1 ตอบกลับ

https://th.theasianparent.com/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B9%8C/ แม่ลองศึกษาดูนะคะ เมื่อมีภาวะรกเกาะต่ำ ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์คุณแม่มักจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ จนกระทั่งอายุครรภ์มากขึ้นจนถึงช่วงใกล้คลอด ซึ่งมดลูกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ปากมดลูกและส่วนล่างของมดลูกจะเริ่มบางตัวลง และยืดขยายมากขึ้น เป็นผลให้รกที่เคยเกาะแน่นเกิดมีรอยปริแยกเกิดขึ้นจากการยืดขยายของส่วนล่างของมดลูก ทำให้เลือดออกตรงบริเวณที่รกเกาะ ซึ่งเลือดที่ออกจะไหลผ่านปากมดลูกลงมาในช่องคลอด ลักษณะเป็นเลือดสด มักไม่มีอาการเจ็บท้องร่วมด้วย ส่วนมากเมื่อมีเลือดออกครั้งแรกจะออกมาไม่มาก และจะหยุดได้เอง แต่ถ้ามีเลือดไหลออกมาอีกครั้ง และเลือดออกมากไม่หยุดไหล อาการแบบนี้ถือว่ารุนแรงส่งผลให้เป็นอันตรายถึงชีวิตทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ได้

คำถามยอดฮิต