บทความดีๆ เอามาฝากแม่ๆค่ะ อย่าเครียดกันนะคะ

ความเครียดที่รุนแรงจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของรักจังได้มาก โดยอาจะทำให้เขาหลงลืมได้ง่าย, มีอารมณ์รุนแรง, มีปัญหาทางสุขภาพจิตอื่นๆ สารต่างๆ ที่คุณแม่ได้รับตลอดช่วงให้นมก็สามารถส่งผ่านไปถึงรักจัง และสร้างปัญหาทางสุขภาพจิตในอนาคตให้กับเขาได้เช่นกัน ความเครียดอันตรายอย่างไร? ความเครียดที่มากเกินไปส่งผลต่อระบบต่างๆ ในสมองและอวัยวะภายในร่างกายได้อย่างไม่น่าเชื่อ เวลาที่คุณแม่เครียด ร่างกายจะสั่งการให้ตัวเองรับมือกับความเครียดนั้นโดยการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, และฮอร์โมนความเครียด เช่น คอร์ติซอล ในเวลาที่เครียดอย่างรุนแรง ในกรณีที่คุณแม่มีความเครียดคงอยู่นานเกินปกติ หรือในช่วงเวลาที่ไม่สามารถได้รับกำลังใจจากคนรอบข้างที่จะช่วยเยียวยาได้ ระบบภายในร่างกายที่ปรับตัวให้เข้ากับความเครียดที่นานเกินปกตินี้ จะท่วมท้นจนส่งผลเสียที่เป็นพิษกับร่างกายของคุณแม่เอง ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า ความเครียดที่เป็นพิษ ความเครียดที่เป็นพิษทำลายการพัฒนาโครงสร้างของสมองได้โดยตรง การได้สัมผัสความเครียดที่รุนแรงนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย ส่งผลกระทบต่อทั้งการเรียน, นิสัย และสุขภาพของเราไปตลอดทั้งชีวิต และถ้ารักจังได้รับความเครียดที่เป็นพิษนี้มากเกินไป รากฐานของเขาจะไม่แข็งแรงและสมองก็อาจจะถูกทำลายโดยไม่มีทางแก้ไขได้อีก รับมืออย่างไรดี? คุณแม่ควรป้องกันไม่ให้รักจังต้องเจอกับสถานการณ์ที่มีความเครียดสูงในช่วงแรกของชีวิต และปกป้องเขาจากใครก็ตามที่อาจทำร้ายเขาได้ การเฉยเมยหรือ การทอดทิ้ง ก็เป็นบ่อเกิดของความเครียดชนิดหนึ่ง ถ้าคุณแม่ต้องเจอสถานการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น หากรักจังไม่สบายและต้องมีขั้นตอนรักษาที่จะทำให้เขาเจ็บ คุณแม่ก็ควรที่จะอยู่กับเขาและคอยให้กำลังใจเขา การได้รับกำลังใจจากคนใกล้ชิดที่เขาไว้ใจ และรู้สึกว่าพึ่งพาได้สักคนก็ทำให้ความเครียดลดลงไปได้มากทีเดียว เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่มากๆ สำหรับเด็ก หากคุณแม่กำลังมีปัญหากับคุณพ่อ หรือมีปัญหาด้านการเงิน อย่าลืมที่จะมองหาความช่วยเหลือรอบๆ ตัว บางทีปู่ย่าตายายก็อาจเป็นตัวช่วยให้รักจังเติบโตขึ้นได้โดยไม่ได้รับความเครียดมากจนเกินไป ช่วง 3 ปีแรกของชีวิตเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของทุกๆ คน เราต้องช่วยกันทำทุกวิถีทางที่จะปกป้องเขาให้พ้นจากอันตราย แม้ว่าภัยร้ายบางอย่างอาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่มันก็อาจส่งผลอย่างร้ายแรงได้ในอนาคต รับรองโดย: พญ. วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ ที่มา: Encyclopedia on Early Childhood Development (http://www.child-encyclopedia.com/brain/according-experts) Center on the Developing Child Harvard University (https://developingchild.harvard.edu/science/key-concepts/toxic-stress)

2 ตอบกลับ
undefined profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

ขอบคุณค่ะแม่ที่แชร์บทความดีๆมาให้อ่าน

ขอบคุณค่ะ

คำถามที่เกี่ยวข้อง