คือ ภาวะที่รกปิดขวางหรือคลุมปากมดลูกเพียงบางส่วนหรือปกคลุมทั้งหมด ซึ่งปกติรกจะอยู่ด้านบนของมดลูกและห่างจากปากมดลูก เมื่อถึงเวลาคลอด ปากมดลูกจะเปิดขยายออก ทำให้เส้นเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างรกและมดลูกฉีดขาด มีเลือดออกมากทั้งก่อนหรือในขณะคลอด เกิดความเสี่ยงต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ และอาจทำให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้ แพทย์จึงนิยมให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกเกาะต่ำทำการผ่าคลอด (Caesarean Section)  อาการของรกเกาะต่ำ รกเกาะต่ำอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงระหว่างปลายไตรมาสที่ 2 ถึงต้นไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ประมาณร้อยละ 30 และจะลดลงเหลือไม่ถึงร้อยละ 1 ในช่วงประมาณ 2-3 สัปดาห์ก่อนการคลอด โดยอาการที่พบคือมีเลือดสีแดงสดไหลออกมาจากทางช่องคลอดและมักไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ ในช่วงหลังของการตั้งครรภ์ เมื่อเลือดหยุดไหลแล้วอาจกลับมาไหลอีกในช่วง 2-3 วันหรือในช่วงสัปดาห์ต่อมา บางรายอาจมีอาการปวด เจ็บแปลบ หรือมีการบีบตัวของมดลูกร่วมด้วย หากเสียเลือดมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น ผิวซีด หายใจสั้น ชีพจรอ่อนหรือเต้นเร็วกว่าปกติ ความดันในเลือดลดต่ำลง โลหิตจาง เป็นต้น ทั้งนี้หากพบอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน ลักษณะการเกิดภาวะรกเกาะต่ำแบ่งได้ 4 ประเภท คือ Low-Lying รกจะอยู่บริเวณด้านล่างใกล้กับขอบของปากมดลูก จะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นถึงช่วงกลางของการตั้งครรภ์ แต่ยังคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ Marginal รกจะอยู่ที่บริเวณส่วนล่างของมดลูก และจะดันถูกปากมดลูก อาจทำให้เสียเลือดมากขณะคลอด มีโอกาสคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ หรืออาจต้องผ่าคลอด Partial รกจะปิดขวางหรือคลุมที่บริเวณปากมดลูกบางส่วน มักจะต้องผ่าคลอด Complete รกจะปิดหรือคลุมที่บริเวณปากมดลูกทั้งหมด เป็นสาเหตุให้คลอดทางช่องคลอดตามปกติไม่ได้ จึงต้องผ่าคลอด แต่อาจทำให้เสียเลือดมาก รวมถึงเกิดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด สาเหตุของรกเกาะต่ำ การตั้งครรภ์โดยปกติรกจะอยู่ด้านบนของมดลูกและห่างจากปากมดลูก ภาวะรกเกาะต่ำรกจะปกคลุมปากมดลูกเพียงบางส่วนหรือปกคลุมทั้งหมด ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถบอกได้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดภาวะรกเกาะต่ำ แต่เชื่อว่าอาจมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่ผิดปกติของทารกในครรภ์ การมีแผลที่ผนังมดลูก การผ่าคลอดในการตั้งครรภ์ในอดีต การขูดมดลูกที่มีสาเหตุมาจากการแท้งหรือการคลอดก่อนกำหนด การตั้งครรภ์แฝด หรือมีจำนวนทารกในครรภ์มากกว่า 1 คน การตั้งครรภ์ตั้งแต่ครรภ์ที่ 2 เป็นต้นไป มดลูกที่มีขนาดใหญ่หรือมีรูปร่างที่ผิดปกติ หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่
Chonlada