ลาคลอด

สอบถามแม่ ๆ ที่ทำงานประจำค่ะ คุณแม่ลาคลอดกันตอนตั้งครรภ์กี่สัปดาห์คะ อยากหาข้อมูลไว้ค่ะ ตอนนี้ 24 w แล้ว ☺

29 ตอบกลับ
undefined profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

ค่าสงเคราะห์บุตร คุณแม่ที่ได้รับสิทธิ์นี้จะต้องจ่ายเงินสมทบมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน (3 ปี) ก่อนเดือนที่มีสิทธิ์จะได้รับประโยชน์ทดแทน โดยคุณแม่จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแบบเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตร 1 คน โดยอายุของบุตรที่อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดจะต้องมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ ในจำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เงินสงเคราะห์บุตรจะใช้ได้สำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นบุตรของตนแท้ ๆ เท่านั้น (ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งผู้ประกันตนได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น) ผู้ประกันตนมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรที่มีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่ผู้ประกันตนจะกลายเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตายในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนต่อไปจนครบ 6 ปีบริบูรณ์ การหมดสิทธิ์รับเงินกรณีสงเคราะห์จะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่บุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์, บุตรเสียชีวิต, ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือในกรณีที่ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน มีดังนี้ เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องใช้ ได้แก่ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (สปส. 2-01), สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา 1 ชุด, สำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นขอ และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์เฉพาะหน้าแรก ซึ่งเป็นชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ (ในกรณีที่ผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ์ ให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนการหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมาด้วย) ให้ผู้ประกันตนกรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (สปส. 2-01) ให้ครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อ แล้วนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาที่สะดวก หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน รอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา พิจารณาสั่งจ่าย โดยจ่ายเป็นรายเดือนด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

อ่านเพิ่มเติม
คำถามที่เกี่ยวข้อง