5 ตอบกลับ

ทำไมต้องตรวจน้ำคร่ำ? การตรวจน้ำคร่ำจะสามารถบอกความผิดปกติเกี่ยวกับทารกได้ เช่นภาวะดาวน์ซินโดรม หรือความผิดปกติทางโครโมโซม ขั้นตอนการตรวจดังกล่าวถือเป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับทั้งตัวแม่และทารก แพทย์จึงมักแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมดังต่อไปนี้ทำการตรวจ: สังเกตเห็นความผิดปกติจากอัลตราซาวน์ มีประวัติคนในครอบครัวมีความพิการแรกเกิด เคยให้กำเนิดทารกที่มีความพิการแรกเกิด มีอายุ 35 ปีขึ้นไปในวันที่กำหนดคลอด

จาะน้ำคร่ำต้องมีอายุครรภ์กี่สัปดาห์ คนท้องที่ต้องการเจาะน้ำคร่ำ ต้องมีอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน อาทิ น้ำเดิน เลือดออก ติดเชื้อ หรือร้ายแรงถึงขั้น แท้งลูก คนท้องจึงไม่อาจเจาะน้ำคร่ำในช่วงอายุครรภ์ที่ต่ำกว่านี้ และนอกจากมีความเสี่ยงเรื่องภาวะแทรกซ้อนดังที่กล่าวมาแล้ว ขณะที่อายุครรภ์น้อย ๆ เซลล์ก็อาจไม่พอตรวจได้ด้วย

แม่บ้านนี้อายุ43 หมอบอกมีความเสี่ยงมากที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดมให้เจาะน้ำคร่ำ เพราะถ้าเจาะแล้วผลลูกเป็นดาวน์ซินโดมต้องเอาออกหรือจะเก็บไว้แล้วแต่แม่จะตัดสินใจแต่ถ้าไม่เจาะจะรับได้มั้ยถ้าลูกเกิดมาเป็นดาวน์ซินโดมแต่แม่ตัดสินใจไม่เจาะค่ะ ในเมื่อเขาเกิดมาแล้วจะเป็นยังไงแม่ก็จะเลี้ยง น้องคลอดตอน 39w แข็งแรงดี ครบอาการ 32 ตอนนี้น้อง ขวบครึ่งแล้วค่ะ

ขอบคุณมากนะจ๊ะมาช่วยให้คำแนะนำ ดีใจมากด้วยนะค่ะน้องก็มีความแข็งแรงดีครบสมบูรณ์ คนเป็นพ่อแม่ก็หวังจ้า

การเจาะน้ำคร่ำคืออะไร? การเจาะน้ำคร่ำ คือ การเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำจากถุงน้ำคร่ำเพื่อนำมาตรวจ แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กแทงเข้าทางช่องท้องเข้าไปยังมดลูกโดยดูจากอัลตราซาวน์ และเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำ (ปริมาณน้อยกว่า 1 ออนซ์) ส่งไปห้องแล็บเพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ตามความจำเป็นและความเสี่ยงที่แพทย์ต้องการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

ใช้เวลานานกี่สัปดาห์คะ ถึงจะทราบผล

แม่ๆส่วนใหญ่​ ที่เขาไม่อยากเสียใจกับภาวะผิดปกติของลูกน้อย​ เลือกเจาะจะได้สบายใจค่ะ😊😊เจาะน้ำคร่ำ​ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดค่ะ​ ไม่เจ็บด้วย

ขอบคุณมากนะค่ะ ที่เข้ามาช่วยให้คำแนะนำค่ะ

คำถามที่เกี่ยวข้อง

คำถามยอดฮิต

บทความเกี่ยวข้อง