เป็นตุ่มสีแดง

เป็นตุ่มสีแดงๆขึ้นคันด้วยอันตรายมั้ยค่ะขึ้นบางทีคะตรงท้อง ต้นขา สะโพก

เป็นตุ่มสีแดง
17 ตอบกลับ
 profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

ผื่นตั้งครรภ์ เรื่องคัน คัน ของแม่ตั้งครรภ์ อาการคันเป็นได้ทุกคนไม่จำกัดเพศและวัย นอกเหนือจากอาการคันที่พบได้ในบุคคลธรรมดาทั่วไปที่มีสาเหตุมาจาก การติดเชื้อรา ติดเชื้อแบคทีเรีย ยุงกัด การแพ้สารเคมี แพ้เหงื่อ การแพ้เสื้อผ้า เหมือนคนปกติแล้ว หญิงตั้งครรภ์ยังมีลักษณะพิเศษของโรคผิวหนังที่พบในช่วงตั้งครรภ์ ได้แก่ 1. ผื่นตั้งครรภ์ Pruritic urticarial papules and plaques of pregnancy (PUPPP) พบมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์เฉลี่ยอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าเกิดจากผนังท้องขยายมากทาให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และ คอลลาเจน กระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบ อาการผื่นมีหลายลักษณะเช่น ผื่นนูนแดงคล้ายลมพิษ หรือ เป็นตุ่มน้ำขนาดประมาณ 1-2 มม. พบมากบริเวณหน้าท้องโดยเฉพาะที่เป็นรอยแตกลาย โดยเว้นรอบสะดือ แล้วจึงกระจายไปที่ต้นขา ก้น หน้าอก และแขน โดยทั่วไปมีอาการคันมาก ผื่นชนิดนี้ขึ้นนานประมาณ 6 สัปดาห์และหายได้เองหลังคลอดภายใน 1-2สัปดาห์ ไม่มีอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์แต่อย่างใด การรักษาเป็นการบรรเทาอาการคัน เช่น ยาทาคาลาไมด์ ,ยาทากลุ่มสตีรอยด์ และยาแก้แพ้ ก็เพียงพอ 2.ผื่นตั้งครรภ์ Herpes gestationis ผื่นชนิดนี้พบได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ ไม่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเริมหรืองูสวัด ลักษณะสำคัญคือเป็นผื่นแดงเฉียบพลันคล้ายลมพิษบริเวณลำตัว หลังจากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใส หากมีการแตกของผื่นอาจกลายเป็นตุ่มน้ำใหญ่ได้ และมีอาการคันมาก การรักษาคือใช้ยาทาสเตียรอยด์ ผื่นชนิดนี้พบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะทารกแรกเกิดมีน้าหนักน้อยกว่าปกติ และภาวการณ์คลอดก่อนกำหนด 3.ผื่นตั้งครรภ์ Pustular psoriasis of pregnancy พบในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ลักษณะเป็นผื่นแดงรวมกับตุ่มหนอง กระจายทั่วลำตัว ผื่นมีอาการคันหรือเจ็บ แม่ตั้งครรภ์อาจมีอาการไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ ปวดข้อร่วมด้วย ผื่นมักหายได้เองหลังคลอด และอาจพบภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ เช่น ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (hypocalcemia) ,การติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสโลหิต (bacterial sepsis) , ภาวะรกเสื่อม (placental insufficiency) และทารกตายในครรภ์(still birth) การรักษาคือ ใช้ยาสตีรอยด์ขนาดสูงตลอดการตั้งครรภ์ ,ยาไซโคลสปอริน(cyclosporine) ,การรักษาด้วยแสงอัลตราไวโอเลตชนิดบี ภาวะนี้มีอันตรายทั้งแม่และทารก ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด 4.ผื่นตั้งครรภ์ Atopic eruption of pregnancy สัมพันธ์กับผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้อยู่ก่อน พบในช่วงไตรมาสที่2-3ของการตั้งครรภ์ ผื่นพบได้ 2 แบบคือชนิด eczematous เป็นผื่นแดง คัน บริเวณใบหน้า ลาคอ หน้าอก และข้อพับแขนขา อีกชนิดหนึ่งคือ ชนิด papular eruption ซึ่งเป็นตุ่มแดง คัน กระจายทั่ว เป็นบริเวณด้านนอกของแขนขา การรักษาใช้ยาทากลุ่มสตีรอยด์ ,ยาแก้แพ้บรรเทาอาการคัน โรคนี้ไม่มีผลกับทั้งแม่และทารกในครรภ์แต่อย่างใด นอกจากนี้ยังพบว่าอิทธิพลของฮอร์โมนจะมีผลต่อการทำงานของตับ โดยทำให้เกิดการขับถ่ายกรดน้ำดีมากผิดปกติ ทาให้เกิดอาการคัน เป็นต้น ซึ่งอาการคันในระหว่างตั้งครรภ์ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสาเหตุก่อน เพื่อจะได้รับการรักษาที่ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูก

อ่านเพิ่มเติม

ผิวพรรณเปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์ เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์แน่นอนว่าร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านสรีระ และอารมณ์ นั่นเป็นเพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนหลายชนิดในร่างกาย มาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้นกับผิวพรรณของคุณแม่บ้าง 1.รอยคล้ำ มักจะเกิดขึ้นบริเวณข้อพับของร่างกาย ได้แก่ รักแร้ ขาหนีบ ต้นขาด้านใน หัวนม รวมถึงอวัยวะเพศ โดยบริเวณดังกล่าวจะมีสีเข้มขึ้นกว่าปกติ แต่สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์กลัวกันมาก คือ การเกิดฝ้าบนใบหน้า โดยเฉพาะผู้ที่ถูกแดดเป็นประจำ ส่งผลให้กระที่อาจเป็นอยู่แล้วมีสีเข้มขึ้น และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะรอยคล้ำเหล่านี้จะเริ่มจางลงหลังจากคลอดแล้ว 2.สิว การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลายชนิดในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ มีผลต่อการทำงานของต่อมไขมันทำให้คุณแม่บางคนมีอาการสิวเห่อขึ้นที่หน้าและตัวได้ ในทางกลับกันคุณแม่บางคนก่อนตั้งครรภ์หน้าเป็นสิวง่าย พอตั้งครรภ์แล้วสิวกลับหายหน้าขาวผ่องก็มี 3.รอยแตกลาย มักพบได้บ่อยดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องที่ต้องขยายขึ้น เรื่อย ๆ สะโพก ก้น หน้าอก ต้นขา อาจเป็นสีชมพูอมม่วง ๆ หรือดำคล้ำในผู้ที่มีผิวคล้ำ บางคนอาจมีอาการคันร่วมด้วย แต่หลังคลอดแล้วจะจางลงได้อีกเล็กน้อย 4.ติ่งเนื้อสีน้ำตาลดำ มักเกิดขึ้นที่คอ รักแร้ 5.การติดเชื้อรา ที่ผิวหนังบริเวณที่มีการอับชื้น เนื่องจากคนท้องมักขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย จึงเกิดจุดอับชื้นบริเวณซอกพับที่สรีระมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ใต้ราวนม รักแร้ ขาหนีบ เป็นสาเหตุของการติดเชื้อราแคนดิดาได้ง่าย 6.โรคผื่นคัน อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งขอกล่าวในหัวข้อถัดไปค่ะ

อ่านเพิ่มเติม

ข้อควรรู้ คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการผื่นแพ้เพราะฮอร์โมน คุณหมอมักรักษาตามอาการ แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ให้ยาแก้แพ้ใด ๆ เพราะยาอาจมีผลต่อเด็กในครรภ์ได้ และคุณแม่ควรดูแลผิวไม่ให้อักเสบติดเชื้อ พยายามอย่าถูหรือเกา และไม่ควรซื้อยาแก้แพ้มากินหรือทาเองอย่างเด็ดขาดเพราะยาอาจมีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้ และอาการผื่นแพ้นี้มักจะหายไปหลังคลอดลูก

อ่านเพิ่มเติม
VIP Member

บ้านนี้อยู่ๆก็มีจุดแดงๆขึ้นค่ะ ไปหาหมอมาแล้วคุณหมอแจ้งว่าเปนผื่นคนท้องปกติ ไม่ได้ให่ทั้งยากินและยาทา เราไม่มีอาการคันค่ะ

Post reply image
4y ago

พยายามอย่าเกามากนะคะแม่ลูบๆเอาค่ะ

ของเราเต็มหลังเลยค่ะ​ มันเป็นเพราะฮอร์โมน​ค่ะ​ ทาคาลาไมล์ก็บรรเทาอาการคันไปได้บ้างค่ะ

เค้าก็เป็นน่ะ2วันล่ะคันมาก ยิ่งเกายิ่งเป็นเยอะกว่าเดิมอีก กลัวมีผลกับลูก

Post reply image

ตอนไปหาหมอบอกหมอเลยคะ เขาจะให้ยามา ของเรา ขึ้นเต้มขาเลย เป็นแผลเป็นด้วย

เป็นเหมือนกันค่ะคันมาก ทนไม่ไกวต้องเกา ถ้าคารามาย ก็ไม่หาย

เป็นเหมือนกันค่ะ นัดถัดไปบอกหมอนะคะ หมอจะให้ยามาทานค่ะ

เป็นเหมือนกันค่ะ คันๆ พยายามไม่เกา ผื่นคันคนท้องค่ะ

คำถามที่เกี่ยวข้อง