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ ยกตัวอย่างเช่น หากวัดได้ 26 เซนติเมตร ก็จะเท่ากับอายุครรภ์ 26 สัปดาห์ นั่นเอง นอกจากการวัดขนาดของมดลูกสามารถคะเนอายุครรภ์ได้แล้ว ยังสามารถบอกได้อีกด้วยว่าสุขภาพของทารกในครรภ์นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งถ้าหากว่าระดับยอดมดลูกไม่สัมพันธ์ตามที่กล่าวมา ก็อาจบ่งบอกได้ว่าอาจมีภาวะทารกโตช้าในครรภ์ หรือลูกตัวใหญ่เกินเกณฑ์ได้ครับ อัลตร้าซาวด์ เป็นวิธีที่ประเมินขนาดและน้ำหนักของทารกในครรภ์ ที่ค่อนข้างแม่นยำกว่าวิธีอื่น คุณพ่อคุณแม่จะสามารถมองเห็นความสมบูรณ์ หรือเช็กความผิดปกติของลูกในครรภ์ รวมถึงทราบเพศลูกจากการอัลตร้าซาวด์นี้ได้ด้วย

ตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ อายุครรภ์ ความยาว น้ำหนัก สัปดาห์ที่ 1 – – สัปดาห์ที่ 2 – – สัปดาห์ที่ 3 – – สัปดาห์ที่ 4 – – สัปดาห์ที่ 5 – – สัปดาห์ที่ 6 – – สัปดาห์ที่ 7 – – สัปดาห์ที่ 8 – – สัปดาห์ที่ 9 2.0 ซ.ม. 5 กรัม สัปดาห์ที่ 10 2.5 ซ.ม. 7 กรัม สัปดาห์ที่ 11 3.8 ซ.ม. 10 กรัม สัปดาห์ที่ 12 5.0 ซ.ม. 15 กรัม สัปดาห์ที่ 13 7.6 ซ.ม. 28 กรัม สัปดาห์ที่ 14 8.8 ซ.ม. 42 กรัม สัปดาห์ที่ 15 10.1 ซ.ม. 70 กรัม สัปดาห์ที่ 16 11.4 ซ.ม. 100 กรัม สัปดาห์ที่ 17 12.7 ซ.ม. 140 กรัม สัปดาห์ที่ 18 14.0 ซ.ม. 190 กรัม สัปดาห์ที่ 19 15.2 ซ.ม. 240 กรัม สัปดาห์ที่ 20 16.5 ซ.ม. 297 กรัม สัปดาห์ที่ 21 26.6 ซ.ม. 340 กรัม สัปดาห์ที่ 22 27.7 ซ.ม. 355 กรัม สัปดาห์ที่ 23 27.9 ซ.ม. 370 กรัม สัปดาห์ที่ 24 28.0 ซ.ม. 450 กรัม สัปดาห์ที่ 25 34.2 ซ.ม. 680 กรัม สัปดาห์ที่ 26 35.5 ซ.ม. 755 กรัม สัปดาห์ที่ 27 36.5 ซ.ม. 900 กรัม สัปดาห์ที่ 28 37.3 ซ.ม. 1,020 กรัม สัปดาห์ที่ 29 38.1 ซ.ม. 1,133 กรัม สัปดาห์ที่ 30 39.8 ซ.ม. 1,360 กรัม สัปดาห์ที่ 31 41.0 ซ.ม. 1,511 กรัม สัปดาห์ที่ 32 42.4 ซ.ม. 1,700 กรัม สัปดาห์ที่ 33 43.1 ซ.ม. 1,814 กรัม สัปดาห์ที่ 34 45.0 ซ.ม. 2,154 กรัม สัปดาห์ที่ 35 45.7 ซ.ม. 2,381 กรัม สัปดาห์ที่ 36 47.0 ซ.ม. 2,721 กรัม สัปดาห์ที่ 37 48.2 ซ.ม. 2,872 กรัม สัปดาห์ที่ 38 49.5 ซ.ม. 3,084 กรัม สัปดาห์ที่ 39 50.8 ซ.ม. 3,175 กรัม สัปดาห์ที่ 40 51.2 ซ.ม. 3,400 กรัม

คำถามที่เกี่ยวข้อง

คำถามยอดฮิต

บทความเกี่ยวข้อง