ตั้งครรภ์35สับดาห์

ลูกดิ้น แล้วปวดตรงสะดือไหมค่ะ

8 ตอบกลับ
 profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

สัปดาห์ที่ 16-19 การเคลื่อนไหวของทารกยังไม่ชัดเจน จะต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะสามารถระบุได้ว่าเป็นอาการขยับตัวของทารก ทั้งนี้ครรภ์แรกจะเริ่มรับรู้ว่าลูกดิ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 18 และครรภ์ต่อมาจะรับรู้ได้เร็วขึ้น ประมาณสัปดาห์ที่ 16 สัปดาห์ที่ 20-23 คุณแม่จะเริ่มรู้สึกได้ถึงการเตะเบา ๆ หรือการขยับตัวจากการสะอึกของทารก จากนั้นในสัปดาห์ต่อ ๆ มา กิจกรรมทางกายของทารกก็จะเพิ่มขึ้นและชัดเจนขึ้น โดยอาจพบว่าเด็กจะมีการขยับตัว เช่น เตะ หมุนตัว หรือตีลังกามากขึ้นในช่วงเย็นของวันซึ่งเป็นช่วงที่คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้เวลารับประทานอาหารก็จะเป็นช่วงที่เด็กขยับตัวบ่อย สัปดาห์ที่ 24-28 ของเหลวในถุงน้ำคร่ำจะเพิ่มขึ้นไปถึง 750 มิลลิลิตร ซึ่งจะทำให้ทารกมีพื้นที่ในการขยับตัวมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คุณแม่รู้สึกว่าเด็กมีการเคลื่อนไหวอยู่บ่อย ๆ โดยอาจมีทั้งการขยับเพียงแขนขาหรือการเคลื่อนไหวทั้งร่างกาย สัปดาห์ที่ 29-31 การขยับตัวของทารกจะเบาลง แต่ชัดเจนมากขึ้น เช่น เตะแรงขึ้น ต่อยแรงขึ้น และหลังจากนั้นคุณแม่อาจรู้สึกคล้ายกับว่าทารกขยับตัวเพื่อต่อสู้กับพื้นที่ในครรภ์ที่น้อยลง สัปดาห์ที่ 32-35 นับเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดสำหรับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ เพราะในช่วงสัปดาห์ที่ 32 ความถี่ของการดิ้นจะสูงที่สุด หลังจากนั้นจะเริ่มคงที่ เนื่องจากทารกมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีพื้นที่ในการขยับตัวน้อยลง การเคลื่อนไหวของทารกจะช้าแต่กินเวลานาน สัปดาห์ที่ 36-40 เป็นช่วงเวลาใกล้คลอด ดังนั้นหากเป็นท้องแรก ในช่วงสัปดาห์ที่ 36 เด็กจะเริ่มพลิกตัวเพื่อให้อยู่ในลักษณะเอาศีรษะลง แต่ถ้าหากเด็กไม่กลับตัว กล้ามเนื้อภายในครรภ์และท้องจะช่วยในการพลิกตัวของเด็ก หากเด็กอยู่ในลักษณะเอาศีรษะลง คุณแม่จะรู้สึกเหมือนมีแตงโมกดทับอยู่ที่กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หากเด็กยังคงไม่พลิกตัว อาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อให้การคลอดปลอดภัยกับเด็กที่สุด แต่หากเป็นการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 กล้ามเนื้อบริเวณท้องจะแข็งแรงน้อยกว่าการตั้งครรภ์ครั้งแรก ดังนั้นเด็กอาจจะค่อย ๆ พลิกตัวอย่างช้า ๆ อย่างไรก็ตามในช่วงสัปดาห์ท้าย ๆ ทารกจะยังขยับตัวอยู่ การเคลื่อนไหวจะน้อยลงแต่ยังคงรู้สึกได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่ค่อยสบายตัวหรือรู้สึกเจ็บ

อ่านเพิ่มเติม

สาเหตุที่ลูกไม่ดิ้น ดิ้นน้อย เกิดจากอะไร? แม้การขยับตัวของทารกจะเป็นสัญญาณถึงพัฒนาการของเด็ก แต่ผู้ที่พบว่าตัวเองไม่รู้สึกถึงการขยับตัวของทารก หรือทารกไม่ดิ้นเลย ก็อาจไม่ต้องกังวลจนเกินไป เพราะการที่เด็กไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยอาจมีสาเหตุมาจาก ทารกในครรภ์กำลังหลับ ช่วงเวลาที่ทารกหลับจะเป็นช่วงที่มีการขยับตัวน้อยที่สุด ทารกตัวใหญ่จนขยับตัวได้ยาก ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 32 เป็นต้นไป ทารกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ในขณะที่มดลูกยังขนาดเท่าเดิม ซึ่งจะทำให้เด็กไม่สามารถขยับตัวได้มากเหมือนการตั้งครรภ์ช่วงแรก ทว่าหากคุณแม่นับจำนวนครั้งในการดิ้นของเด็กในช่วงเวลาที่เด็กดิ้นมากที่สุดแล้วแต่ก็ยังดิ้นน้อยกว่าเกณฑ์ คือต่ำกว่า 10 ครั้ง ในระยะเวลา 2 ชั่วโมง มีรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หรือเมื่อคุณแม่กระตุ้นให้เด็กเกิดการตอบสนองด้วยวิธีการรับประทานของว่าง ดื่มน้ำเย็น ดื่มเครื่องดื่มหวาน ๆ ขยับร่างกาย เปิดเพลงเสียงดัง แล้วเด็กก็ยังไม่ตอบสนอง นั่นอาจแสดงให้เห็นว่าเกิดความผิดปกติกับการตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของเด็ก ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด โดยวิธีที่นิยมใช้ในการตรวจสุขภาพของครรภ์และเด็กทารก ได้แก่

อ่านเพิ่มเติม

ลูกดิ้น อาการเป็นอย่างไร ? ว่าที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวในช่วงสัปดาห์ที่ 16-20 ของการตั้งครรภ์ โดยอาการลูกดิ้นในช่วงแรก ๆ จะให้ความรู้สึกเหมือนปลาทองว่ายน้ำหรือรู้สึกเหมือนผีเสื้อกำลังกระพือปีกอยู่ภายในท้อง บ้างก็รู้สึกเหมือนเส้นประสาทกระตุกเบา ๆ โดยการขยับตัวของทารกจะมีทั้งการเตะ ต่อย การพลิกตัวและม้วนตัว โดยการดิ้นของเด็กจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึง สัปดาห์ที่ 32 จากนั้นจะคงที่ อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวของทารกอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ในช่วงใกล้วันกำหนดคลอด ในช่วงแรก ทารกในครรภ์จะขยับตัวเพียงเล็กน้อยและไม่บ่อย แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน) ทารกจะขยับตัวมากขึ้น ทำให้คุณแม่สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของเด็กได้อย่างชัดเจนและบ่อยมากขึ้น โดยการศึกษาหนึ่งพบว่า การตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 3 เด็กอาจขยับตัวได้ถึง 30 ครั้งต่อชั่วโมงเลยก็เป็นได้ ทั้งนี้การติดตามความถี่ในการดิ้นของทารกในครรภ์เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับว่าที่คุณแม่ และสามารถทำได้เองอย่างง่าย ๆ ด้วยการจดจำรูปแบบการดิ้นของเด็ก ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามอายุครรภ์ ดังนี้

อ่านเพิ่มเติม

การตรวจอัลตราซาวด์ (Fetal Ultrasound) วิธีนี้จะใช้การส่งคลื่นเสียงไปสะท้อนเพื่อให้กลับมาเป็นรูปภาพ ภาพที่ได้จะแสดงให้เห็นการเคลื่อนไหวของเด็กในครรภ์ อัตราการเต้นของหัวใจ และท่าทางของเด็ก การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ (Nonstress Test) เป็นวิธีการตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารก โดยการนำแผ่นเหล็กขนาดเล็กที่ทาเจลวางลงบนท้อง จากนั้นใช้เข็มขัดคาดไว้เพื่อไม่ให้แผ่นเหล็กขยับไปจากที่เดิม การตรวจวัดความเร็วของเลือดในหลอดเลือดทารกในครรภ์ (Fetal Doppler Velocimetry) วิธีนี้จะคล้ายกับวิธีการตรวจสุขภาพทารก แต่จะมีการใช้คลื่นเสียงร่วมด้วยเพื่อตรวจการไหลเวียนของเลือดภายในรกและสายสะดือ ซึ่งจะช่วยให้ทราบอัตราการเต้นของหัวใจทารก

อ่านเพิ่มเติม

ทปวดตรงสะดือเพราะผนังหน้าท้องขยายค่ะ

มีเสียวๆแปล๊บบ้างค่ะ

กดิ้นจะรู้สึกยังไง? อาการของลูกดิ้นมีการอธิบายไว้ว่า ความรู้สึกจะเหมือนกับการเคลื่อนไหวของอะไรบางอย่าง (คุณแม่ต้องใช้จินตนาการ) เช่น ผีเสื้อกำลังกระพือปีกอยู่ในท้อง หรือรู้สึกว่าเหมือนกับปลาตอด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ระบุว่า ทุกครั้งที่ลูกดิ้นจะมีความแตกต่างกัน และมีความหมายแตกต่างกันด้วย เช่น หิว เจ็บปวด บิดขี้เกียจ เป็นต้น ท้องกี่เดือนลูกถึงจะดิ้น ลูกดิ้นรู้สึกอย่างไร ลูกในท้องดิ้นบ่อยแค่ไหน? ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์คุณแม่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวเบาๆ ในท้องระยะหนึ่ง แต่พอลูกในท้องตัวใหญ่ขึ้นโดยเฉพาะช่วงปลายไตรมาสที่สอง ลูกน้อยในท้องจะมีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้นทำให้คุณแม่รู้สึกการดิ้นของลูกที่ถี่ขึ้นตาม พอมาถึงไตรมาสที่สามคุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นชัดขึ้นไปอีก และดิ้นมากขึ้น โดยเฉลี่ยอาจอยู่ที่ 30 ครั้งต่อชั่วโมงเลย ส่วนใหญ่แล้วลูกในท้องจะดิ้นเป็นเวลาหากคุณแม่สังเกตดีๆ จะพบว่าลูกน้อยจะชอบดิ้นชอบตื่นนอนและช่วงที่นอนหลับ โดยจะรู้สึกมากสุดเวลา 09:00 น. – 01:00 น. ทางด้านขวา ซึ่งไม่แปลกใจเลยถ้าแม่กำลังนอนๆ อยู่แล้วจะสะดุ้งตัวตื่นขึ้นมากลางดึกเพราะลูกดิ้นแรง สาเหตุก็มาจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดของคุณแม่ค่ะ และอีกสาเหตุมาจากการตอบสนองต่อเสียง และการสัมผัสของคุณแม่ หากคุณแม่รู้สึกว่าทำไมลูกดิ้นแล้วทิ้งระยะเวลานานกว่าจะดิ้นอีก สาเหตุอาจมาจากว่าลูกน้อยของคุณแม่นอนหลับไปก็ได้ และไม่ต้องตกใจหากคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 32 สัปดาห์แล้วลูกดิ้นน้อยลง เพราะเป็นเรื่องปกติค่ะ ลูกดิ้นแล้วต้องทำอย่างไร? เมื่อลูกน้อยมีการเคลื่อนไหว สิ่งหนึ่งที่คุณแม่ควรทำคือ “การนับลูกดิ้น” เพื่อที่จะได้เป็นการติดตามพัฒนาการของลูกน้อย และดูว่าลูกน้อยยังมีความแข็งแรงสมบูรณ์ปกติอยู่หรือไม่ ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยันว่าวิธีนี้จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับเช็คพัฒนาการทารกในครรภ์ก็ตาม วิธีการนับลูกดิ้น คุณหมอได้แนะนำว่าให้สังเกตว่าในระยะเวลาสองชั่วโมง คุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นอย่างน้อย 10 ครั้ง หรือไม่ ถ้าไม่รู้สึกแนะนำให้คุณแม่มาตรวจเช็คความเคลื่อนไหวของลูกในท้อง ดูว่าลูกในท้องยังปกติดีหรือไม่ค่ะ

อ่านเพิ่มเติม

ท้องกี่เดือนลูกถึงจะดิ้น ท้องกี่เดือนลูกถึงจะดิ้น อาการแบบไหนที่เรียกว่าลูกดิ้นน่ะ แม่ท้องแรกที่ไม่มีประสบการณ์จะจับความรู้สึกของทารกในครรภ์ได้ยากกว่าคุรแม่ที่เคยท้องมาก่อน เพราะไม่รู้ว่าความรู้สึกนี้เรียกว่าลูกดิ้น หรือท้องร้อง หรือมีลมในท้องกันแน่ ความรู้สึกว่าลูกดิ้นจะเริ่มขึ้นที่เดือนไหน สัปดาห์ที่เท่าไหร่น้า โดยปกติแล้วคุณแม่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกในท้องช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 16-25 ของการตั้งครรภ์ สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งจะท้องลูกคนแรกอาจจะยังไม่มีความรู้สึกนั้น เนื่องจากคุณแม่ยังไม่มีประสบการณ์มาก่อน จึงไม่แน่ใจว่าความรู้สึกแบบนี้เรียกว่าเรื่องดิ้นหรือเปล่านะ ในทางกลับกันสำหรับคุณแม่ที่ตั้งท้องลูกคนที่สอง อาจจะรู้สึกว่าลูกดิ้นเร็วเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 13 ก็ได้ หากครบ 25 สัปดาห์แล้วแต่คุณแม่ยังไม่รู้สึกถึงการดิ้นของลูกในท้องก็ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะคุณแม่อาจจะยังแยกแยะความเคลื่อนไหวของลูกในท้องไม่ได้ อาจต้องรอให้ลูกในท้องตัวโตขึ้นอีกหน่อยค่ะ

อ่านเพิ่มเติม