เพื่อนเป็นนไทรอยด์เป็นพิษ และตอนนี้ตั้งครรภ์ได้1เดือนกว่าๆแล้วจะมีผลอะไรยังไงบ้างค่ะ

ไทรอยด์เป็นพิษ หมายถึง ภาวะที่เกิดจากระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูง จึงไปกระตุ้นร่างกายให้ใช้พลังงานมากขึ้นหรือมีเมตาบอลิซึมมากขึ้น ทำให้คนที่เป็นโรคนี้ เหนืรอยง่าย หายใจเร็ว เหมือนผ่านการทำงานหรือออกกำลังกายมาอย่างหนัก ในสตรีที่ตั้งครรภ์อาการไทรอยด์เป็นพิษแบ่งได้ 2 ประเภทคือ 1. ไทรอยด์เป็นพิษที่พบเฉพาะในคนตั้งครรภ์ (Gestational thyrotoxicsis) มี อาการคล้ายไทรอยด์เป็นพิษทั่ว ๆ ไป คือ รับประทานจุแต่น้ำหนักไม่ขึ้น เหนื่อยง่าย ใจสั่น ขี้หงุดหงิด ขี้ร้อน บางครั้งมีอาการ คอโต หรือที่เรียกว่าคอพอกร่วมกับอาการเด่น คือ อาการที่คล้ายคนแพ้ท้องมาก ๆ เช่น คลื่นไส้อาเจียน และรับประทานอาหารไม่ได้ อาจอาเจียนมากจนน้ำหนักลด บางครั้งอาจจะมีสารคีโตน ที่เกิดจากภาวะขาดอาหารคั่งในร่างกาย อาการจะแสดงในช่วง 3 เดือนแรก แต่หลังจากผ่านไตรมาสแรกไปแล้วอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายได้เอง 2. ไทรอยด์เป็นพิษชนิด Graves' Disease คือ โรคไทรอยด์เป็นพิษที่มักมีอาการตาโปนร่วมด้วย พบได้ทั่วไปแต่จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายค่ะ คุณแม่อาจจะเป็นไทรอยด์เป็นพิษชนิดนี้อยู่แล้วก่อนตั้งครรภ์ และมาตั้งครรภ์หรือมาเป็นระหว่างตั้งครรภ์เลยก็มีบ้างประปราย ไทรอยด์เป็นพิษชนิดนี้พบได้น้อยกว่าชนิดแรกค่ะ แต่มีอันตรายมากกว่าเพราะมีผลกระทบทั้งกับตัวคุณแม่และเจ้าตัวเล็กในท้องด้วย ผลกระทบต่อคุณแม่ คือ น้ำหนักของคุณแม่จะไม่ขึ้นตามเกณฑ์ คล้ายภาวะขาดอาหาร ส่งผลให้มีโอกาสแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ง่ายกว่าคนปกติ ขณะเดียวกันในช่วงท้ายของไตรมาสที่ 3 คุณแม่อาจมีอาการความดันสูงจนทำให้ครรภ์เป็นพิษมากกว่าปกติอีกด้วย และถ้าละเลยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจจะเกิดภาวะวิกฤตของโรคไทรอยด์ได้ คือ จะทำให้หัวใจคุณแม่เต้นผิดจังหวะ ตับทำงานผิดปกติ หรืออาจทำให้คุณแม่หัวใจวายได้ค่ะ ผลกระทบต่อลูก คือ คุณแม่มีโอกาสแท้งมากกว่าปกติในช่วง 3 เดือนแรก เมื่อพ้นระยะนี้ไปแล้ว หากยังมีอาการไทรอยด์เป็นพิษอยู่และไม่ได้รับการรักษา ลูกก็อาจจะตัวเล็กกว่าอายุครรภ์ คลอดก่อนกำหนด รวมถึงมีโอกาสที่ลูกเป็นไทรอยด์เป็นพิษและคอโตตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่ด้วย ซึ่งก็จะกระทบต่อการพัฒนาสมองจนอาจมีภาวะปัญญาอ่อนได้ ที่มา: ผศ.พญ.วัลยา จงเจริญประเสริฐ สำหรับแนวทางการรักษาไทยรอยด์ขณะตั้งครรภ์ และการควบคุมไทรอยด์ รวมถึงกลุ่มยาที่ใช้รักษา สตรีที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษ และการป้องกัน สามารถอ่านเพิ่มเติมจาดบทความในลิงค์ด้านล่างนี้นะคะ http://baby.kapook.com/view50781.html
อ่านเพิ่มเติม