ค่าฝากครรภ์ประกันสังคม

ขอสอบถามคุณแม่ๆที่มีประสบการณ์ เบิกค่าฝากครรภ์หน่อยค่ะ ต้องทำอย่างไรบ้างคะ

11 ตอบกลับ
 profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

ประกันสังคม ผ่าคลอด สิทธิประโยชน์ที่คุณพ่อ-คุณแม่ควรรู้ เบิกเงินได้เท่าไหร่ ได้เงินช่วยเหลือเหมือนกับคลอดธรรมชาติหรือเปล่า มาหาคำตอบกัน ประกันสังคม คลอดบุตร จะเห็นได้ว่าปัจจุบันคุณแม่ยุคใหม่นิยมผ่าคลอดแทนการคลอดธรรมชาติกันมากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลเรื่องสุขภาพของคุณแม่ หรือความเชื่อเรื่องฤกษ์ยามต่าง ๆ ทว่าก็มีคำถามที่หลายคนสงสัยว่า ถ้าเลือกจะผ่าคลอดจะยังใช้สิทธิประกันสังคมได้เหมือนกับการคลอดธรรมชาติไหม เพราะฉะนั้น กระปุกดอทคอม จึงได้รวบรวมคำตอบเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์คลอดบุตร ประกันสังคม มาให้คุณพ่อ-คุณแม่ ที่กำลังจะมีเจ้าตัวเล็กได้ทราบกัน ผ่าคลอดบุตร เบิกประกันสังคมได้ไหม ? ประกันสังคมให้สิทธิผู้ประกันตน สามารถเบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคมได้ ทั้งกรณีที่เป็นผ่าคลอด หรือคลอดธรรมชาติก็ได้เช่นกัน โดยจะจ่ายเหมาให้เป็นค่าฝากครรภ์ ค่าคลอด รวมถึงค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์อื่น ๆ ที่จำนวน 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง คือไม่ว่าเราจะจ่ายเงินค่าคลอดบุตรถูกหรือแพงแค่ไหน ก็จะได้เงินช่วยเหลือ 13,000 บาทเท่ากันทุกคน โดยผู้ประกันตนต้องจ่ายค่าบริการทางการแพทย์รวมถึงค่าคลอดด้วยตัวเองไปก่อน หลังจากนั้นประกันสังคมถึงจะจ่ายค่าคลอดเป็นเหมาจ่ายให้ตอนที่คลอดบุตรมาแล้ว ผ่าคลอดประกันสังคม ประกันสังคม คลอดบุตร ใครมีสิทธิ ? ผู้ที่จะได้รับสิทธิเงินคลอดบุตรจากประกันสังคมนั้น อันดับแรกต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ก่อน ซึ่งไม่รวมผู้ประกันตนมาตรา 40 และจะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนคลอดบุตร ประกันสังคม คลอดบุตร เบิกได้กี่คน ? ประกันสังคมให้สิทธิผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าคลอดบุตรไม่จำกัดจำนวนครั้ง ตามจำนวนของบุตร โดยบุตร 1 คนจะเบิกได้ 1 ครั้ง คลอดโรงพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้ไหม ? เราไม่จำต้องไปฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิก็ได้ โดยจะเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลไหน ก็มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคมได้เหมือนกันหมด

อ่านเพิ่มเติม

เบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคม ใช้เอกสารอะไรบ้าง ? เอกสารเพื่อยื่นขอเบิกค่าคลอดบุตร ประกันสังคม มีดังนี้ 1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ให้ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ 2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) 3. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส 4. ใบเสร็จรับเงินค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคลอดบุตร 5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ 11 ธนาคาร ดังนี้ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารธนชาต, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารอิสลาม, ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย, ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทั้งนี้ การยื่นเอกสารหากผู้ประกันตนต้องการจะเบิก ทั้ง 1.เงินค่าคลอดบุตรและเงินหยุดงานเพื่อคลอดบุตร 2. เงินสงเคราะห์บุตร จะต้องยื่นอกสาร 2 ชุด คือ ชุดแรกสำหรับเงินค่าคลอดบุตรและเงินหยุดงานเพื่อคลอดบุตร ที่เราจะได้รับเป็นเงินก้อนมาเลยครั้งเดียว ส่วนอีกชุดสำหรับเงินสงเคราะห์บุตรที่ประกันสังคมจะจ่ายให้ทุก ๆ เดือน แต่ถ้าต้องการรับสิทธิแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ยื่นเอกสารแค่ชุดเดียวก็พอ

อ่านเพิ่มเติม

ประกันสังคม คลอดบุตร ได้เงินอะไรอีกบ้างนอกจากค่าคลอด นอกจากจะได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาทแล้ว ผู้ประกันตนหญิงที่เป็นคุณแม่ ยังมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (ค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท) เป็นระยะเวลา 90 วัน ซึ่งจะใช้สิทธิกับบุตรได้เพียง 2 คนเท่านั้น ถ้ามีบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์หยุดงานแล้ว ตัวอย่างเช่น มีเงินเดือน 15,000 บาท ก็จะได้เงินสงเคราะห์หยุดงานรวมทั้งหมด 22,500 บาท (7,500x3 เดือน) ขณะเดียวกัน หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก็จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรอีกเดือนละ 600 บาทต่อบุตรหนึ่งคน โดยจะได้รับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน นอกจากนี้ ยังสามารถลงทะเบียนเพื่อรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดได้ 600 บาทต่อคนต่อเดือน สำหรับเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี หากแม่หรือผู้ปกครองของเด็ก มีคุณสมบัติดังนี้ - สัญชาติไทย - อยู่ในครัวเรือนยากจนหรือเสี่ยงต่อความยากจน คือ มีรายได้รวมของครัวเรือนทั้งหมด หารด้วยจำนวนสมาชิกในครัวเรือนอยู่ในเกษณฑ์เฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาทต่อคนต่อเดือน หรือไม่เกิน 36,000 บาทต่อคนต่อปี

อ่านเพิ่มเติม

เบิกค่าคลอดบุตร กี่วันได้เงิน ? การจ่ายเงินคลอดบุตรนั้น ประกันสังคมจะทำการตรวจสอบข้อมูลและเอกสารของผู้ประกันตน ว่าถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือไม่ และหากไม่มีปัญหาอะไรทางสำนักงานประกันสังคมก็จะโอนเข้าบัญชีของผู้ประกันตนภายใน 5-7 วันทำการ นับจากวันที่เอกสารได้รับอนุมัติ โดยเราสามารถตรวจสอบผลอนุมัติจ่ายเงินได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม ผ่าคลอดประกันสังคม คลอดบุตรแฝด เบิกเงินประกันสังคม ได้ท่าไหร่ ? กรณีคลอดบุตรแฝดการจ่ายเงินของประกันสังคมจะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. เงินค่าคลอดบุตรและเงินหยุดงานเพื่อคลอดบุตร จะเบิกได้เท่ากันกับคลอดปกติ คือ ได้เงินค่าคลอดแบบหมาจ่าย 13,000 บาท และเงินหยุดงานสูงสุดที่ 22,500 บาท ไม่ใช่ว่าคลอดแฝดจะได้ 2 เท่านะ เพราะประกันสังคมเหมาจ่ายการ คลอดเป็นรายครั้ง ไม่ใช่ตามจำนวนบุตร 2. เงินสงเคราะห์บุตร จำนวน 600 บาทต่อเดือน ส่วนนี้จะเบิกได้ตามจำนวนบุตรที่คลอดเลย คือ ถ้าคลอดบุตรแฝด 2 คน ก็จะได้เงินสงเคราะห์บุตรไปเลย 1,200 บาทต่อเดือน แต่จะได้สูงสุดคราวละไม่เกิน 3 คนเท่านั้นนะ

อ่านเพิ่มเติม

ชายเบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคมได้ไหม ? กรณีผู้ประกันตนผู้ชายที่เป็นคุณพ่อ จะสามารถเบิกค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท และเงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 600 บาท ได้เหมือนกับฝ่ายหญิงเลย แต่จะใช้สิทธิได้แค่เพียงฝ่ายเดียว คือ ถ้าทั้งคุณพ่อและคุณแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ต้องเลือกว่าจะให้ใครใช้สิทธิ ไม่สามารถใช้สิทธิทั้งสองคนได้ ส่วนเงินสงเคราะห์หยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ที่จ่ายในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน ผู้ประกันตนชายจะไม่สามารถเบิกส่วนนี้ได้ ให้สิทธิเฉพาะฝ่ายหญิงเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าใครเลือกจะให้ฝ่ายชายใช้สิทธิประกันสังคมคลอดบุตร ต้องคิดดูดี ๆ ก่อนนะ เพราะจะเสียสิทธิเงินสงเคราะห์หยุดงานไป แต่ถ้าคุณแม่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน เช่น เป็นแม่บ้าน ประกอบอาชีพอิสระ แต่คุณพ่อเป็นผู้ประกันตน ก็ยังสามารถใช้สิทธิคลอดบุตรของคุณพ่อได้ โดยจะได้เงินค่าคลอด 13,000 บาทไม่ต่างกัน ทว่าจะไม่ได้เงินสงเคราะห์หยุดงานเหมือนคุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตน

อ่านเพิ่มเติม
VIP Member

ตามนี้ค่ะ 1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม (สปส. ๒-๐๑) 2.กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิเบิก - สำเนาทะเบียนสมรส หรือ หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส - กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิเบิกให้ผู้ประกันตนระบุเลขประจาตัวประชาชนของฝ่ายชายในแบบคำขอฯ เพื่อประโยชน์ของเจ้าหน้าที่วินิจฉัยในการตรวจสอบ และป้องกันการใช้สิทธิซ้ำซ้อน 3.ใบรับรองแพทย์ซึ่งออกโดยสูตินารีแพทย์ หรือ หนังสือรับรองการรักษาซึ่งออกโดยพยาบาลวิชาชีพเวชปฏิบัติ (ต้องมีเลขที่ใบประกอบวิชาชีพโรคศิลปะ) หรือ กรณีไม่มีใบรับรองแพทย์หรือหนังสือรับรองการรักษาอนุโลมให้ใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กประจำตัวหญิงตั้งครรภ์ที่ปรากฏรายละเอียดชื่อ - ชื่อสกุลของหญิงตั้งครรภ์ และรายละเอียดผลการบันทึกการตรวจครรภ์ตามช่วงอายุครรภ์ประกอบการยื่นขอรับค่าตรวจและรับฝากครรภ์ 4.ใบเสร็จรับเงินของสถานพยาบาลที่เข้ารับบริการฝากครรภ์

อ่านเพิ่มเติม
5y ago

ถ้าไม่มีใบเสร็จรับเงินได้ไหมคะ

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ ประกันสังคม คลอดบุตร หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ ประกันสังคม คลอดบุตร ได้แก่ จ่ายงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตน ในอัตรา 13,000 บาท ต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง สถานที่ยื่นเรื่อง ประกันสังคมคลอดบุตร ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) พิจารณาสั่งจ่าย ค่าคลอดประกันสังคม เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

อ่านเพิ่มเติม

ค่าคลอดประกันสังคม ค่าคลอดประกันสังคม สิทธิประโยชน์ดี ๆ จากสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (สปส) ที่มอบให้กับผู้ประกันตน ประกันสังคมคลอดบุตร เบิกได้เท่าไหร่ ค่าคลอดบุตรประกันสังคม เบิกอย่างไร เบิกค่าคลอดประกันสังคม ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ไปติดตามกันเลย ค่าคลอดประกันสังคม ผู้ประกันตนหญิง เบิกกรณีคลอดบุตรจะได้รับเงินอะไรบ้าง สิทธิที่จะได้รับ สำหรับผู้ประกันตนหญิง เบิกประกันสังคมกรณีคลอดบุตร ได้แก่ ค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาทต่อครั้ง โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน (คิดจากฐานค่าจ้างที่นำส่งประกันสังคม ฐานสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท) เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง สำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่าย

อ่านเพิ่มเติม

แท้งบุตร เบิกเงินประกันสังคมได้ไหม ? ผู้ประกันตนที่ตั้งครรภ์แล้วแท้งบุตร จะสามารถเบิกเงินค่าคลอดบุตรและเงินหยุดงานเพื่อคลอดบุตรได้เหมือนกัน ถ้ามีอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์ แต่จะไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตร สรุปแล้วจะเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นการคลอดบุตรแบบผ่าคลอด หรือคลอดธรรมชาติ ก็ได้รับสิทธิประกันสังคมไม่ต่างกันเลย คือ ได้รับเงินคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์หยุดงาน รวมกันสูงสุดอยู่ที่ 35,500 บาท รวมถึงเงินสงเคราะห์บุตรอีกเดือนละ 600 บาท ส่วนใครที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์คลอดบุตร ประกันสังคม ก็สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคม หรือโทร. 1506

อ่านเพิ่มเติม

เบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคมได้ยังไงบ้าง ? สามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์คลอดบุตร ประกันสังคม ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ รวมถึงสำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ในวัน-เวลาราชการ ซึ่งจะไปยื่นเองหรือให้ผู้อื่นไปยื่นแทนก็ได้ ขอเพียงเอกสารที่ยื่นมีความครบถ้วน ถูกต้อง และอย่าลืมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องให้ชัดเจนด้วย หรือจะยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ทางไปรษณีย์ก็ได้ ด้วยการส่งเอกสารไปตามที่อยู่ของสำนักงานประกันสังคมที่อยู่ใกล้บ้าน และจ่าหน้าซองว่า "ฝ่ายสิทธิประโยชน์"

อ่านเพิ่มเติม
คำถามที่เกี่ยวข้อง