10 ตอบกลับ
ต้องให้ใครเป็นผู้รับรองสถานะของครัวเรือน ผู้รับรองคนที่ 1 กรุงเทพมหานคร: ให้หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม ประจําสํานักงานเขต หรือประธานชุมชน หรืออาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) หรืออาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) เมืองพัทยา: ให้ประธานชุมชน หรืออาสาสมัครเมืองพัทยา หรืออาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ส่วนภูมิภาค (ในเขตเทศบาล หรือ อบต.): ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรืออาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรือประธานชุมชน ผู้รับรองคนที่2 กรุงเทพมหานคร: ให้ผู้อํานวยการเขตหรือข้าราชการที่ผู้อํานวยการเขตมอบหมาย เมืองพัทยา: ให้ปลัดเมืองพัทยา หรือข้าราชการที่ปลัดเมืองพัทยามอบหมาย ส่วนภูมิภาค (ในเขตเทศบาล หรือ อบต.): ให้ปลัดเทศบาลหรือข้าราชการ ที่ปลัดเทศบาลมอบหมาย หรือปลัด อบต. หรือข้าราชการที่ปลัด อบต. มอบหมาย ในกรณีที่ผู้รับรองคนที่ 1 และ 2 ไม่รับรอง ให้หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว รับรอง โดยดำเนินการ ดังนี้ กรณีที่ผู้รับรองดังกล่าวไม่รับรอง ขอให้ผู้รับรองคนนั้น ระบุสาเหตุการไม่รับรอง แจ้งความประสงค์ขอให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน ดําเนินการตรวจสอบและพิจารณาให้การรับรองสถานะของครัวเรือนผู้ปกครอง โดยนําแบบฟอร์มการลงทะเบียน (ดร.01 – ดร.02) ไปขอรับใบ “แบบคําร้องแจ้งความประสงค์ขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (ดร.8)” แล้วนำไปยื่นที่ดังต่อไปนี้ กรุงเทพมหานคร นำใบ (ดร.8/1) ไปยื่นคําร้องที่บ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพมหานคร ต่างจังหวัด นำใบ (ดร.8/2) ไปยื่นคําร้องที่บ้านพักเด็กและครอบครัวในจังหวัดนั้นๆ หลังจากบ้านพักและครอบครัว ตรวจสอบและพิจารณารับร้องและไม่รับร้องแล้ว ให้นำผลการพิจารณา พร้อมกับแบบฟอร์มการลงทะเบียน (ดร.01 – ดร.02) ไปยื่นยังที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 2562 กับสิ่งที่คุณควรรู้ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 2562 การจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดตามโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม ซึ่งในปัจจุบันคนท้องสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนได้แล้ว สำหรับในปีงบประมาณ 2562 จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2562 ค่ะ ผู้มีสิทธิ์ในการได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เด็กที่รับสิทธิ์ในปีงบประมาณ 2559 – 2561 (เด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2561) ได้สิทธิ์รับเงินต่อเนื่องเดือนละ 600 บาท จนอายุครบ 6 ปี เด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2561 แต่ไม่มีคุณสมบัติตามระเบียบ คือ มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยไม่เกิน 36,000 บาท ต่อคน ต่อปี (ตามประกาศเก่าทำให้ไม่มีสิทธิ์ได้รับเงิน) ซึ่งปัจจุบันได้ขยายเป็นรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน ต่อปี มีสิทธิ์ได้รับเงินนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 เดือนละ 600 บาท จนอายุครบ 6 ปี เด็กที่เกิดตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 ได้รับเงินเดือนละ 600 บาท จนอายุครบ 6 ปี ได้แก่ เด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562 และผู้ปกครองได้มายื่นขอรับสิทธิ์ภายในวันที่ 30 กันยายน 2562 จะได้รับสิทธิ์ด้วยเช่นกัน (หากไม่ได้ลงทะเบียนภายในวันที่ 30 กันยายน 2562 ก็ได้รับสิทธิ์เช่นกัน) เด็กเกิดตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป จะได้รับสิทธิ์ด้วยเช่นกัน ต้องไม่เป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือในการเลี้ยงดูบุตร * จากหน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ หรืออยู่ในความอุปการะของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ต้องอาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย หรืออยู่กับพ่อแม่ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรืออยู่กับแม่แต่ไม่ได้อยู่กับพ่อที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ(แม่เลี้ยงเดี่ยว) หรืออยู่กับพ่อที่ชอบด้วยกฎหมายแต่ไม่ได้อยู่กับแม่ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ(พ่อเลี้ยงเดี่ยว) สามารถเช็คสิทธิ์ ทางออนไลน์ได้ที่ csg.dcy.go.th
การรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02) กรณีที่ไม่ต้องรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02) พ่อและแม่เป็นผู้เลี้ยงดูเด็กแรกเกิด และเป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั้ง 2 คน แม่เป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และเป็นผู้เลี้ยงดูเด็กแรกเกิดคนเดียว ไม่ปรากฎพ่อที่ชอบด้วยกฏหมาย (แม่เลี้ยงเดี่ยว) พ่อเป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และเป็นผู้เลี้ยงดูเด็กแรกเกิดคนเดียว ไม่ปรากฎแม่ที่ชอบด้วยกฏหมาย (พ่อเลี้ยงเดี่ยว) กรณีที่ต้องรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02) พ่อและแม่เป็นผู้เลี้ยงดูเด็กแรกเกิด แต่ไม่ได้เป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั้ง 2 คน พ่อหรือแม่ ที่ไม่ได้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและอาศัยอยู่กับเด็กแรกเกิด หรือหญิงตั้งครรภ์ ที่ไม่ได้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อหรือแม่ เป็นผู้ที่เลี้ยงดูและอาศัยอยู่กับเด็กแรกเกิด และไม่ได้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แม่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่พ่อไม่ได้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และอาศัยอยู่กับเด็กแรกเกิด พ่อถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่แม่ไม่ได้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และอาศัยอยู่กับเด็กแรกเกิด
ทำไมยังไม่ได้รับเงิน หรือเงินไม่เข้าบัญชี บัญชีปิดไปแล้ว/ไม่พบเลขบัญชี > ให้คุณแม่เปิดบัญชีใหม่แล้วติดต่อกับจังหวัดที่ลงทะเบียนเพื่อเปลี่ยนบัญชีใหม่ ข้อมูลที่ดึงไปจ่ายไม่ถูกต้อง เช่น คีย์เลขบัญชีไม่ถูกต้อง/บัญชีผิดประเภท /วันเดือนปีเกิดไม่ถูกต้อง / เลขบัตรประชาชนเจ้าของบัญชีธนาคารไม่สัมพันธ์กับเลขบัญชีธนาคาร > ให้คุณแม่แจ้งผู้บันทึกข้อมูล เพื่อแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ไม่สามารถใช้บัญชีได้ เช่น การเปิดบัญชีที่มีเงื่อนไข ตัวอย่าง การเปิดบัญชีสำหรับเด็ก เมื่อเด็กอายุครบ 18 ปี ถึงสามารถเบิกได้ เคยสมัครพร้อมเพย์แล้วแต่ยกเลิก (กรณียื่นบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ 15 ธนาคาร) > ให้คุณแม่สมัครพร้อมเพย์กับบัญชีธนาคารที่แจ้งลงทะเบียนไว้ใหม่ ยังไม่มีการลงทะเบียนพร้อมเพย์ (กรณียื่นบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ 15 ธนาคาร) > ให้คุณแม่ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประจำตัวประชาชน สามารถขอผูกได้กับธนาคารที่แจ้งลงทะเบียนไว้ค่ะ ผูกพร้อมเพย์แล้วแต่แจ้งบัญชีธนาคารผิด > ให้คุณแม่ตรวจสอบว่าผูกกับธนาคารไหน เพราะการจ่ายเงินจ่ายตามเลขบัตรประจำตัวประชาชน
เงินจะเข้าเมื่อไหร่ จะรู้ยังไงว่าเงินเข้าแล้ว ธนาคารจะโอนเงินให้ผู้มีสิทธิผ่านทางพร้อมเพย์ และบัญชีเงินฝากธนาคาร ในวันดังต่อไปนี้ เดือน กรกฎาคม 2562: วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2562 เดือน สิงหาคม 2562: วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2562 เดือน กันยายน 2562: วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2562 เงินจะถูกโอนเข้าตามเวลา เปิด – ปิด ของธนาคาร ทางเจ้าหน้าที่จะทราบผลการจ่ายเงินเมื่อมีการโอนเงินไปแล้วอีก 14 วัน (หากคุณแม่ต้องการสอบถามเรื่องเงินจากเจ้าหน้าที่ต้องรออย่างน้อย 14 วันค่ะ) จะรู้ได้ยังไงว่าเงินเข้าหรือยัง > แนะนำให้คุณแม่นำสมุดบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ไปปรับกับเจ้าหน้าที่ในธนาคารนะคะ หากไปปรับที่ตู้เครื่องจะปรับเป็นยอดเงินรวม ทำให้ไม่สามารถแยกรายการออกได้ ทราบผลจากโอนจาก SMS > ในบางกรณี SMS ก็ไม่มีการแจ้งเตือนเข้า คุณแม่อาจต้องนำสมุดบัญชีไปปรับที่ธนาคารนะคะ
นาคารที่รองรับการจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด บัญชีธนาคารผูกพร้อมเพย์ 15 ธนาคาร (ผูกบัญชีพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบัญชีเท่านั้น ถ้าผูกกับเบอร์โทรศัพท์จะใช้ไม่ได้) ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารธนชาติ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารทหารไทย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารทิสโก้ บัญชีเงินโอน (ประเภท บัญชีออมทรัพย์ สะสมทรัพย์ เผื่อเรียก กระแสรายวัน) ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
ผู้มีสิทธิ์ลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด สัญชาติไทย หรือบิดาของเด็กแรกเกิดที่มีสัญชาติไทย (กรณีหญิงตั้งครรภ์ หรือมารดาของเด็กแรกเกิด เป็นหญิงต่างด้าว หรือบุคคลไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร์) เป็นบุคคลที่รับเด็กแรกเกิดไว้ในความอุปการะเพื่อเลี้ยงดูอย่างบุตร เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย คือ รายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน ต่อปี ผู้ปกครองที่มีสิทธิ์ลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (เดิมไม่เกิน 36,000 บาท ต่อคน ต่อปี) ไม่เป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือเลี้ยงดูบุตรจากหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรืออยู่ในความอุปการะของหน่วยงานของรัฐ
ยื่นคำร้องขอลงทะเบียน เพื่อขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (ดร.01) ณ สถานที่รับลงทะเบียน ดังนี้ กรุงเทพมหานคร (สำนักงานเขตทุกเขต) เมืองพัทยา (ศาลาว่าการเมืองพัทยา) ส่วนภูมิภาค (สำนักงานเทศบาล หรือ อบต.) กรณีทำงานหรืออาศัยอยู่ต่างภูมิลำเนา สามารถลงทะเบียนได้ที่ สำนักงานเขตทุกเขต, เมืองพัทยา หรือเทศบาล, อบต. ในพื้นที่ที่อาศัยอยู่จริงหรือที่อยู่ปัจจุบัน รอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ ที่ทําการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานที่อื่นตามที่เห็นสมควร เช่น ที่ทําการกํานัน หรือผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น โดยจะประกาศวันที่ 1 และ 16 ของทุกเดือน
วิธีการลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ เตรียมเอกสารการลงทะเบียน แบบคําร้องขอลงทะเบียน (ดร.01) ขอจากสถานที่ที่คุณลงทะเบียน แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02) ขอจากสถานที่ที่คุณลงทะเบียน (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการรับรองสถานะครัวเรือน เพิ่มเติมด้านล่าง) บัตรประจําตัวประชาชนของหญิงตั้งครรภ์/มารดา/บิดา หรือผู้ปกครอง สําเนาบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สําเนาสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เฉพาะหน้าที่ปรากฏชื่อหญิงตั้งครรภ์) สําเนาสูติบัตรเด็กแรกเกิด สําเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากของผู้ที่จะขอรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง)
คนท้องอยากลงทะเบียนก่อน ทำอย่างไร คนท้องสามารถบันทึกข้อมูลเบื้อต้น (โดยย่อ) จากหน่วยรับลงทะเบียน (สำนักงานเขตทุกเขต/ศาลาว่าการเมืองพัทยา/สำนักงานเทศบาล หรือ อบต.)โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ลงทะเบียน ณ วันที่ … เลขบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ลงทะเบียน) ชื่อและนามสกุล (ผู้ลงทะเบียน) วันเดือนปีเกิด (ผู้ลงทะเบียน) อาชีพ (ผู้ลงทะเบียน) หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ (ผู้ลงทะเบียน) อายุครรภ์ และกำหนดการคลอดบุตร จำนวนบุตรในครรภ์