ลาคลอด

สอบถามแม่ ๆ ที่ทำงานประจำค่ะ คุณแม่ลาคลอดกันตอนตั้งครรภ์กี่สัปดาห์คะ อยากหาข้อมูลไว้ค่ะ ตอนนี้ 24 w แล้ว ☺

29 ตอบกลับ
undefined profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

ค่าสงเคราะห์บุตร คุณแม่ที่ได้รับสิทธิ์นี้จะต้องจ่ายเงินสมทบมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน (3 ปี) ก่อนเดือนที่มีสิทธิ์จะได้รับประโยชน์ทดแทน โดยคุณแม่จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแบบเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตร 1 คน โดยอายุของบุตรที่อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดจะต้องมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ ในจำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เงินสงเคราะห์บุตรจะใช้ได้สำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นบุตรของตนแท้ ๆ เท่านั้น (ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งผู้ประกันตนได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น) ผู้ประกันตนมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรที่มีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่ผู้ประกันตนจะกลายเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตายในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนต่อไปจนครบ 6 ปีบริบูรณ์ การหมดสิทธิ์รับเงินกรณีสงเคราะห์จะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่บุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์, บุตรเสียชีวิต, ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือในกรณีที่ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน มีดังนี้ เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องใช้ ได้แก่ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (สปส. 2-01), สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา 1 ชุด, สำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นขอ และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์เฉพาะหน้าแรก ซึ่งเป็นชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ (ในกรณีที่ผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ์ ให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนการหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมาด้วย) ให้ผู้ประกันตนกรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (สปส. 2-01) ให้ครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อ แล้วนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาที่สะดวก หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน รอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา พิจารณาสั่งจ่าย โดยจ่ายเป็นรายเดือนด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

อ่านเพิ่มเติม

การลาคลอด FONT SIZE ก ก SECTIONS 1 การลาคลอดบุตร 2 ลาคลอดเมื่อไหร่ดี 3 ค่าจ้างที่ได้รับจากการลาคลอด 4 ค่าคลอดบุตร 5 ค่าสงเคราะห์บุตร 6 คุณแม่ที่เป็นข้าราชการ 7 คุณแม่ที่ประกอบอาชีพอิสระ 8 เรื่องที่เกี่ยวข้อง 9 เอกสารอ้างอิง การลาคลอดบุตร การลาคลอด หมายถึง การลาหยุดราชการของสตรีตั้งครรภ์ในช่วงก่อนคลอด วันคลอด หรือหลังคลอด โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ คุณแม่ตั้งครรภ์มีสิทธิ์ลาคลอดบุตรครั้งหนึ่ง โดยได้รับเงินเดือน 90 วัน ซึ่งนับรวมวันหยุดราชการด้วย การลาคลอดบุตรสามารถลาในวันคลอด ลาก่อน หรือลาหลังวันคลอดก็ได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 90 วัน ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้ลาคลอดและได้หยุดราชการไปแล้ว แต่คุณแม่ยังไม่ได้คลอดบุตรตามกำหนด หากประสงค์จะขอถอนวันลาคลอดบุตรที่หยุดไป ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตถอนวันลาได้ โดยให้ถือว่าวันที่หยุดไปแล้วนั้นเป็นวันลากิจส่วนตัว การลาคลอดบุตรซึ่งคาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดซึ่งยังไม่ครบกำหนดการลาประเภทนั้น ให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลง และให้นับเป็นการลาคลอดบุตรตั้งแต่วันที่เริ่มวันลาคลอดบุตร (เช่น ลาป่วย 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 1-10 มกราคม และลาคลอดบุตรวันที่ 5 มกราคม ถึงวันที่ 4 มีนาคม (รวม 60 วัน) ให้ถือว่าการลาป่วยสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม และให้เริ่มนับวันลาคลอดบุตรตั้งแต่วันที่ 5 มกราคมเป็นวันแรก) กรณีที่บุตรเสียชีวิตหลังคลอด ให้ใช้สิทธิ์ลาคลอดบุตร แต่ในกรณีของการแท้งบุตรหรือทารกเสียชีวิตในครรภ์ ซึ่งต้องพักรักษาตัว ให้ใช้สิทธิ์ลาป่วย การเลิกจ้างที่มีสาเหตุมาจากการตั้งครรภ์เป็นเรื่องผิดกฎหมาย นายจ้างบางคนคิดว่าหญิงตั้งครรภ์จะทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิมก็เลยไล่ออกด้วยเหตุที่มาจากการตั้งครรภ์ แบบนี้กฎหมายไม่อนุญาตครับ หากฝ่าฝืนก็จะมีโทษทางอาญาครับ คือมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่กฎหมายไม่ได้ห้ามนายจ้างเลิกจ้างในเหตุผลอื่น ๆ หรือเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างทำผิด เช่น ทุจริตต่อหน้าที่ ขาดงานติดต่อกัน 3 วันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ทำผิดซ้ำใบเตือน ฯลฯ กรณีแบบนี้นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ครับ)

อ่านเพิ่มเติม

ค่าคลอดบุตร คุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้จากสำนักงานประกันสังคมในอัตราเหมาจ่าย 13,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง มีลูกกี่คนก็เบิกได้ทุกคนครับ) โดยที่คุณแม่จะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนการคลอดบุตร (ไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือน หมายถึง การนับย้อนหลังกลับไป 15 เดือน หรือ 1 ปี 3 เดือน คุณแม่ต้องมีเงินสมทบมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 เดือน ถ้าสมทบมาน้อยกว่า 5 เดือน คุณแม่จะไม่มีสิทธิ์ในการขอค่าคลอดบุตร) ในกรณีที่สามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิ์ในการเบิกค่าคลอดบุตรรวมกัน แต่บุตรที่นำมาใช้สิทธิ์เบิกค่าคลอดบุตรแล้วจะไม่สามารถนำมาขอรับค่าคลอดบุตรได้อีก ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน (ทั้งค่าคลอดบุตรและค่าจ้างในอัตราเหมาจ่าย 90 วัน ที่ประกันสังคมต้องจ่าย) มีขั้นตอนดังนี้ เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องใช้ ได้แก่ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (สปส. 2-01), สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา 1 ชุด (ถ้าคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดมาด้วย), สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกันตน และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งเป็นชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ (ในกรณีที่ผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ์ นอกจากจะต้องใช้สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา 1 ชุดแล้ว ยังต้องใช้สำเนาทะเบียนสมรสด้วย แต่ในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส) ให้ผู้ประกันตนกรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (สปส. 2-01) ให้ครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาที่สะดวก หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน รอเจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา พิจารณาสั่งจ่าย โดยจ่ายเป็นเงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิ์มาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน), ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

อ่านเพิ่มเติม

คุณแม่ที่เป็นข้าราชการ มีสิทธิ์ลาคลอดได้ 90 วัน โดยไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ และยังได้รับเงินเดือนตามปกติจากส่วนราชการ มีสิทธิ์ลากิจต่อเนื่องเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 150 วันทำการ โดยไม่ได้รับเงินเดือน สามารถเบิกเงินช่วยเหลือการคลอดบุตรได้ครั้งละ 400 บาท โดยไม่รวมค่ารักษาพยาบาลซึ่งคุณแม่สามารถเบิกแยกได้ต่างหาก ได้รับเงินสวัสดิการสำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเดือนละ 50 บาทต่อบุตร 1 คน แต่ไม่เกิน 3 คน จนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ในกรณีที่คุณพ่อหรือคุณแม่ท่านใดท่านหนึ่งเป็นข้าราชการ สามารถใช้สิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในกรณีคลอดบุตรได้ โดยเบิกจ่ายเงินส่วนเกินจากประกันสังคม แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นการคลอดบุตรในโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น, การเบิกส่วนเกินจากสิทธิประกันสังคมจะต้องเบิกผ่านระบบเบิกจ่ายตรงสิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ โดยสอบถามจากหน่วยที่ท่านสังกัดอยู่ และเมื่อคลอดบุตรในโรงพยาบาลแล้ว จะต้องแจ้งขอใช้สิทธิ์รับเงินค่ารักษาพยาบาลเฉพาะส่วนเกินประโยชน์ทดแทนฯ (แบบ 7106) ในกรณีที่ภรรยาเป็นผู้ประกันตน (ทำงานเอกชน) ส่วนสามีทำงานข้าราชการ จะต้องเบิกตามสิทธิ์ของภรรยาก่อน ส่วนที่เกินจากประกันสังคม สามารถใช้สิทธิ์สามีในการเบิกได้ แต่ต้องเป็นโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น ในกรณีที่ภรรยาเป็นข้าราชการ ส่วนสามีเป็นผู้ประกันตน (ทำงานเอกชน) จะได้ทั้งขึ้นทั่งล่องครับ ภรรยาสามารถใช้สิทธิ์เบิกค่าคลอดจากหน่วยงานต้นสังกัดได้ ส่วนสามีก็สามารถเบิกค่าคลอดบุตรจากประกันสังคมได้ด้วยเช่นกัน เบิกจากต้นสังกัดได้ ในกรณีที่ทั้งภรรยาและสามีเป็นข้าราชการ แต่สามีมียศสูงกว่า ภรรยาจะเบิกจ่ายได้ตามสิทธิ์ข้าราชการของตัวเอง จะใช้สิทธิ์ที่มากกว่าของสามีไม่ได้ และในทางตรงข้ามหากสามีเป็นข้าราชการยศสูง แต่ภรรยาไม่ได้ทำงาน ในกรณีนี้ภรรยาสามารถใช้สิทธิ์ของสามีซึ่งเป็นข้าราชการได้

อ่านเพิ่มเติม
5y ago

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ แม่บ้านนี้ทำงานโรงพยาบาลค่ะ มีสิทธิประกันสังคม แต่กังวลเรื่องคลอดก่อนกำหนดค่ะ เลยยังไม่รู้จะลาช่วงไหนดี

ค่าจ้างที่ได้รับจากการลาคลอด ลูกจ้างทุกประเภทซึ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์มีสิทธิลาคลอดได้ตามกฎหมายแรงงาน โดยที่คุณแม่สามารถลาเพื่อคลอดบุตรในครรภ์หนึ่งได้ไม่เกิน 90 วัน (นับรวมวันหยุดราชการด้วย) สำหรับในเรื่องของค่าจ้างในขณะที่คุณแม่ใช้สิทธิลาคลอดนั้น ตามกฎหมายแล้วคุณแม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินจาก 2 ช่องทางหลัก ๆ คือ จากที่ทำงานของคุณแม่ (เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน) ในการลาคลอด 1 ครั้ง คุณแม่จะได้สิทธิ์ในการลาคลอดไม่เกิน 90 วัน และได้รับรายได้ชดเชยจากนายจ้างเป็นระยะเวลา 45 วัน เช่น คุณแม่ได้รับเงินเดือนอยู่ที่เดือนละ 10,000 บาท ในระหว่างที่คุณแม่ลาคลอดนายจ้างจะต้องจ่ายให้คุณแม่เป็นจำนวนเท่ากับ 15,000 บาท ขึ้นอยู่กับว่านายจ้างจะจ่ายให้ในระหว่างลาหรือจ่ายหลังจากมาทำงาน ส่วนนี้ก็ขึ้นอยู่กับที่ตกลงกันครับ (15,000 บาทนั้น คำนวณมาจากรายได้เฉลี่ยที่คิดเป็นรายวัน (10,000 / 30) x 45 วัน) แต่ในกรณีที่คุณแม่มาทำงานก่อนโดยไม่รอให้ครบ 90 วัน คุณแม่จะได้รับค่าจ้างตามปกติในวันที่มาทำงานด้วยครับ จากสำนักงานประกันสังคม (เป็นเงินที่ประกันสังคมต้องจ่ายตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม) ผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิ์ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรแบบเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างโดยเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน โดยคำนวณจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งเงินที่ได้นั้นคุณแม่จะได้รับเต็มจำนวน 90 วัน (แม้ว่าคุณแม่จะใช้สิทธิ์ลาคลอดไม่ถึง 90 วัน เพราะไปทำงานก่อน 90 วันก็ตาม) และคุณแม่สามารถใช้สิทธิ์นี้ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ส่วนการคลอดบุตรครั้งที่ 3 นั้นจะไม่ได้สิทธิ์รับเงินสงเคราะห์จากการหยุดงานครับ (สมมติว่าคุณแม่ได้เงินเดือน เดือนละ 10,000 บาท ก็จะได้เท่ากับ 10,000 x 3 เดือน (90 วัน) x 0.5 = 15,000 บาท แต่ถ้าคุณแม่มีเงินเดือน 15,000 บาท หรือสูงกว่า 15,000 บาท ก็จะได้เท่ากับ 15,000 x 3 เดือน (90 วัน) x 0.5 = 22,500 บาท)

อ่านเพิ่มเติม
5y ago

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ นะคะ

คุณแม่ที่ประกอบอาชีพอิสระ สามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคได้ โดยในส่วนของการฝากครรภ์ การสร้างภูมิคุ้มกันโรคของเด็ก คุณแม่สามารถเข้ารับบริการได้ฟรี และชำระ 30 บาท สำหรับการคลอดบุตรไม่เกิน 2 ครั้ง พร้อมการตรวจรักษารวมถึงค่าห้องและค่ายา (เฉพาะในกรณีการฝากครรภ์สามารถใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง) คุณแม่ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน หรือเป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ หากไม่มีบัตรทองก็สามารถไปทำได้ที่สถานีอนามัย โรงพยาบาลของรัฐ หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยใช้สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอทำบัตรมีชื่ออยู่ (ในกรณีที่ที่พักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้าน ให้นำสำเนาทะเบียนบ้านที่พักอาศัยอยู่ซึ่งมีลายมือชื่อเจ้าของบ้าน หรือหนังสือรับรองผู้นำชุมชนรับรองว่าได้พักอาศัยอยู่จริงไปด้วย)

อ่านเพิ่มเติม
5y ago

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ นะคะ

ลาคลอดเมื่อไหร่ดี ในช่วงเดือนหลัง ๆ ของการตั้งครรภ์ ร่างกายในส่วนต่าง ๆ ของคุณแม่จะต้องทำงานหนักขึ้น กระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อ และข้อต่อต่าง ๆ ก็ต้องทำงานหนักมากขึ้นด้วย การพักผ่อนให้สุขสบายอย่างเพียงพอและเตรียมตัวเตรียมใจสำหรับวันคลอดที่ใกล้จะมาถึงจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก คุณหมอส่วนใหญ่จึงมักจะแนะนำให้คุณแม่ลาพักงานเมื่อมีอายุครรภ์ได้ 32 สัปดาห์ เพื่อให้คุณแม่ได้พักผ่อน มีเวลาเตรียมตัว และจัดการเรื่องต่าง ๆ คุณแม่ไม่ควรกังวลหรือขยันทำงานมากจนเกินไป ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์ที่คุณแม่ไปฝากครรภ์ไว้จะดีที่สุดครับ (แต่สำหรับคุณแม่ทั่วไปมักจะใช้สิทธิลาคลอดในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนถึงวันกำหนดคลอดครับ) ค่าจ้างที่ได้รับจากการลาคลอด

อ่านเพิ่มเติม
5y ago

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคะ

บ้านนี้ลาก่อน1สัปดาห์ เดี๋ยวพออายุครรภ์คุณแม่มากขึ้นก็จะมีอาการท้องแข็งเตือน เราเป็นบ่อยมาก ถ้าเดินอยู่ท้องแข็งให้หยุดเดิน พอคลายค่อยเดินต่อ ที่นี้คุณแม่ก็ดูว่าจะลาช่วงไหนดี

5y ago

ขอบคุณคำแนะนำนะคะคุณแม่ วันที่ 2 นี้มีนัดตรวจกำลังคิดว่าจะลองปรึกษาคุณหมอดูค่ะ

บ้านนี้กำหนด ต้นกันยาค่ะ ลาตั้งแต่ 1 สิงหา ทำงานอยู่บ้าน ที่ทำงานให้พักค่ะเพราะเดินไม่ไหว กลับไปทำงานอีกที ปีใหม่ค่ะ

5y ago

ของบ้านนี้กำหนดเดือนธันวาค่ะแม่ กังวลว่าจะคลอดก่อนกำหนด เลยลังเลไม่รู้จะลาช่วงไหนดีค่ะ 😅

ลาก่อนกำหนดคลอด 1 อาทิตย์ค่ะ แต่ถ้าคลอดก่อนแบบกะทันหันก็ลาเลยค่ะ เพราะงานบ้านนี้กดหยุด กดเข้างานผ่านแอพค่ะ

5y ago

งั้นคงต้องลาก่อนกำหนดซัก 2 อาทิตย์ค่ะ เผื่อไว้ แล้วแจ้งกำหนดคลอดไว้ค่ะ เข้าจะได้หาคนไว้ล่วงหน้าต่ะ

คำถามที่เกี่ยวข้อง