ผดผื่นขึ้นมากช่วงตั้งครรภ์ เพราะอะไร คะ

2 ตอบกลับ
undefined profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

อาการคันช่วงตั้งครรภ์ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งในหญิงมีครรภ์ ซึ่งสาเหตุของการคันของหญิงมีครรภ์มีมากมาย คือนอกเหนือจากอาการคันที่พบได้ในบุคคลธรรมดาทั่วไป เช่น การติดเชื้อรา ติดเชื้อแบคทีเรีย ยุงกัด การแพ้สารเคมี แพ้เหงื่อ การแพ้เสื้อผ้า เหมือนคนปกติแล้ว ยังมีลักษณะพิเศษของโรคผิวหนังที่พบในช่วงตั้งครรภ์ ได้แก่ 1. ผื่นตั้งครรภ์ Pruritic urticarial papules and plaques of pregnancy (PUPPP) ผื่นคนท้องที่ชื่อว่า ผื่น PUPPP พบมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์เฉลี่ยอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ สาเหตุผื่นตั้งครรภ์ สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าเกิดจากผนังท้องขยายมากทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และคอลลาเจน กระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบ อาการผื่นมีหลายลักษณะเช่นผื่นนูนแดงคล้ายลมพิษ หรือ เป็นตุ่มน้ำขนาดประมาณ 1-2 มม. พบมากบริเวณหน้าท้องโดยเฉพาะที่เป็นรอยแตกลาย โดยเว้นรอบสะดือ แล้วจึงกระจายไปที่ ต้นขา ก้น หน้าอก และแขน โดยทั่วไปมีอาการคันมาก ผื่นชนิดนี้ขึ้นนานประมาณ 6 สัปดาห์ และหายได้เองหลังคลอดภายใน 1-2 สัปดาห์ ไม่มีอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์แต่อย่างใด การรักษาผื่นตั้งครรภ์ เป็นการบรรเทาอาการคันเช่น ยาทาคาลาไมด์,ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ และยาแก้แพ้ ก็เพียงพอ 2. ผื่นตั้งครรภ์ Herpes gestationis ผื่นตั้งครรภ์ Herpes gestationis ผื่นชนิดนี้พบได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ ไม่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเริมหรืองูสวัด ลักษณะสำคัญคือเป็นผื่นแดงเฉียบพลันคล้ายลมพิษบริเวณลำตัว หลังจากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใส หากมีการแตกของผื่นอาจกลายเป็นตุ่มน้ำขนาดใหญ่ได้ และมีอาการคันมาก การรักษาผื่นตั้งครรภ์ Herpes gestationis การรักษาคือใช้ยาทาสเตียรอยด์ ผื่นชนิดนี้พบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ และภาวะการคลอดก่อนกำหนด 3. ผื่นตั้งครรภ์ Pustular psoriasis of pregnancy ผื่นตั้งครรภ์ Pustular psoriasis of pregnancy พบในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ อาการผื่นตั้งครรภ์ ลักษณะเป็นผื่นแดงรวมกับตุ่มหนอง กระจายทั่วลำตัว ผื่นมีอาการคันหรือเจ็บ มารดาอาจมีอาการไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ ปวดข้อร่วมด้วย ผื่นมักหายได้เองหลังคลอด แต่อย่างไรก็ตามอาจพบภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้เช่น ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (hypocalcemia), การติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสโลหิต (bacterial sepsis), ภาวะรกเสื่อม (placental insufficiency) และทารกตายในครรภ์ (still birth) การรักษาผื่นตั้งครรภ์ Pustular psoriasis of pregnancy การรักษาคือใช้ยาสเตียรอยด์ขนาดสูงตลอดการตั้งครรภ์, ยาไซโคลสปอริน (cyclosporine), การรักษาด้วยแสงอัลตราไวโอเลตชนิดบี อย่างไรก็ตามภาวะนี้มีอันตรายทั้งมารดาและทารก ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด 4. ผื่นตั้งครรภ์ Atopic eruption of pregnancy สัมพันธ์กับผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้อยู่ก่อน พบในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของการตั้งครรภ์ ผื่นพบได้ 2 แบบคือชนิด eczematous เป็นผื่นแดง คัน บริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก และข้อพับแขนขาอีกชนิดหนึ่งคือชนิด papular eruption ซึ่งเป็นตุ่มแดง คัน กระจายทั่ว เป็นบริเวณด้านนอกของแขนขา การรักษาผื่นตั้งครรภ์ Atopic eruption of pregnancy การรักษาใช้ยาทากลุ่มสเตียรอยด์, ยาแก้แพ้บรรเทาอาการคัน โรคนี้ไม่มีผลกับทั้งมารดาและทารกในครรภ์แต่อย่างใด นอกจากนี้ยังพบว่าอิทธิพลของฮอร์โมนจะมีผลต่อการทำงานของตับ โดยทำให้เกิดการขับถ่ายกรดน้ำดีมากผิดปกติ ทำให้เกิดอาการคัน เป็นต้น ซึ่งอาการคันในระหว่างตั้งครรภ์ก็ควรจะต้องหาสาเหตุดูก่อน เพื่อจะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูก ข้อมูบลจาก www.kapook.com

อ่านเพิ่มเติม

1. ผื่นตั้งครรภ์ Pruritic urticarial papules and plaques of pregnancy (PUPPP)           ผื่นคนท้องที่ชื่อว่า ผื่น PUPPP พบมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์เฉลี่ยอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ สาเหตุผื่นตั้งครรภ์           สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าเกิดจากผนังท้องขยายมากทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และคอลลาเจน กระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบ อาการผื่นมีหลายลักษณะเช่นผื่นนูนแดงคล้ายลมพิษ หรือ เป็นตุ่มน้ำขนาดประมาณ 1-2 มม. พบมากบริเวณหน้าท้องโดยเฉพาะที่เป็นรอยแตกลาย โดยเว้นรอบสะดือ แล้วจึงกระจายไปที่ ต้นขา ก้น หน้าอก และแขน โดยทั่วไปมีอาการคันมาก ผื่นชนิดนี้ขึ้นนานประมาณ 6 สัปดาห์ และหายได้เองหลังคลอดภายใน 1-2 สัปดาห์ ไม่มีอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์

อ่านเพิ่มเติม
คำถามที่เกี่ยวข้อง