อารมณ์คนท้อง รับมือยังไง? ซึมเศร้าหลังคลอด ต้องอดทนอีกนานแค่ไหน? 😔

สวัสดีครับแม่ๆ และว่าที่คุณแม่ทุกคน 🤰🏻🤱🏻 แม่คลอดลูกแล้วเจอกับภาวะเครียดหลังคลอด อาการซึมเศร้าหลังคลอดกันหรือเปล่า? ส่วนคุณแม่ตั้งครรภ์ มีปัญหาเกี่ยวกับอารมณ์คนท้อง ร้องไห้ รู้สึกน้อยใจบ่อยๆ ไหมครับ? ถ้าเป็นเรื่องใจ ❤️ ไม่ว่าจะเป็นระยะตั้งครรภ์หรือภาวะหลังคลอด นักจิตวิทยายินดีให้คำปรึกษาครับ แม่ๆ ฝากคำถามไว้ในคอมเมนต์ได้เลย แล้วผมจะมาตอบในช่วงเวลากิจกรรมนะครับ 📅 วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 14.00-16.00 น. 📅 วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2565 เวลา 14.00-16.00 น. มาพูดคุยกับนักจิตวิทยากันได้นะครับผม 😊 🙋🏻‍♂️ เจษฎา กลิ่นพูล (เจ) จาก Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน 📌 อย่าลืมกดไลค์ กดติดตามโพสต์นี้ไว้ด้วยนะครับ เพื่อให้แอปแจ้งเตือนตอนที่กิจกรรมเริ่ม แล้วเจอกันครับผม 👍🏼 #TAPAskTheExpert ❓ ซึมเศร้าหลังคลอด นานแค่ไหน ถึงจะหายหรือดีขึ้น? ❓ คนท้องเป็นซึมเศร้า ลูกในท้องมีผลกระทบอะไรไหม? ❓ อารมณ์คนท้อง ร้องไห้ วิตกกังวล คิดมาก ขี้น้อยใจ แก้ไขได้อย่างไรบ้าง? ❓ คุณแม่ที่เคยมีประวัติโรคซึมเศร้าอยู่แล้ว มีโอกาสที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดกำเริบได้มากกว่าคนทั่วไปหรือไม่? 💡 คำถามยอดฮิตเหล่านี้ เจได้ตอบไว้หมดแล้ว สามารถตามอ่านในคอมเมนต์ได้เลยครับผม

อารมณ์คนท้อง รับมือยังไง? ซึมเศร้าหลังคลอด ต้องอดทนอีกนานแค่ไหน? 😔
72 ตอบกลับ
undefined profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

เพิ่งคลอดน้องได้2เดือนตอนนี้ยังไม่มีอาการซึมเศร้าหรือเครียดหลังคลอด ครอบครัวช่วยเหลือดีมาก มีโอกาสเป็นซึมเศร้าหลังคลอด ในอนาคตไหมคะ ผ่านมาอ่านเจอแล้วเริ่มกังวลค่ะ

3y ago

อาการซึมเศร้าหลังคลอดจะพบได้ในช่วงที่เพิ่งคลอดได้ 7 วันครับ และจะหายไปได้เองภายใน 2 สัปดาห์ หากเกินกว่านั้นจะไม่เรียกว่าเป็นซึมเศร้าหลังคลอดแล้ว และหากไม่ได้เป็นอาการที่ต่อเนื่องมาจากเพิ่งเริ่มคลอดใหม่ๆ ก็จะไม่เรียกว่าโรคซึมเศร้าหลังคลอดครับ ยังไงก็ตาม คุณแม่ที่ผ่านช่วงซึมเศร้าหลังคลอดมาแล้วก็ยังคงมีโอกาสประสบกับอาการซึมเศร้าได้อยู่เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเปลี่ยนแปลงของชีวิตในช่วงนั้นๆ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย สภาพแวดล้อม คนรอบข้าง หรือแม้แต่ทัศนคติพื้นฐานของตัวเองที่ถูกกระทบกระเทือนได้หากเจอความเครียดครั้งใหญ่และไม่สามารถรับมือได้ ดังนั้นการรับมือที่ดีที่สุดจึงเป็นการตระหนักว่ามีความเสี่ยงตรงนี้อยู่ และมีสติอยู่เสมอครับว่าตอนนี้มีความเสี่ยงมากแล้วหรือยัง รวมทั้งอาจเช็คกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเป็นระยะหากพบว่ามีความเสี่ยงมากขึ้นหรือมีความเครียดที่จัดการไม่ได้ และประเมินตัวเองได้เบื้องต้นผ่านแบบสอบถามทางจิตวิทยาต่างๆ ของกรมสุขภาพจิตครับ