ใช้แสงและเสียงดนตรีเบา ๆ กระตุ้น ผลการวิจัยพบว่าเด็กเคลื่อนตัวไปหาความอบอุ่น แสงสว่างและเสียง เนื่องจากประสาทการรับรู้ของลูกพัฒนาเต็มที่แล้วคุณสามารถกระตุ้นให้ลูกกลับตัวได้ผ่านการใช้เสียงเพลงและส่องไฟฉายไปบริเวณหัวหน่าว ประคบเย็นบริเวณเหนือมดลูก วิธีการนี้ใช้ร่วมกับวิธีที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ คุณสามารถใช้ถุงน้ำแข็ง หรือถั่วลันเตาแช่แข็ง ห่อด้วยผ้าขนหนูหรือผ้าเช็ดจานแล้วนำมาวางบนท้อง วิธีนี้น่าจะเพียงพอที่จะทำให้ลูกเคลื่อนตัวต่ำลงเพื่อไปหาบริเวณที่อุ่นกว่า คุณสามารถใช้วิธีนี้ช่วยขณะนอนแช่น้ำอุ่นในอ่างอาบน้ำก็ได้ เคลื่อนไหวร่างกาย พยายามทำตัวให้กระฉับกระเฉงอย่างน้อยวันละ 30 นาที สามารถช่วยให้เด็กกลับหัวได้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเดินหรือโยคะ
มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดทารกท่าก้น เช่น การตั้งครรภ์แฝด ปริมาณน้ำคร่ำที่มากหรือน้อยเกินไป การมีเนื้องอกมดลูกหรือมดลูกที่รูปร่างผิดปกติ ภาวะรกเกาะต่ำ และการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งสูติแพทย์สามารถตรวจครรภ์เพื่อบอกท่าของทารกในครรภ์ได้โดยการตรวจทางหน้าท้องเพื่อคลำท่าของทารก และอาจยืนยันท่าของทารกด้วยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ในกรณีที่ตรวจพบว่าทารกยังคงเป็นท่าก้นที่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ สูติแพทย์อาจทำการหมุนเปลี่ยนทารกจากท่าก้นให้เป็นท่าศีรษะจากภายนอก (external cephalic version) ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป ก่อนมีการเจ็บครรภ์คลอดหรือน้ำเดิน และไม่มีข้อห้ามในการคลอดทางช่องคลอด
ทำอย่างไรให้ลูกกลับหัว แช่น้ำอุ่น ลงไปนอนแช่น้ำอุ่นในอ่างอาบน้ำเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ลูกกลับหัว แต่ถ้าคุณไม่มีอ่างอาบน้ำให้ใช้สระว่ายน้ำแทน คุณสามารถว่ายน้ำหรือออกกำลังกายในน้ำเบา ๆ เพื่อให้ลูกกลับหัวก็ได้เช่นกัน นอนราบบนหลังแล้วยกสะโพกขึ้น นอนราบบนหลังแล้วยกสะโพกขึ้นสูงกว่าระดับหัวใจ ช่วยกระตุ้นให้ลูกค่อย ๆ เคลื่อนตัวออกจากเชิงกรานและกลับตัว คุณสามารถใช้หมอนรองสะโพกเพื่อช่วยให้คุณรู้สึกสบายมากขึ้น นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้หมอนรองบนพื้นและยกขาพาดเตียงได้เช่นกัน
ถ้าดิ้นต่ำๆยังไม่กลับนะคะแม่ ถ้ากลับน้องจะดิ้นสูงหน่อย เพราะขาจะอยู่ด้านบน
Paranee Yimnak