เจ็บเต้านม

ปั้มนมออกแล้วก็ไม่หาย มีวิธิไหนทำให้หายเจ็บบ้างคะ

2 ตอบกลับ
undefined profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

ปัญหาการปั๊มนม การปั๊มนม ก็เหมือนการให้นมลูกน้อยจากเต้าซึ่งมันอาจไม่ใช่เรื่องง่ายๆอย่างที่หลายคนคิด ทางทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์รวบรวมเอาปัญหาที่พบบ่อย เรื่องการปั๊มนมของคุณแม่มาฝากกันครับ ปั๊มนม 1.ดื่มน้ำน้อยเกินไปทำให้น้ำนมน้อย ในน้ำนมของคุณแม่นั้นมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ถึงกว่า 90% จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า หลังจากคุณแม่ให้นมลูกในแต่ละครั้งแล้วนั้น ก็มักจะรู้สึกหิวน้ำอยู่เสมอ สำหรับคุณแม่ที่ต้องให้นมลูกนั้น ควรดื่มน้ำมากเป็นพิเศษเพื่อชดเชยปริมาณน้ำที่สูญเสียไปหลังจากการให้นม ซึ่งหากคุณแม่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ ก็อาจเกิดปัญหาเรื่องน้ำนมน้อยตามมาได้ครับ เว็บไซต์ dripdrop มีรายงานว่า โดยทั่วไปแล้ว เด็กแรกเกิดมีความต้องการปริมาณน้ำนมอย่างน้อยประมาณ 750 มิลลิลิตรต่อวัน ดังนั้นคุณแม่จึงควรดื่มน้ำในปริมาณปกติบวกกับปริมาณที่เสียไปจากการให้นมเป็นอย่างน้อยครับ และที่สำคัญ การผลิตน้ำนมจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ต่อเมื่อมีการนำน้ำนมออกจากเต้าอย่างสม่ำเสมอ อาจจะโดยการให้นมลูกจากเต้า หรือจากการบีบหรือปั๊มนมครับ ดังนั้น หากคุณแม่มีการปั๊มนมออกไปมากเท่าไร ก็อย่าลืมดื่มน้ำชดเชยเพิ่มไปด้วยนะครับ 2.เครื่องปั๊มนมไม่มีคุณภาพ หากคุณซื้อเครื่องปั๊มนมที่มีราคาถูกเกินไป ก็อาจทำให้คุณได้รับสินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานมาใช้งาน โดยเครื่องปั๊มนมราคาถูกและมีประสิทธิภาพต่ำกว่ามาตรฐานนั้น อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายอย่างเช่น มีเสียงดังเวลาปั๊มนม ปั๊มแล้วทำให้เกิดอาการเจ็บ หรืออาจทำให้หัวนมของคุณแม่เป็นแผลได้นะครับ อีกทั้งคุณควรพิจารณาเรื่องขนาดและประเภทของเครื่องปั๊มนม ว่ามีขนาดพอดีและตรงตามความต้องการของคุณหรือไม่ครับ แต่หากคุณไม่ต้องการซื้อเครื่องปั๊มนมมาใช้เอง คุณอาจหาเครื่องเช่าหรือยืม โดยสอบถามจากโรงพยาบาลที่คุณทำการฝากครรภ์ไว้ก็ได้นะครับ ติดตามปัญหาที่พบบ่อย เกี่ยวกับการปั๊มนมแม่ได้ในหน้าถัดไปครับ >>>> 3.ใช้เวลาในการปั๊มนมน้อยเกินไป ระยะเวลาในการปั๊มนมโดยปกติแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 20 – 30 นาทีต่อครั้ง หรือ10 – 15 นาที หากคุณใช้เครื่องปั๊มนมแบบคู่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วน้ำนมนั้นจะถูกผลิตอยู่ตลอดเวลาโดยขึ้นอยู่กับว่าเต้านมนั้นว่างหรือเต็ม แต่การผลิตน้ำนมจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ต่อเมื่อมีการนำน้ำนมออกจากเต้าอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหากใช้เวลาปั๊มนมน้อยเกินไปก็อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการผลิตน้ำนมได้ครับ 4.ไม่ได้วางแผน หรือวางแผนแล้วไม่ทำตาม คุณควรวางแผนการปั๊มนม และกำหนดเวลาสำหรับการปั๊มนมในแต่ละวัน แล้วทำตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้กระบวนการผลิตน้ำนมเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังจะช่วยเตือนไม่ให้คุณลืมปั๊มนมได้อีกด้วยครับ คุณแม่นักปั๊ม 5.ต้องการตัวช่วย สำหรับคุณแม่มือใหม่ทุกท่านคงเป็นเรื่องที่ยากพอสมควรในการที่ต้องดูแลตัวเองและดูแลลูกน้อยไปพร้อมๆกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณต้องปั๊มนมให้ลูกด้วยแล้ว การมีผู้ช่วยในการดูแลลูกอาจทำให้คุณมีเวลาในการปั๊มนมเพิ่มขึ้น คุณแม่อาจทำตารางเวลาที่ต้องปั๊มนมในแต่ละวันไว้ แล้วอาจหาคนมาช่วยดูแลเจ้าตัวน้อยในเวลานั้นๆ ถ้าจะให้ดี อาจให้คุณพ่อมือใหม่มาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อที่คุณแม่จะได้มีเวลาปั๊มนมให้ลูกน้อยอย่างเต็มที่ก็ได้นะครับ

อ่านเพิ่มเติม

เอาผ้าชุบน้ำอุ่นแล้วประคบค่ะ