2 ตอบกลับ

ภาวะน้ำคร่ำน้อย  คือภาวะที่มีน้ำคร่ำน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร เมื่อวัดที่ช่วงอายุครรภ์ 32-36 สัปดาห์ หรือวัดหาค่า amniotic fluid index ได้ค่าน้อยกว่า 5 เซนติเมตร ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิด ได้แก่                - มีถุงน้ำคร่ำรั่ว                 - มีความพิการของทารก  เช่น ทารกไม่มีไต ทำให้ไม่สามารถผลิตปัสสาวะออกมาได้ จึงไม่มีน้ำคร่ำ                - ทารกมีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์                - มีการติดเชื้อของมารดาขณะตั้งครรภ์                 - มารดาใช้ยาแก้ปวดบางชนิด ซึ่งไปทำให้ไตทารกสร้างปัสสาวะลดลงเช่น ยา Indomethacin                 - มารดาได้รับสารพิษขณะตั้งครรภ์ เช่น บุหรี่ แอลกอฮอล์ สารเสพติด                 - บางครั้งไม่ทราบสาเหตุ                สำหรับผลที่อาจเกิดขึ้นจากการมีน้ำคร่ำน้อย ได้แก่                -  ทำให้ทารกเคลื่อนไหวไม่สะดวก อาจส่งผลให้ทารกเจริญเติบโตช้าได้                -  อาจทำให้สายสะดือถูกกดทับได้ง่าย มีโอกาสทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด หรือเสียชีวิตในครรภ์ได้                - อาจทำให้ปอดทารกไม่ขยายเท่าที่ควร ส่ง ผลให้เสียชีวิตในครรภ์ หรือมีปัญหาหลังคลอดได้                - ทำให้ทารกในครรภ์เกิดการคลอดก่อนกำหนด                 เมื่อตรวจพบแล้วว่ามีน้ำคร่ำน้อย และการตรวจอัลตราซาวด์ไม่พบทารกมีความผิดปกติอะไร แนะนำให้คุณแม่ไปตรวจตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอก็เพียงพอค่ะ การดูแลอย่างจากแพทย์ใกล้ชิด จะช่วยไม่ได้เกิดปัญหาดังกล่าวได้ส่วนหนึ่งค่ะ และหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น ทารกดิ้นปกติหรือไม่ มีน้ำคร่ำออกมาจากช่องคลอดหรือไม่ เป็นต้น หากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ทันที ส่วนการปฏิบัติตัวอื่นๆ ก็เหมือนกับการตั้งครรภ์ทั่วไป เช่น ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ห้ามดื่มแอลกฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่ ห้ามทานยาใดๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น

ตอนคลอดน้อง น้ำคล่ำไม่มีเลยคะ ได้ผ่าคลอด ลูกออกมาปกติ

คำถามที่เกี่ยวข้อง

คำถามยอดฮิต

บทความเกี่ยวข้อง