มีวิธีการใดบ้างคะ ทีสามารถนำมาเป็นตัวช่วยในการสร้างเเละปรับอารมณ์ลูกให้มีความสมดุล เพราะรู้สึกว่าลูกจะเริ่มเอาเเต่ใจตัวเองมากขึ้นคะ?
ลองใช้วิธีการเลี้ยงลูกในเชิงบวก แทนการดุด่า หรือทำโทษเวลาที่ลูกทำตัวไม่น่ารักและเอาแต่ใจนะคะ เพราะธรรมชาติของเด็ก สมองส่วนหน้า ซึ่งเกี่ยวกับอารมณ์ พัฒนามาก่อนสมองส่วนหลังที่เกี่ยวกับด้านเหตุผลและการยับยั้งชั่งใจ ด้วยเหตึนี้จึงมีคำกล่าวว่าเด็กๆมักไม่มีเหตุผลค่ะ แต่เป็นเรื่องที่ไม่อยากถ้าพ่อแม่อธิยายให้เข้าใจ และตอกย้ำ ซ้ำเหตุผลเสมอลูกจะค่อยๆซึมซับและเป็นเด็กน่ารักในสายตาพ่อแม่ได้ค่ะ เพราะการเอาแต่ใจของลูกคือการเรียกร้องความสนใจจากแม่ อย่างแรกเวลาที่น้องเอาแต่ใจให้รีบต้นหาว่าสิ่งที่ทำให้ลูกเอาแต่ใจคือสิ่งไหน หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่อาจทำให้ลูกเอาแต่ใจ หากลูกร้องไห้โวยวาย ให้เข้าไปกอด ทำหน้านิ่งๆ ไม่แสดงให้เห็นว่าเรากำลังโกรธโดยยังไม่ต้องพูดอะไรเพราะเค้ายังไม่พร้อมรับฟัง เพราะการกอดจะช่วยให้ลูกสงบได้เร็ว เพราะอย่างน้อยก้แสดงว่ายังได้รับความสนใจจากพ่อแม่ และลูกจะรู้สึกไว้ใจ เค้าจะระบายสิ่งที่ต้องการออกมา เบื้องต้นรับฟังอย่างเดียว เมื่อเห็นว่าพร้อมที่จะฟังคำอธิบายก้ค่อยอธิบายถึงผลของการกระทำของลูกว่าเกิดผลอย่างไรบ้าง การร้องโวยวายทำให้ไม่มีความสุขอย่างไร และทำให้ไม่ได้รับอะไรบ้าง และลูกควรทำตัวอย่างไร เมื่อลูกทำดีแล้วก้ชมเชยเพราะเด็กชอบรับคำชมเชยจากพ่อแม่ค่ะ เพราะบางครั้งการลงโทษ หรือปล่อยให้อยู่คนเดียวอาจใช้ไม่ได้ผลกับเด็กบางคนในบางสถานการณ์ ต้องทดลองปรับเปลี่ยนวิธีการไปเรื่อยๆค่ะ
อ่านเพิ่มเติมส่วนตัวใช้วิธีการ time out ค่ะ เด็กในวัยที่สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้แล้วแต่ยังไม่รู้จักวิธีการบอกคุณแม่และยังไม่รู้จักควบคุมอารมณ์หากโกรธหรือเสียใจค่ะ เมื่อไรก็ตามหากลูกแม่เพนเริ่มไม่ฟังเหตุผลของแม่เพนแล้ว แม่เพนก็จะ time out ลูกค่ะ วิธีการ time out มีดังนี้ค่ะ 1. จัดสถานที่ที่ห่างไกลจากจุดที่ทำให้ลูกโกรธ (เช่นลูกทะเลาะแย่งของเล่นกับน้อง ก็ให้ไป time out ในมุมที่ไม่มีน้องและไม่มีของเล่น) ส่วนมากแม่เพนจะใช้มุมห้องค่ะ สถานที่ๆ time out จะต้องไม่มืดจนเกินไป และ ไม่มีของเล่นให้เล่นระหว่าง time out 2. ไม่ปล่อยให้ time out อยู่ในห้องคนเดียวค่ะ คุณแม่ต้องนั่งอยู่ห่างๆ เพื่อคอยดูว่าลูกจะไม่เดินไปไหนขณะ time out 3. ให้ลูกยืนหันหลังเข้ากำแพงหรือหันหน้าเข้ากำแพงก็ได้ค่ะ 4. เวลาในการ time out ให้กำหนดตามอายุ เช่นลูกอายุ 4 ขวบ ให้ time out 4 นาที 5. ไม่มีการดุด่า ตี หรือตะโกนเสียงดังใส่ลูกค่ะ หากลูกเดินหนีจากจุด time out ให้พูดให้ลูกเดินกลับไปค่ะ 6. เมื่อหมดเวลา time out แล้ว ช่วงนั้นลูกก็จะอารมณ์เย็นลงแล้ว ให้เรียกกลับมาพูดคุยค่ะ ว่าโดน time out เพราะอะไร ทำไมถึงโกรธ การกระทำของลูกผิดตรงไหน ควรจะแก้ไขอย่างไร แม่เพนใช้วิธี time out กับลูกตั้งแต่ลูกอายุ 2 ขวบค่ะ ตอนนี้ 5 ขวบแล้ว ก็ยังดื้ออยู่บ้างค่ะ แต่โดยรวมแล้วยังเชื่อฟังแม่เพนอยู่ค่ะ
อ่านเพิ่มเติมการที่จะช่วยให้น้องรู้จัก ปรับอารมณ์หรือควบคุมอารมณ์นั้น คุณพ่อคุณแม่และคนใกล้ชิดมีส่วนจะช่วยให้น้องสามารถควบคุมอารมณ์ได้มากหรือน้อยค่ะ ถ้าน้องเริ่มโวยวายกรีดร้อง ไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตาม คุณพ่อคุณแม่จำเป็นจะต้องใช้ความรักที่มีให้เขาเข้าช่วย เช่น ถ้าเค้าเริ่มโวยวายคุณพ่อหรือคุณแม่จำเป็นจะต้องเข้าไปกอดเพื่อจะให้เขาสงบสติอารมณ์และพูดคุยถึงสาเหตุว่าทำไมเขาถึงได้โวยวาย เราต้องทำให้บรรยากาศนั้นเบาลง ไม่ตึงเครียด แล้วเด็กก็จะสงบสติอารมณ์ได้ ถ้าบรรยากาศรอบข้างเสียงดังมากและมีคนอยู่เยอะแนะนำให้พาน้องไปในที่ที่สงบแล้วค่อยคุยกัน เพื่อหาเหตุว่าทำไมน้องโวยวายน้องจะได้สงบสติอารมณ์ได้ ลองเข้าไปศึกษาข้อมูลวิธีการ รักมือเด็กขี้โวยวายในเพจ theAsianparent.com ดูนะคะ มีข้อมูลมากมายที่น่าจะเป็นประโยชน์กับคุณแม่ค่ะ
อ่านเพิ่มเติมPromo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-7760)