ท้องแรก

แม่ๆบ้านไหนท้องแรกแรกคลอดเองธรรมชาติตอนกี่วีคบ้างคะ

12 ตอบกลับ
undefined profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

หลังการคลอดธรรมชาติ เมื่อคลอดรกออกมาแล้ว แพทย์จะตรวจดูความสมบูรณ์ของรก รวมถึงส่วนอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องนำออกมาจากมดลูกเพื่อป้องกันไม่ให้มีเลือดออกหรือเกิดการติดเชื้อ และแม้ว่ารกจะถูกคลอดออกมาเรียบร้อยแล้ว มดลูกก็จะยังคงหดรัดตัวต่อไปเพื่อช่วยให้กลับคืนไปสู่สภาพปกติ ระหว่างนี้แพทย์หรือพยาบาลอาจช่วยนวดช่องท้องเพื่อให้แน่ใจว่ามดลูกยังกระชับอยู่ รวมถึงพิจารณาว่าจำเป็นต้องเย็บหรือซ่อมแซมรอยฉีกที่เกิดขึ้นบริเวณช่องคลอดหรือไม่ โดยการเย็บแผลบริเวณดังกล่าวจะมีการให้ยาชาเฉพาะแห่งเสียก่อน หลังการคลอด คุณแม่อาจให้นมบุตรได้ทันที แต่ควรให้ในขณะที่บุตรเองก็ต้องการน้ำนม เพราะไม่ใช่ทารกทุกคนที่ต้องการนมแม่ทันทีหลังจากคลอดออกมา ระหว่างนี้อาจอุ้มให้ริมฝีปากของทารกอยู่ใกล้หน้าอกของตนเองสักพัก เพราะทารกส่วนใหญ่จะค่อย ๆ เริ่มดูดนมแม่ตั้งแต่ช่วงชั่วโมงแรกหลังจากคลอดออกมาหากคุณแม่คอยอุ้มให้ทารกอยู่ใกล้ ๆ หน้าอกไว้ การให้นมลูกแต่แรกคลอดนั้นเป็นผลดีต่อลูกและยังทำให้คุณแม่เกิดความรู้สึกพึงพอใจที่ได้ให้นมลูก นอกจากนี้การให้นมยังเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยสารออกซีโทซิน (Oxytocin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูก ช่วยให้มดลูกกระชับตัวและหดรัดตัวกลับเข้าที่

อ่านเพิ่มเติม

อกจากนี้ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทั้งหลายยังควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดลูก ทั้งการคลอดแบบธรรมชาติและการผ่าคลอด รวมถึงวิธีบรรเทาอาการเจ็บขณะคลอดธรรมชาติ โดยนำมาฝึกปฏิบัติระหว่างเตรียมคลอดเพื่อให้ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วขณะคลอด การเตรียมตัวและศึกษาไว้ก่อนอาจช่วยคลายความเครียดและวิตกกังวลไปได้บ้าง ซึ่งจะเป็นผลดีกับการคลอด เพราะความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นก่อนคลอดนั้นสามารถส่งผลให้การคลอดล่าช้าลง เนื่องจากระดับฮอร์โมนความเครียดที่เพิ่มขึ้นสูงอาจจะกระทบต่อการหดรัดตัวของมดลูกได้ อย่างไรก็ตาม แม้คุณแม่จะเตรียมพร้อมและมีความมั่นใจในการคลอดธรรมชาติเพียงใด แต่เมื่อการคลอดมาถึงก็อาจมีเหตุจำเป็นให้ไม่สามารถคลอดเอง กลับต้องใช้การผ่าคลอดเพื่อความปลอดภัยของแม่และเด็ก เช่นในกรณีที่ทารกไม่อยู่ในท่าเอาหัวลง ทารกตัวใหญ่เกินกว่าจะคลอดทางช่องคลอดได้ หรือเกิดภาวะเครียดของทารกในครรภ์ เป็นต้น เพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์การคลอดที่ดีต่อคุณแม่และทารก จึงควรวางแผนเกี่ยวกับทางเลือกอื่นในการคลอดไว้ให้พร้อมสำหรับกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินและจำเป็นต้องใช้การผ่าคลอดเข้าช่วย

อ่านเพิ่มเติม

นตอนการคลอดธรรมชาติ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์พร้อมคลอดทั้งหลายจะต้องเผชิญกับระยะการคลอด 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ปากมดลูกขยายออกและบางตัวลง แบ่งออกเป็นระยะย่อย คือ ระยะปากมดลูกเปิดตัวช้า คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการหดรัดตัวเบา ๆ ของปากมดลูกที่จะเกิดขึ้นครั้งละประมาณ 30-45 วินาที ทุก ๆ 5-30 นาที การหดรัดตัวนี้ส่งผลให้ปากมดลูกเปิดออกและบางตัวลงเพื่อจะให้ทารกเคลื่อนมายังช่องทางการคลอด บางรายปากมดลูกอาจค่อย ๆ ขยายออกประมาณ 3-4 เซนติเมตร มีอาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดท้องคล้ายเป็นประจำเดือน หรือปวดตึง ๆ บริเวณเชิงกราน และอาจสังเกตว่ามีน้ำสีออกชมพูหรือสีปนเลือดถูกขับออกมาด้วย ในการตั้งครรภ์ครั้งแรก ระยะนี้อาจใช้เวลาประมาณ 8-12 ชั่วโมง แต่หากไม่ใช่การตั้งครรภ์ครั้งแรกก็มักจะผ่านไปยังระยะต่อไปได้รวดเร็วกว่า โดยในช่วงนี้ คุณแม่จะยังสามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อคลายกังวลและเบี่ยงเบนความสนใจอยู่ที่บ้านได้ เช่น ฟังเพลง ดูทีวี ลุกขึ้นเดินเบา ๆ อาบน้ำ ฝึกหายใจเพื่อผ่อนคลาย หรือเปลี่ยนท่าทาง ก็จะช่วยให้รู้สึกสบายตัวยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติม

ระยะปากมดลูกเปิดตัวเร็ว เป็นระยะที่ปากมดลูกจะค่อย ๆ เริ่มหดรัดตัวถี่และรุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บที่บริเวณหลังส่วนล่าง ท้อง ต้นขา เกิดตะคริวที่ขา รวมถึงอาการคลื่นไส้ บางรายอาจมีน้ำคร่ำแตกออกมา แต่บางรายที่น้ำคร่ำไม่แตกออกมาก็จะทำให้รู้สึกถึงแรงกดที่หลังยิ่งขึ้น คุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาลเมื่อสังเกตเห็นสัญญาณใกล้คลอดเหล่านี้ ระยะนี้อาจคงอยู่ประมาณ 3-5 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น โดยปากมดลูกจะขยายตัวออกประมาณ 1 เซนติเมตรทุก ๆ 1 ชั่วโมง จากระยะแรก 4 เซนติเมตรเพิ่มเป็นประมาณ 7 เซนติเมตร และบีบรัดตัวครั้งละ 45-60 วินาที ในทุก 3-5 นาที ระหว่างนี้คุณแม่อาจลองใช้วิธีการฝึกหายใจหรือท่าออกกำลังกายแบบผ่อนคลายเพื่อต่อสู้กับความเจ็บที่เพิ่มมากขึ้น และหากขยับตัวได้โดยไม่มีเครื่องตรวจอัลตราซาวด์ครรภ์ติดที่ท้องก็อาจลองเปลี่ยนท่าทางหรือใช้การนวดผ่อนคลาย

อ่านเพิ่มเติม

ระยะที่ 3 ระยะคลอดรก หลังจากที่คลอดทารกสำเร็จ การทำคลอดรกจะตามมาอย่างรวดเร็ว โดยอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีหรือนานไปถึงครึ่งชั่วโมง ทั้งนี้ยังมีกระบวนการทางการแพทย์หลังจากนั้นที่อาจใช้เวลาเป็นชั่วโมง ซึ่งในระหว่างนี้คุณแม่ส่วนใหญ่กำลังต้องการสัมผัสและชื่นชมลูกน้อยที่เพิ่งออกมาจนอาจไม่ทันสนใจขั้นตอนการคลอดรกที่จะเกิดขึ้นต่อไป เมื่อทารกน้อยออกมาแล้ว มดลูกของคุณแม่จะยังมีการหดรัดตัวเบา ๆ อย่างต่อเนื่อง จากนั้นมดลูกก็จะกลับมาติดชิดกันและรู้สึกเจ็บน้อยลง แพทย์จะขอให้ออกแรงเบ่งอีกครั้งเพื่อคลอดรกออกมา ซึ่งก่อนและหลังการคลอดรกนี้ แพทย์อาจให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกและลดการมีเลือดออก หรือให้คุณแม่ลองให้นมลูกเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของช่องคลอด และนวดเบา ๆ ที่ท้องเพื่อกระตุ้นให้รกลอกตัวออกมา

อ่านเพิ่มเติม

หากแต่ในกรณีที่คุณแม่ไม่ได้ให้นมลูกหรือปากมดลูกไม่หดตัวกลับ แพทย์จะให้ออกซีโทซินเพื่อช่วยให้มดลูกหดตัว และคุณแม่ที่มีเลือดออกมากเกินก็จะให้การรักษาไปพร้อม ๆ กันนี้ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้การหดรัดตัวของปากมดลูกจะค่อนข้างเบา คุณแม่ที่เพิ่งคลอดครั้งแรกอาจรู้สึกถึงการหดตัวเพียงเล็กน้อยหลังจากคลอดรกออกมา แต่หากเคยมีประสบการณ์คลอดลูกมาก่อนก็อาจรู้สึกว่าปากมดลูกหดรัดตัวเป็นครั้งคราวเป็นเวลา 1-2 วันหลังจากการคลอด นอกจากนี้ในช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ คุณแม่อาจเผชิญอาการเจ็บหลังคลอด อาจทำให้รู้สึกปวดคล้ายอาการปวดประจำเดือน รู้สึกอ่อนเพลีย รวมถึงอาการหนาวหรือสั่น ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติและจะคงอยู่เพียงชั่วคราว

อ่านเพิ่มเติม

เตรียมตัวคลอดธรรมชาติอย่างไร ? คุณแม่ที่ตัดสินใจคลอดธรรมชาติควรเตรียมพร้อมด้วยการเลือกโรงพยาบาลที่มีผู้เชี่ยวชาญในการทำคลอดแบบธรรมชาติให้แก่คนไข้ จากนั้นปรึกษาและเตรียมวางแผนการคลอดกับแพทย์ โดยพูดคุยถึงความต้องการเกี่ยวกับการคลอดของตนเองอย่างชัดเจน รวมทั้งปรึกษาว่าจำเป็นต้องใช้ยาหรืออุปกรณ์ใดช่วยในการทำคลอดบ้าง ทั้งนี้ส่วนใหญ่วิธีที่แพทย์จะนำมาใช้ช่วยเหลือในการคลอดธรรมชาติก็คือการฉีดยาเข้าเส้นเลือดและการใช้เครื่องตรวจอัลตราซาวด์ดูทารกในครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลให้คุณแม่เคลื่อนไหวร่างกายลำบากและทำให้การคลอดเป็นเรื่องยากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจาก หากไม่ใช้ยาเข้าช่วยเลย คุณแม่อาจรับมือกับความเจ็บปวดไม่ไหว

อ่านเพิ่มเติม

ระยะเปลี่ยนผ่าน เป็นช่วงสุดท้ายของการคลอดระยะที่ 1 ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่ 20 นาที ไปจนถึง 2 ชั่วโมงหากเป็นการคลอดครั้งแรก แต่ในกรณีที่เคยคลอดลูกมาก่อนแล้วมักเปลี่ยนเข้าสู่ระยะที่ 2 ค่อนข้างเร็ว ในระยะนี้ปากมดลูกจะขยายออก 8-10 เซนติเมตร และมีการหดรัดตัวถี่ขึ้นอีกเป็นครั้งละ 60-90 วินาที ในทุก 0.5-2 นาที จนคุณแม่รู้สึกถึงแรงกดบริเวณหลังส่วนล่างและบริเวณช่องทวารหนัก อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้คุณแม่ที่มีความรู้สึกอยากเบ่งคลอดเกิดขึ้นให้รีบบอกแพทย์ทันที เพราะหากปากมดลูกยังไม่ขยายเต็มที่ แพทย์จะให้คุณแม่กลั้นไว้ก่อน เนื่องจากการเบ่งที่รวดเร็วเกินไปจะทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าและช่องคลอดบวม ส่งผลให้การคลอดล่าช้าออกไปได้

อ่านเพิ่มเติม

คลอดธรรมชาติดีอย่างไร? มีโอกาสเกิดอันตรายหรือผลข้างเคียงจากการทำคลอดต่อแม่และเด็กได้น้อย รู้สึกตัวและตื่นตัวตลอดเวลาขณะคลอด คุณแม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และสามารถขยับเปลี่ยนท่าทางที่ช่วยให้รู้สึกสบาย และยังมีส่วนร่วมในการกระบวนการคลอดเมื่อถึงเวลาต้องเบ่งลูกออกมา พ่อของเด็กอาจสามารถอยู่ใกล้ ๆ เพื่อเป็นกำลังใจและช่วยภรรยารับมือกับความเจ็บปวดจากการคลอดได้ คุณแม่รู้สึกมีพลังและเกิดความภูมิใจเมื่อคลอดสำเร็จ โดยหญิงหลายคนที่เคยคลอดธรรมชาติมาก่อนก็มักจะเลือกคลอดด้วยวิธีนี้อีกในการตั้งครรภ์ครั้งต่อมา

อ่านเพิ่มเติม

ระยะที่ 2 ระยะเบ่งคลอด เป็นช่วงเวลาแห่งการคลอดของคุณแม่ที่อาจใช้เวลาตั้งแต่ 2-3 นาที ไปจนถึง 2-3 ชั่วโมงในการเบ่งคลอดให้ทารกลืมตาออกมาดูโลก และอาจนานยิ่งขึ้นหากเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกหรือครรภ์ที่คุณแม่ใช้ยาระงับอาการปวดระหว่างคลอด โดยแพทย์จะบอกให้ออกแรงเบ่งเมื่อเกิดการหดรัดตัวของมดลูก หรือคอยให้จังหวะในการเบ่งคลอด นอกจากนี้ บางขณะ แพทย์อาจแนะนำให้คุณแม่เบ่งเบา ๆ หรือไม่ต้องเบ่งเลยก็ได้ เพื่อให้เวลาเนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอดได้ยืดตัวออกและป้องกันการฉีกขาด

อ่านเพิ่มเติม