2 ตอบกลับ

ภาวะรกเกาะต่ำคืออะไร ? เมื่อมีการตั้งครรภ์ตัวอ่อนจะมีการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์จนมีขนาดใหญ่ เมื่อถึงระยะหนึ่งจะมีกลุ่มเซลล์ส่วนหนึ่งที่แยกพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนในครรภ์ ขณะที่เซลล์อีกกลุ่มจะพัฒนากลายไปเป็นรก ซึ่งมีหน้าที่ในการนำสารอาหารจากคุณแม่ส่งต่อให้กับทารก ขณะที่ทารกมีการเจริญเติบโตอยู่ในถุงน้ำคร่ำ รกก็จะเจริญเติบโตโดยเกาะติดอยู่กับผนังมดลูก และค่อยๆ ฝังลึกเข้าไปในผนังมดลูก ตำแหน่งที่รกเกาะติดกับผนังมดลูกมักอยู่ที่บริเวณด้านบนของมดลูก โดยค่อนไปทางด้านหลังเล็กน้อย แต่ในคุณแม่ตั้งครรภ์บางรายจะมีลักษณะของรกที่เกาะตรงส่วนล่างของมดลูก หรือคลุมที่ปากมดลูก จึงเรียกการเกาะของรกลักษณะนี้ว่า รกเกาะต่ำ(Placenta previa) ภาวะรกเกาะต่ำมีกี่แบบ ? มีการแบ่งลักษณะของรกเกาะต่ำเป็น 3 แบบใหญ่ๆ ตามความรุนแรง ดังนี้ รกเกาะต่ำคลุมปากมดลูกทั้งหมด รกปิดปากมดลูกทั้งหมดทำให้ทารกคลอดทางช่องคลอดไม่ได้ ต้องผ่าคลอดทารกออกมา รกเกาะต่ำคลุมปากมดลูกเป็นบางส่วน ปากมดลูกที่ขยายมากขึ้นอาจไปดึงให้รกขยับสูงขึ้น บางครั้งอาจไม่ขวางการคลอดของทารก แต่จะทำให้มีเลือดออกมาก ทำให้ต้องผ่าคลอดทารกออกมา รกเกาะต่ำบริเวณด้านล่างของมดลูกแต่ไม่คลุมปากมดลูก คือทารกสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ แต่ถึงแม่จะสามารถคลอดทารกทางช่องคลอดได้ ก็ทำให้เลือดออกมามากเช่นกัน แม่ท้องสามารถดูแลตัวเองได้อย่างไรบ้างเมื่อมีภาวะรกเกาะต่ำ ? ในเบื้องต้นหากพบว่าตัวเองมีเลือดออก ให้รีบไปพบแพทย์ที่ดูแลครรภ์ในทันที คุณแม่จะต้องนอนพักผ่อนให้มากๆ และระวังไม่ให้มีการกระทบกระเทือนต่อทารกในครรภ์ หลีกเลี่ยงการทำงานหนักทั้งนอกบ้าน และในบ้าน

อาจจะคลอดง่ายค่ะ ต้องระมัดระวัง

คำถามที่เกี่ยวข้อง

คำถามยอดฮิต

บทความเกี่ยวข้อง