ภาวะรกเกาะต่ำ

ใครเคยมีประสบการณ์ภาวะรกเกาะต่ำบ้างคะเป็นยังไงบ้าง. แม่บ้านนี้ตรวจตอน 20 วีค กังวลมากคะ

5 ตอบกลับ
undefined profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

อาการของรกเกาะต่ำ ความผิดปกติของรกเกาะต่ำจะไม่กระทบกระเทือนต่อการตั้งครรภ์ในระยะแรก ๆ แต่เมื่อคุณแม่เข้าสู่ระยะใกล้คลอด มดลูกจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมาก ปากมดลูกจะเริ่มบางและยืดขยายออก จึงทำให้รกที่เคยเกาะแน่นมีรอยปริและเกิดแยกตัวจากบริเวณปากมดลูกซึ่งเป็นตำแหน่งที่รกเกาะ คุณแม่จึงมีเลือดออกทางช่องคลอดเป็นพัก ๆ โดยที่ไม่มีอาการเจ็บครรภ์หรือปวดเจ็บในท้องแต่อย่างใด และมดลูกก็ยังนุ่มเป็นปกติ โดยมากมักจะเกิดเมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ 7-8 เดือนขึ้นไป หรือในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ (แต่อาจมีข้อยกเว้น บางคนอาจมีอาการเร็วกว่านี้ เช่น 6 เดือน 5 เดือน หรืออาจต่ำกว่าก็ได้) ซึ่งในระยะแรกหรือในระยะที่เป็นไม่มากเลือดจะออกน้อยและหยุดไปได้เอง ทารกสามารถคลอดได้เองตามปกติ แต่ถ้ารกเกาะต่ำมากหรือไปขวางปากมดลูก อาจทำให้คุณแม่ตกเลือดมาก (มีลักษณะเป็นเลือดแดงสดไหลออกจากช่องคลอดเป็นพัก ๆ ในปริมาณมาก) จนเกิดภาวะช็อกได้ หรือทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนและเสียชีวิตในครรภ์ได้ แต่คุณแม่บางคนก็มีเลือดออกมากเฉพาะเมื่อเข้าสู่ระยะการเจ็บท้องคลอด โดยไม่มีเลือดออกมาก่อนก็มี หรือบางรายก็ไม่มีเลือดออกเลยครับจนกระทั่งไปผ่าคลอด

อ่านเพิ่มเติม

โดยภาวะนี้สามารถแบ่งระดับความรุนแรงออกได้เป็น 4 ระดับ (จากน้อยไปหามาก) คือ รกเกาะบริเวณด้านล่างแต่ไม่คลุมปากมดลูก (Low lying Placenta Previa) เป็นระดับที่ไม่อันตรายมาก มีความรุนแรงน้อยที่สุด คืออยู่ใกล้ ๆ ปากมดลูกในระยะ 2-5 เซนติเมตร คุณแม่บางรายสามารถคลอดลูกได้เองตามธรรมชาติ อาจจะมีเลือดออกไม่มากหรือไม่มีเลือดออกก่อนคลอดเลยก็ได้ รกอยู่ขอบปากมดลูกด้านใน (Marginal Placenta Previa) เป็นระดับที่รกเข้ามาวางอยู่บริเวณบนขอบปากมดลูก มักลงเอยด้วยการผ่าตัดทำคลอด แต่อาจจะเสียเลือดไม่มากเท่ากลุ่มถัดไป รกคลุมปากมดลูกเพียงบางส่วน (Partial Placenta Previa) ในระดับรกจะคลุมปากมดลูกเพียงบางส่วนและไม่ปิดสนิท ถ้าปล่อยให้เจ็บครรภ์คลอด ปากมดลูกที่ขยายมากขึ้นอาจดึงให้รกขยับสูงขึ้นและอาจไม่ขวางการคลอด มักจะทำให้เลือดออกมาก แพทย์จึงต้องผ่าตัดทำคลอดเช่นกัน รกคลุมปากมดลูกด้านในทั้งหมด (Complete Placenta Previa) เป็นระดับที่รุนแรงที่สุด เพราะรกปิดปากมดลูกไว้ทั้งหมด แพทย์ต้องผ่าตัดทำคลอดสถานเดียว มีโอกาสผ่าคลอดก่อนกำหนดสูงและเสียเลือดได้มาก บางรายอาจถึงขั้นต้องตัดมดลูกกันเลยทีเดียว

อ่านเพิ่มเติม

ภาวะรกเกาะต่ำ รกเกาะต่ำ หรือ ภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta previa) หมายถึง ภาวะที่รกเกาะอยู่ที่ผนังมดลูกส่วนล่าง (ใกล้กับปากมดลูก) หรือปิดขวางปากมดลูก ซึ่งโดยปกติแล้วสตรีตั้งครรภ์ทั่วไปรกควรจะเกาะอยู่ที่ผนังส่วนบนค่อนไปทางด้านหลังของโพรงมดลูก ทำให้ไม่มีสิ่งกีดขวางทางคลอดของทารก (บริเวณนี้เนื้อมดลูกจะหนา เลือดมาเลี้ยงได้ดี) แต่ถ้ารกเกาะอยู่บริเวณส่วนล่างของมดลูกหรือคลุมมาถึงด้านในของปากมดลูก จะเรียกว่า "ภาวะรกเกาะต่ำ" ซึ่งถือเป็นภาวะที่ไม่ปกติ (เลือดจะมาเลี้ยงบริเวณนี้น้อย จึงทำให้เด็กเจริญเติบโตช้าในครรภ์)

อ่านเพิ่มเติม

บ้านนี้ก็ตรวจเจอภาวะรกเกาะต่ำตอน20w ระวังตัวเองมากขึ้น อย่ายืนนาน อย่ายกของหนัก คุณหมอบอกเข้าเดือนที่6-7น่าจะลอยสูงขึ้นกว่านี้ คุณแม่อย่าเครียดนะคะ ทำใจให้สบายๆจ้า

Promo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-152515)