พูดยากค่ะ ถ้าเอาตรงๆก็ไม่มีผล แต่ถ้าพูดถึงความเป็นจริงของระบบประเทศเรา ก็อาจจะมีค่ะ เป็นเคสๆไป เป็นคนๆไป ถ้าเจอคนเยอะมากเรื่องอะนะคะ เด็กที่เกิด แต่หญิงที่ไม่ได้สมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฏหมายของหญิงนั้นตามป.พ.พ.มาตรา 1546 ดังนั้น ย่อมเป็นสิทธิของแม่เด็กที่จะแจ้งใส่ชื่อพ่อเด็กหรือไม่ก็ได้ โรงเรียนย่อมไม่มีสิทธิมาบังคับ เนื่องจากถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การรับราชการ ก็ต้องดูเป็นกรณีไป ว่ารับราชการอะไร อย่างข้าราชการพลเรือนสามัญและข้าราชการอื่นๆบางประเภท จะมีการดูคุณสมบัติด้านสัญชาติของผู้สมัคร ว่าเป็นสัญชาติไทยหรือไม่ โดยไม่ได้สืบไปถึงต้นตระกูล ค้นได้จาก พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 แล้ววิธีการคัดเลือกคนเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญของประเทศไทย คือการสอบภาค ก. ภาค ข.และภาค ค. ถ้าคุณสอบติดก็ได้เป็น ไม่ได้กล่าวถึงกรณีใช้เส้นสายแต่อย่างใด ดังนั้นไม่เกี่ยวเลยว่า ในใบเกิดจะมีชื่อพ่อหรือไม่ ส่วนกรณีของนักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนนายร้อย นักเรียนนายร้อยตำรวจ จะเคร่งครัดมาก คือผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิดและบิดามารดาผู้ให้กำเนิดมีสัญชาติไทยโดยการเกิดด้วย นั้นแปลว่าในใบเกิดต้องมีชื่อพ่อ เพื่อจะได้ตรวจสอบข้อมูลได้ เว้นแต่บิดาเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรหรือชันประทวน หรือเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้ แต่สำหรับคนไม่มีชื่อพ่อในใบเกิด หากยังอยากเป็นทหาร ตำรวจ ก็สามารถสมัครสอบในฐานะบุคคลภายนอกเพื่อเขารับราชการเป็นตำรวจหรือทหารชั้นประทวน ชั้นสัญญาบัตรได้ค่ะ
ไม่มีผลค่ะ เลิกกันแล้วจะได้ไม่ต้องไปขอคัดสำเนาด้วยค่ะ