มีคุณแม่หลายท่าน inbox มาถามหมอ ด้วยความกังวลใจ เกี่ยวกับเรื่อง #รกเกาะต่ำ รกเกาะต่ำ คือ ภาวะที่ #รกเกาะที่ตำแหน่งปากช่องคลอด (ใกล้ปากช่องคลอด หรือ คลุมทั้งหมด) ** การวินิจฉัย มีวิธีเดียว คือ การอัลตร้าซาวด์ ค่ะ ** ตามมาตรฐานทางการแพทย์ .. คุณแม่ส่วนใหญ่ได้รับการอัลตร้าซาวด์ อย่างน้อย 1 ครั้ง ทำให้ การวินิจฉัย "ภาวะรกเกาะต่ำ" พบได้มากขึ้น (ในอดีต คนท้องจะได้รับการอัลตร้าซาวด์เมื่อมีข้อบ่งชี้ เท่านั้น) ข้อเท็จจริง คือ .. ▪ รก สามารถ เคลื่อนขึ้นได้ระหว่างการตั้งครรภ์ ▪ การเกิดภาวะนี้ ไม่สามารถป้องกันได้* ▪ ความสำคัญ คือ เมื่อได้รับการวินิจฉัย .. ต้องมีการตรวจติดตาม เพื่อวางแผนการคลอด ▪ สังเกตอาการ เลือดออก/มดลูกบีบตัวถี่ .. ควรรีบไปรพ. อย่างทันท่วงที ▪ หากมีความผิดปกติอื่นร่วม เช่น เนื้องอกมดลูก, ภาวะรกเกาะแน่น .. คุณหมอที่ดูแล จะเป็นคนที่ให้คำแนะนำได้ดีที่สุด** ค่ะ สำหรับ คุณแม่ที่ไม่มีเลือดออก .. >> ควรทำใจให้สบาย ไม่เครียดจนเกินไป และ ดูแลตัวเอง เหมือนการตั้งครรภ์ปกติ นะคะ การดูแลตัวเอง 《เพิ่มเติม》เพื่อป้องกันเลือดออก .. ▪ ห้าม มีเพศสัมพันธ์ ▪ ห้าม สวนล้างช่องคลอด หรือ สวนอุจจาระ ▪ หลีกเลี่ยง การยกของหนัก, เกร็งหน้าท้อง, เบ่งอุจจาระ, ท้องเสีย หรือ เดินขึ้นลงบันไดบ่อยๆ ▪ เมื่อมี "เลือดออกทางช่องคลอด" .. ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ ให้เร็วที่สุด ส่วนใหญ่ ถ้าไม่มีเลือดออก"มาก" ระหว่างตั้งครรภ์ .. >> เด็กในครรภ์ มักจะ ไม่มีปัญหา (รกเกาะต่ำ ไม่เพิ่มความเสี่ยงเรื่อง ความพิการของทารก) การพบรกเกาะต่ำ ในอายุครรภ์น้อย เมื่อครบกำหนด .. >> ส่วนใหญ่ รกจะอยู่ในตำแหน่งปกติ (คุณแม่ มักจะ ได้รับการตรวจติดตามช่วง ไตรมาส 3) ** หากมีรกเกาะต่ำจนถึงวันคลอด จำเป็น #ต้องผ่าตัดคลอด เท่านั้น ** ความสำคัญที่สุด เมื่อทราบว่ามีภาวะนี้ คือ .. #สังเกตอาการเลือดออก/มดลูกบีบตัวถี่ และ #ประคับประคองให้น้องคลอดในอายุครรภ์ที่ครบกำหนด ค่ะ . . คลิป: “รกเกาะต่ำ” อันตรายหรือไม่? ดูแลอย่างไร? >> https://youtu.be/BYodYeua-eU ================================== #หมอนุ่น พญ.ปนัดดา บรรยงวิจัย #คนท้องก็ต้องสวย Youtube: DrNoon Channel
มีโอกาสค่ะแม่
Pawina Trisat