น้องไม่มีกระโหลกศีษะ
น้องอายุครรภ์แค่4เดือนค่ะ หมอตรวจเจอว่าน้องไม่มีกระโหลก ต้องเอาน้องออก แม่ไม่อยากเอาออกเลยค่ะ แต่ไม่มีทางแก้ ตอนนี้ช่วงโควิดคุณพ่อก็ไม่มีงานเงินก็ไม่ค่อยมี หนูยังต้องมามีค่าเอาออก ทำไมต้องเป็นหนูที่ซวยด้วยลูก ฝากแม่ๆที่กำลังตั้งครรภ์ ใหม่ดูแลน้องในท้องดีๆนะคะ


ภาวะที่ทารกในครรภ์ไม่มีกะโหลกศีรษะ Anencephaly เป็นความพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรง ซึ่งทารกที่เกิดมาไม่มีส่วนของหนังศีรษะ กะโหลกศรีษะ เยื่อหุ้มสมอง และส่วนของสมองส่วนหน้า สมองใหญ่ (ส่วนที่ใช้คิดและเชื่อมโยงการทำงานของสมองส่วนต่างๆ) และสมองน้อย แต่ยังมีส่วนของก้านสมอง (ส่วนที่ควบคุมการหายใจ) ซึ่งเปิดออกสู่โลกภายนอก และถูกหุ้มอยู่ด้วยเยื่อบางๆเท่านั้น ทำให้ทารกมีลักษณะคล้ายกบ บางครั้งถูกเรียกว่า "เด็กกบ" เนื่องจากที่ไม่มีการทำงานของสมองใหญ่ ดังนั้นทารก Anencephaly จึงไม่มีการรับรู้สติ หรือไม่รู้สึกตัว อย่างไรก็ตาม เซลล์สมองที่เหลือของทารกแต่ละคนได้มีการพัฒนาไปในระดับที่แตกต่างกัน ดังนั้นบางรายอาจไม่สามารถมองเห็น ไม่ได้ยิน ไม่รู้สึกเจ็บ แต่ยังอาจมีการหายใจ แต่บางรายอาจสามารถกลืนได้ ร้องได้ และตอบสนองต่อเสียงดัง การสัมผัส และแม้แต่การตอบสนองต่อแสงไฟ อย่างไรก็ตามทารกมักเสียชีวิตหลังจากคลอดออกมาในไม่กี่ชั่วโมง ลักษณะที่พบเมื่อทำการตรวจระหว่างตั้งครรภ์ Neural Tube Defects (N.T.D.) ซึ่งมีอัตราการเกิดค่อนข้างสูง ในต่างประเทศพบได้ 1.2-1.7 ต่อ 1,000 ของการคลอด ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ multifactorial ถ้าคลอดบุตรคนแรกเป็น NTD โอกาสเกิดซ้ำในบุตรคนต่อไปสูงร้อยละ 2-5 และถ้าบุตรสองคนแรกเป็น NTD คนที่สามจะมีโอกาสเกิดซ้ำได้สูงถึงร้อยละ 10-15 การป้องกันทารกในครรภ์ไม่มีกะโหลกศีรษะ Anencephaly ในปัจจุบันแม้ไม่มีวิธีป้องกันได้อย่างชัดเจน แต่พบว่าการรับประทาน Folic acid ในปริมาณที่เหมาะสมสามารถช่วยป้องกันได้ โดยเฉพาะในกรณีที่เคยตั้งครรภ์ผิดปกติด้วยภาวะนี้มาก่อน แนะนำว่าควรเพิ่มปริมาณการรับประทาน Folic acid จากเดิม 0.4 มิลลิกรัม เป็น 4 มิลลิกรัม โดยแนะนำว่าควรเริ่มรับประทานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1-3 เดือน เพราะระบบประสาทจะเริ่มพัฒนาตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3-4 ของการตั้งครรภ์ หากเริ่มรับประทานเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์แล้วอาจช้าเกินไป #ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่นะคะ หลังจากที่เสียน้องไปแล้ว ให้คุณแม่ทานโฟลิคเพื่อ เตรียมร่างกายก่อนจะมีน้องด้วยนะคะ
อ่านเพิ่มเติม