5 ตอบกลับ
เตรียมตัวอย่างไรไม่ให้แพ้ท้อง ดื่มน้ำมากๆ ในช่วงที่ท้องควรดื่มน้ำมากๆ หรือว่าเท่าที่จะมากได้ เพราะว่าการดื่มน้ำนั้นจะช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งน้ำที่แนะนำนั่นอาจจะเป็นน้ำเปล่า น้ำผลไม้ จะดีที่สุดค่ะ และควรดื่มน้ำก่อนและหลังรับประทานอาหารประมาณ 30 นาที และไม่ควรดื่มน้ำร่วมกับการรับประทานอาหารหรือหลังอาหารในทันที ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่าง คุณแม่อาจจะหาวิธีการโดยนำขนมติดตัว และกินไปเรื่อยๆ เช่น ขนมจำพวกถั่ว ขนมที่ทำจากถั่วเหลือง เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนที่จะเกิดขึ้นขณะท้องได้ พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพออาจทำให้เกิดอาการแพ้ท้องได้ง่าย เพราะอาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้คุณแม่รู้สึกเวียนหัวได้ง่าย เทางที่ดีควรเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ดีกว่าค่ะ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด คุณแม่ควรพยายามอย่าเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่ร้อนอบอ้าว อากาศไม่ถ่ายเท เพราะจะทำให้คุณแม่เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ง่าย ถ้าคุณแม่ต้องออกไปทานข้าวนอกบ้านก็พยายามหลบแดดหน่อยค่ะ หรืออาจจะพกร่ม พัด ยาดม และลูกอมติดตัวไว้ก็ได้ หลีกเลี่ยงอาหารมัน ทอด และรสจัด อาหารบางประเภทที่อาจไปกระตุ้นระบบการย่อยอาหารให้ผิดปกติ และทำให้รู้สึกอยากอาเจียนได้ง่ายขึ้น เช่น อาหารไขมันสูง อาหารทอด อาหารรสจัด หรือมีกรดสูง เปลี่ยนมาเป็นการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีนสูง และวิตามินบี 6 ที่มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการแพ้ท้องให้น้อยลง เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้น วิตามินบี 6 อาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี ซึ่งพบมากในอาหารประเภทผลิตภัณฑ์นม เนื้อสัตว์ตับ ไข่ ปลา สัตว์น้ำประเภทมีเปลือก ถั่ว พืชประเภทถั่ว ข้าวโพด ผลไม้ผักสด และอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ขนมปัง หรือขนมปังกรอบ เป็นต้น พยายามอย่าเครียด คุณแม่ควรหาเวลาผ่อนคลาย ว่าง ๆ คุณอาจจะนอนแช่น้ำอุ่นในอ่าง หรือนอนนิ่ง ๆ ฟังเพลงสบาย ๆ ลองเปิดใจพูดคุยกับสามีถึงเรื่องที่คุณกังวล หรือลองหากิจกรรมเพลิน ๆ ทำ เช่น อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ เล่นเกม ปลูกต้นไม้ เป็นต้น สวมเสื้อผ้าที่สบายตัว การสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ง่ายขึ้น ดังนั้น คุณแม่ควรเลือกสวมใส่เสื้อที่สบายตัว เนื้อผ้าระบายอากาศได้ดีค่ะ
อาการแพ้ท้องเป็นอย่างไร อยากอาเจียน คุณแม่จะรู้สึกอึดอัดท้องและหน้าอกมากจนต้องอาเจียนออกมา เมื่ออาเจียนออกมาตอนท้องว่างและไม่มีอะไรออกมา คุณแม่จะรู้สึกทรมานมาก (บางคนถึงกับต้องยอมกินทั้งที่ไม่อยากกิน เพราะหากไม่มีอะไรตกถึงท้องก็จะรู้สึกคลื่นไส้อยู่ตลอดเวลา) เหม็นไปหมด อาการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติไม่มั่นคง ทำให้คุณแม่อาจรู้สึกไม่สบายในทันทีเมื่อได้กลิ่นเหม็น ๆ เช่น บางคนอาจรู้สึกไม่ชอบกลิ่นอาหาร เช่น เนื้อ กลิ่นกระเทียม กาแฟ กลิ่นน้ำหอมที่เคยชอบกลับไม่ชอบ บางทีก็รู้สึกเหมือนกลิ่นคุณพ่อ แต่บางทีก็รู้สึกหอมมากกับบางสิ่ง เช่น กลิ่นหุงข้าว กลิ่นไอน้ำจากของต้ม เหนื่อยง่าย รู้สึกเหน็ดเหนื่อย อยากนอนหลับตลอดเวลา เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้นมีผลทำให้กล้ามเนื้อในร่างกายคลายตัวเหมือนยากล่อมประสาท ภายในร่างกายมีการเผาไหม้อาหารสำหรับทารกตัวน้อยมากขึ้น ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงและสูญเสียพลังงานมากขึ้น ถ้าคุณแม่ได้พักผ่อนก็จะสบายขึ้น อยากกินอะไรแปลกๆ บางครั้งคุณแม่อาจอยากกินอาหารแปลก ๆ เช่น อาหารที่มีรสเปรี้ยวอย่างมะม่วง มะกอก มะดัน ฯลฯ หรือจู่ ๆ ก็ไม่สามารถกินของที่ตัวเองเคยชอบได้ และบางครั้งก็อยากกินของที่ไม่เคยชอบอย่างมาก แต่คุณแม่บางรายก็ไม่อยากจะกินอะไรเลยก็มี ซึ่งอาจเป็นเพราะมีอาการขมเฝื่อนในปาก เพราะร่างกายเปลี่ยนไป ทำให้กินอาหารไม่อร่อย ปวดแสบลิ้นปี่ ในช่วงที่คุณแม่มีอาการแพ้ท้องและอาเจียนบ่อย ๆ อาจมีอาการแสบบริเวณลิ้นปี่เกิดขึ้นตามมาได้ เพราะน้ำย่อยที่อาเจียนออกมาทำให้แสบหลอดอาหารและคุณแม่อาจมีความรู้สึกขมที่ลิ้น รู้สึกเจ็บปวดในอก และอาจกระจายถึงคอ จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเจ็บคอและมีอาการไอเรื้อรังได้ นอกจากนี้อาการปวดแสบลิ้นปี่ยังอาจเกิดจากการที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารได้รับผลกระทบ จึงอาจมีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารและระคายเคืองหลอดอาหารจนทำให้คุณแม่รู้สึกแสบที่ลิ้นปี่ได้ อารมณ์แปรปรวน รู้สึกหงุดหงิด และอาจปวดศีรษะบ่อยขึ้น แต่ไม่รุนแรงมากนัก ง่วงนอนตลอดเวลา คุณแม่บางคนอาจจะรู้สึกว่าร่างกายเหนื่อยล้า นอนเท่าไรก็ไม่เต็มอิ่ม
อาการแพ้ท้อง เป็นยังไง อาการแพ้ท้อง เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการ คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียมากกว่าปกติ และจะเริ่มแสดงอาการขึ้นเมื่ออายุครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 3 สำหรับสาเหตุของการเกิดอาการแพ้ท้องนั้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ส่วนใหญ่มักเชื่อว่าเป็นผลมาจากร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนเอชซีจี (HCG – Human chorionic gonadotropin) ที่รกสร้างสูงขึ้น
เริ่มแพ้ท้องวีคที่เท่าไหร่ อาการแพ้ท้อง จะเริ่มพบในช่วงไตรมาสแรก ประมาณสัปดาห์ที่ 6 บางคนอาจจะรู้สึกเร็วกว่านั้นค่ะ หรือไม่ก็กว่าจะรู้อีกทีในช่วงสัปดาห์ที่ 12-16 ของการตั้งครรภ์ก็ได้ ส่วนใหญ่คุณแม่จะรู้สึกแพ้ท้องหนักมากในช่วงสัปดาห์ที่ 8-9 ของการตั้งครรภ์ แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะคุณแม่บางคนกลับไม่รู้สึกแพ้ท้องเลยก็มีค่ะ หรือไม่ก็แพ้ท้องยาวไปจนคลอดเลยก็มี
ลองไปหาหมอไหมคะ เผื่ออาหารพิษ ปกติจะแพ้ช่วงไตรมาแรก บางคนก็แพ้ตั้งแต่ท้องจนคลอด แต่ถ้าอยู่ดีๆมาแพ้เอาไตรมาสสุดท้าย อยากให้ไปหาหมอจังค่ะ
Winter ❄️