ตอนนี้มีหลานแรกเกิดอายุ สี่ เดือนค่ะ ควรจะแนะนำให้กิจกรรมเสริมพัฒนาการอะไรบ้างให้คุณแม่ของเด็กดีค่ะ

3 ตอบกลับ
undefined profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

เด็กวัยนี้ควรกระตุ้นพัฒนาการเรื่องการสัมผัส(sensory)ให้มาก เพื่อกระตุ้นให้สมองได้แตกเส้นใย ทำให้เกิดการเรียนรู้ และความต้องการที่จะสำรวจ ประกอบกับวัยนี้จะชอบ้อามือเข้าปาก เพราะเป็นการสัมผัสที่น้องคุ้นเคยด้วยค่ะ... สำหรับของเบ่นที่กระตุ้นให้เกิดพัฒนาการ สามารถประยุกต์ได้เองดังนี้ค่ะ เพ็ชรสังข์ ทารกแรกเกิด - 1 ปี ของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัย 0-4 เดือน ของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ เด็กวัย 0-4 เดือน ของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ เด็กวัย 0-4 เดือน ของเล่นหรือการเล่นมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างมาก ถือว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต ดังนั้นถ้าพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูได้เข้าใจและสามารถนำของเล่นหรือกิจกรรมการเล่นไปใช้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ทักษะพัฒนาการและการเรียนรู้เด็กจะก้าวไปอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเด็กมีพื้นฐานทางพัฒนาการที่ดีและเหมาะสมกับวัย เด็กจะสามารถนำประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ ความหมายของการเล่น การเล่นเป็นกิจกรรมการเรียนรู้และเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการรับรู้ที่ดี ตลอดทั้งให้เด็กได้เรียนรู้ตัวเองและบุคคลอื่นโดยไม่รู้ตัว และนอกจากนี้การเล่นยังมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง และระบบประสาทอีกด้วย ประโยชน์ของการเล่น ช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการในทุกด้าน ช่วยเสริมสร้างการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา เสริมสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ช่วยพัฒนาความสามารถในด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะคำศัพท์ ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง ช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีทางสังคม เช่น การแบ่งปัน (sharing) การผลัดเปลี่ยน (turn taking) การช่วยเหลือ (co-operation) การอดทนต่อการรอคอยความยืดหยุ่น (flexibility) ช่วยเสริมสร้างให้เด็กรู้จักตนเองได้ดีขึ้นซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ได้กระทำ ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดี ช่วยพัฒนาและส่งเสริมบทบาททางเพศ และบทบาทสมมติ ช่วยพัฒนาและเสริมสร้างความสนใจและสมาธิ พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กวัย 0-1 ปี เด็กวัยนี้เรียนรู้ผ่านการเล่น และเรียนรู้ผ่านทางการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตาดู หูฟัง จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส และผิวหนังรับสัมผัส ในวัยนี้เด็กมักชอบนำของทุกชนิดเข้าปาก โดยใช้ปากในการสำรวจของนั้น ๆ ทั้งดูด เลีย อม พ่อแม่ควรส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ทักษะเหล่านี้โดยหาของเล่นที่มีขนาดเหมาะมือ น้ำหนักเบา ขนาดไม่เล็กจนเกินไป ปลอดภัย ล้างทำความสะอาดง่าย เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะในการใช้มือและตาประสานกันในการคว้าจับ เขย่า เอาเข้าปาก พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูไม่ควรดึงมือหรือของเล่นออกจากปากเด็ก เพราะจะทำให้เด็กหงุดหงิด อารมณ์เสีย และขาดโอกาสในการใช้ปากสำรวจเพื่อการเรียนรู้ และที่สำคัญพ่อแม่ควรพูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์กับลูกขณะชี้ชวนให้ลูกเล่นอีกด้วย อุปกรณ์ของเล่นและเกมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กวัย 0-1 ปี วัสดุอุปกรณ์ / เกม - วงแหวนที่มีลักษณะพื้นผิว แตกต่างกันอาจเป็นพลาสติกแข็ง ยางนิ่ม หรือ ผ้า ฯลฯ (อายุ 3-8 เดือน) ประโยชน์ เด็กวัยนี้มักนำของเล่นเข้าปาก ใช้ปากในการดูด อม เลีย ใช้เหงือกย้ำ กัดเล่น เพื่อฝึกความแข็งแรงของเหงือก และยังอาจสามารถลดอาการเจ็บขณะที่ฟันของเด็กวัยนี้กำลังขึ้นได้ โดยนำวงแหวนพลาสติกยางไปแช่ตู้เย็น ความเย็นจากยางจะลดอาการเจ็บได้ขณะที่เด็กกัดเล่น วัสดุอุปกรณ์ / เกม - โมบายพวงวัสดุที่เป็นรูปสัตว์หรือ ดอกไม้ ที่มีสีสันสดใส แขวนไว้ที่หัว เตียงหรือเปล ซึ่งอาจมีเสียงดนตรี ประกอบด้วย (อายุ 3-5 เดือน) ประโยชน์ เพื่อฝึกการใช้สายตาในการมองวัตถุขณะเคลื่อนไหว ขณะที่เด็กนอนเล่นอยู่บนเตียง แขวนโมบายอยู่เหนือศีรษะเด็กเพื่อให้เด็กได้ใช้สายตามองดูขณะของเล่นแกว่งไปมา เด็กจะสนใจมองดูการเคลื่อนไหวของวัตถุ และยังสามารถฝึกการฟังเสียงดนตรีของเครื่องเล่นอีกด้วย วัสดุอุปกรณ์ / เกม - ตุ๊กตายางผิวหยาบหรือนิ่ม อาจทำ จากผ้าหรือพลาสติกยาง ซึ่งอาจบีบ มีเสียง / ไม่มีก็ได้ (อายุ 4-12 เดือน) ประโยชน์ เพื่อฝึกคว้าจับและสัมผัส โดยใช้ของเล่นที่มีพื้นผิวสัมผัสที่ต่างกัน เด็กวัยนี้ชอบจับ สัมผัส ลูบ คลำ บีบเล่น หรือโยนเล่น กลิ้งเล่น และฝึกการฟังเสียงต่าง ๆ กันของ ของเล่นขณะบีบ เขย่า เคาะ ตลอดทั้งฝึกจับของเล่นเปลี่ยนมือได้อีกด้วย วัสดุอุปกรณ์ / เกม - เครื่องเขย่าให้เกิดเสียง ได้แก่ กรุ๋งกริ๋ง กระดิ่ง ซึ่งอาจมีขนาดและ น้ำหนักที่แตกต่างกันตามความ เหมาะสมของเด็กแต่ละคน (อายุ 3-12 เดือน) ประโยชน์ เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือในการจับและคว้าของเล่น การฟังเสียงของของเล่นที่มีความแตกต่างกัน เด็กวัยนี้ชอบคว้า จับ เขย่า เคาะของเล่นเพื่อให้เกิดเสียงต่าง ๆ รวมทั้งสามารถกระตุ้นให้เด็กได้สนใจมองขณะที่เด็กมีกิจกรรมในการจับเขย่า เคาะเล่นอีกด้วย ขอขอบคุณ ที่มา : ประภาศรี นันท์นฤมิต หน่วยพัฒนาการและเจริญเติบโตภาควิชากุมารเวชศาสตร์ รพ.จุฬา

อ่านเพิ่มเติม

คุณพ่อคุณแม่ควรกระตุ้นลูกด้วยการให้เล่นสิ่งของที่มีผิวสัมผัส หรือมีสีสัน ระวังเรื่องของเล่นที่ลูกชอบเอาเข้าปากควรทำความสะอาดอยู่เสมอ คุณแม่ลองให้ลูกเล่นกับกระจก ลูกจะคิดว่ามีเพื่อนเล่นวัยเดียวกัน

Promo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-6248)

คำถามที่เกี่ยวข้อง