ท้องลูกคนแรก

มีแม่ๆคนไหนเป็นพาหะทั้งพ่อและแม่บ้างคะ คุณหมอบอกว่าเสี่ยงต่ำ ให้เลือกตรวจวัดกรองดาวซินโดม ตรวจก็ได้ไม่ตรวจก็ได้ แล้วแต่เรา เคียดมากเลยคะ

6 ตอบกลับ
 profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

ธาลัสซีเมียชนิดที่รุนแรงมี 3 ประเภท Hemoglobin Bart’s hydrops fetalis เป็นชนิดที่รุนแรงที่สุด ผู้ป่วยจะซีด บวม ตับม้ามโต มีน้ำในช่องท้อง รกมีขนาดใหญ่ มักเสียชีวิตในครรภ์หรือหลังเกิดไม่นาน หญิงที่ตั้งครรภ์ทารกที่เป็นโรคนี้ อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น เช่น ครรภ์เป็นพิษ หรือตกเลือดหลังคลอดได้ Homozygous β-thalassemia or Beta-thalassemia major ผู้ป่วยมีอาการซีดมากตั้งแต่ขวบปีแรก ต้องรับเลือดเป็นประจำ ตับม้ามโต ตัวเหลือง ตาเหลือง มีโครงร่างใบหน้าเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะเฉพาะ เจริญเติบโตช้า และมีภาวะเหล็กเกิน ในกลุ่มนี้ผู้ป่วยจะมีอาการตอนอายุประมาณ 1-2 ปี นั่นคือ จะเริ่มมีอาการตัวซีด แต่หากได้รับเลือดตั้งแต่ตอนที่แม่กำลังตั้งท้อง เด็กจะมีหน้าตาเหมือนเด็กปกติทั่วไป แต่ไม่ว่าอย่างไร ผู้ป่วยเหล่านี้ก็ต้องได้รับการดูแลรักษาในระยะยาวต่อไป β-thalassemia/Hemoglobin E disease ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกันได้มาก บางคนมีอาการรุนแรงมากคล้ายผู้ป่วยโรคเบต้าธาลัสซีเมียเมเจอร์ ส่วนใหญ่มีอาการรุนแรงปานกลาง ซีด ต้องได้รับเลือดเป็นประจำ ผู้ป่วยบางรายซีดไม่มากและไม่เคยได้รับเลือด

อ่านเพิ่มเติม

ความเสี่ยงลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียและผู้มียีนแฝง (พาหะโรคธาลัสซีเมีย) สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติไปสู่ลูกหลานได้ อัตราเสี่ยงในการเป็นโรคหรือยีนแฝงในแต่ละครอบครัวจะเท่ากันทุกครั้งของการตั้งครรภ์ ในกรณีที่พ่อและแม่มียีนแฝงทั้งคู่ โอกาสลูกจะเป็นโรคเท่ากับ 25% โอกาสลูกจะมียีนแฝงเท่ากับ 50% และโอกาสลูกจะปกติเท่ากับ 25% ในกรณีที่พ่อหรือแม่มียีนแฝงเพียงคนเดียว โอกาสลูกจะมียีนแฝงเท่ากับ 50% แต่ไม่มีลูกคนใดเป็นโรคเลย ในกรณีที่พ่อและแม่ฝ่ายหนึ่งเป็นโรค และอีกฝ่ายหนึ่งมียีนแฝง โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเท่ากับ 50% โอกาสที่ลูกจะมียีนแฝงเท่ากับ 50% การป้องกันที่ดีที่สุด คือพ่อและแม่ควรตรวจร่างกาย หรือหญิงตั้งครรภ์ควรตรวจกรองภาวะที่มียีนโรคธาลัสซีเมียแฝงที่สำคัญ ได้แก่ แอลฟาธาลัสซีเมียแฝง เบต้าธาลัสซีเมียแฝง ฮีโมโกลบินอีแฝง และโฮโมซัยกัสฮีโมโกลบินอี หากหญิงตั้งครรภ์มียีนธาลัสซีเมียแฝง แนะนำให้รีบพาสามีมาตรวจด้วย

อ่านเพิ่มเติม

พ่อแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย ลูกเสี่ยงตั้งแต่อยู่ในท้อง! นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์ สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3 อธิบายถึงธาลัสซีเมีย ว่า โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคเลือดจางชนิดหนึ่ง พบมากในแถบเอเชีย รวมถึงประเทศไทย โรคเลือดจางธาลัสซีเมียนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้น พ่อแม่ที่เป็นโรคหรือพาหะของโรค สามารถส่งภาวะเลือดจางธาลัสซีเมียไปยังลูกในครรภ์ได้ พ่อแม่เป็นโรคหรือพาหะธาลัสซีเมีย ลูกเสี่ยงอย่างไร ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคหรือพาหะของภาวะเลือดจางธาลัสซีเมียแบบเดียวกัน ทารกในครรภ์จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเลือดจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง มีผลทำให้ทารกในครรภ์เลือดจางและซีดมาก อาจถึงขั้นเสียชีวิตในครรภ์ หรือหลังการคลอด ทารกมีภาวะเลือดจางรุนแรง และต้องการการให้เลือดทดแทนไปตลอดชีวิต

อ่านเพิ่มเติม

ควรตรวจนะคะ ของเราก็ตรวจ ผลออกมาแล้ว 1ในล้าน ความเสี่ยงต่ำมาก คุณหมอบอกว่า หมอไม่เคยเห็นผลตรวจใครมี่เสี่ยงต่ำขนาดนี้ โชคดีมากๆเลย เราโล่งใจเลยค่ะ เรื่องพาหะ เราไม่เป็น แต่สามีเป็นพาหะ หมอบอกสบายใจได้ค่ะ

คนละอย่างกันค่ะ ถ้าพ่อแม่มีพาหะธารัสซิเมียลูกก็เสี่ยงเป็น ต้องตรวจเลือดค่ะ ดาวซิมโดมก็ต้องตรวจทุกคนค่ะ เพราะทุกคนมีความเสี่ยงหมด ต้องเจาะเลือดเจาะน้ำคล่ำค่ะ

เป็นพาหะ หรือ ไม่เป็นพาหะ ก็ตรวจการวัดกรองดาว นะคะ

คำถามที่เกี่ยวข้อง