ถ้าให้ลูกกินนมแม่ และในระหว่างนี้แม่สามารถทานยาแก้ปวดลดไข้หวัดที่มีฤิทธิ์แรงๆ ได้ไหมคะ จะส่งผลต่อลูกตอนทานนมไหมคะ

3 ตอบกลับ
 profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

ยาที่คุณแม่มือใหม่ใช้ได้ระหว่างให้นมลูก        ได้แก่ ยาทั่วไปที่ใช้รักษาอาการต่างๆ  และโรคทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นขณะที่คุณแม่ยังต้องให้นมลูกอยู่ ยาที่ใช้บ่อยๆ มีดังนี้ 1. ยาแก้หวัด  ยกเว้นยาแก้แพ้กลุ่มแอนตี้ซีสตามีน เช่น บรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) เพราะจะทำให้ลูกร้องกวน นอนไม่หลับ ถ้าคัดจมูกควรใช้ยาทาหรือเช็ดจมูกให้โล่งดีกว่ายารับประทาน  และควรหลีกเลี่ยงยาผสมที่มีตัวยาหลายๆ อย่างในเม็ดเดียวกัน หรือที่ออกฤทธิ์นานๆ เพราะจะส่งผลต่อลูกเป็นเวลานานด้วย  2. ยาแก้ปวด  ยาที่ใช้แก้ปวดได้ในคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมคือ พาราเซตามอล (Paracetamol) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofon)  กรดมีเฟนามิก (Mefenamic Acid) ไดโคลฟิแนก (Diclofenec)   3.  ยาฆ่าเชื้อ (ยาปฏิชีวนะ) กลุ่มที่ใช้ได้คือ กลุ่มเพนนิลซิลลิน (Penicillin) ยารักษาวัณโรค กลุ่มยารักษามาเลเรีย ที่ไม่ควรใช้คือ ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole)  4. ยาระบาย ที่ใช้ได้โดยไม่มีอันตรายต่อลูก คือยาที่มีคุณสมบัติพองตัวในน้ำ เพิ่มกากอาหารและยาระบายมิลค์ออฟแมกนีเซีย (M.O.M.) ส่วนที่ไม่ควรใช้คือยาระบายมะขามแขก  5. ยาลดกรด รักษาแผลในกระเพาะ  ควรใช้ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียมและแมกนีเซียม เพราะซึมผ่านน้ำนมได้น้อย คุณแม่จึงใช้ได้อย่างสบายใจ ส่วนยารักษาแผลในกระเพาะแนะนำให้ใช้ซูคราลเฟต (Sucrafate) ซึ่งซึมผ่านไปยังน้ำนมได้น้อยค่ะ

อ่านเพิ่มเติม

กลุ่มยาที่แม่ให้นมบุตร สามารถรับประทานได้โดยไม่ส่งผลต่อน้ำนมแม่ มีดังนี้ค่ะ 1. คลอเฟนนิรามิน (chlorpheniramine) เป็นยาลดน้ำมูก ใช้ได้ แต่คุณแม่จะง่วงนอนบ้าง 2.Actifed มียาลดน้ำมูกรวมกับยาแก้คัดจมูก(pseudoephedrine) อาจจะง่วง และเสมหะจะเหนียว ต้องดื่มน้ำมากๆ ในบางคนที่ไวต่อยานี้ (pseudoephedrine) มาก อาจมีผลกดการสร้างน้ำนมได้ ทำให้น้ำนมน้อยลง ให้ลองสังเกตอาการดู ถ้ามีปัญหาน้ำนมลดลง ให้หยุดยา ก็จะดีขึ้น 3. ยาลดไข้ พาราเซตามอล ( paracetamol )ใช้ได้ ไม่มีผลต่อลูก 4. ยา dextromethorphan เป็นยาลดอาการไอ ใช้ได้ ไม่มีผลต่อลูก มีข้อควรระวังคือ เวลาที่ป่วย ควรแยกที่นอนกับลูก เพราะถ้าหากคุณแม่เพลียหรือง่วงมาก อาจเผลอพลิกตัวไปทับลูกได้ และเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อด้วย โดยอาจวางลูกไว้ในคอกที่นอนใกล้ๆ พอที่จะเอื้อมไปอุ้มเวลาให้นมได้สะดวกค่ะ สำหรับยาบางกลุ่มอาจมีผลต่อน้ำนมบ้างแต่ไม่อันตราย ทางที่ดีควรรับประทานยาหลังลูกดูดอิ่ม หรือช่วงที่ลูกหลับยาว เพื่อให้ระดับยาในเลือดและในน้ำนมแม่ลดลงค่ะ หากไม่แน่ใจ คุณแม่สามารถนำชื่อยาไปเชคได้ที่ e-lactancia.org หากอยู่ในระดับสีเขียวคือปลอดภัยมีผลต่อน้ำนมน้อยมากๆ หรือไม่มีเลยค่ะ ที่มา: บางส่วนของบทความจาก http://www.thaibreastfeeding.org/page.php?id=122

อ่านเพิ่มเติม

ให้นมแม่ได้ค่ะ ยาส่วนใหญ่ออกทางน้ำนมน้อยมาก เพียงไม่ถึง 1 % ของปริมาณยาที่แม่ได้รับ มีเพียงไม่กี่ชนิดที่มีข้อห้ามยาพื้นๆ ที่ใช้กันส่วนใหญ่ เช่นยาแก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ ยาที่ห้ามมีอยู่ไม่กี่ชนิด ก็มี ยาต้านมะเร็ง คลอแรมเฟนนิคอล เตตราซัยคลินที่ให้เป็นเวลานานๆ Amiodarone,Gold salts รวมทั้งยาเสพติด ซึ่งล้วนเป็นยาที่พวกเราไม่มีโอกาสได้ใช้ทั้งนั้น นอกจากนั้นก็มียาคุมกำเนิดชนิดที่เป็นฮอร์โมนรวม ซึ่งจะกดการสร้างน้ำนมในระยะ 6 เดือนแรกหลังคลอด (หลัง 6 เดือนไปแล้ว เมื่อน้ำนมแม่สร้างได้เต็มที่ ก็สามารถให้ได้) ส่วนยาแก้คัดจมูก อาจมีบางคนที่ไวต่อยานี้ และทำให้น้ำนมลดลงได้ แต่พบเป็นส่วนน้อย และเป็นชั่วคราว ข้อมูลจาก พญ.ปิยาภรณ์ บวรกีรติขจร

อ่านเพิ่มเติม
คำถามที่เกี่ยวข้อง