3 ตอบกลับ

ตาเหล่ตาเข ในทารกที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน อาจสังเกตเห็นตาของทารกเหล่เข้าหรือเหล่ออกบ้าง ตาสองข้างทำงานไม่สอดคล้องกันบ้าง ถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่การทำงานประสานกันของสองตายังไม่ดีนัก แต่เมื่อทารกอายุเกิน 3 เดือนไปแล้ว ถ้ายังพบอาการตาเหล่ ตาเขอยู่ ควรนำทารกไปพบจักษุแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจรักษา การรักษาตาเหล่ทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นกับประเภทของตาเหล่ ตาเหล่บางประเภทสามารถใช้แว่นตารักษาได้ ยกตัวอย่างเช่นตาเหล่เข้าในเนื่องจากสายตายาวสูง(Accommodative Esotropia) หรือตาเหล่เข้าในเมื่อมองใกล้เนื่องจากมี AC/A Ratio สูงเกินไป ตาเหล่บางประเภทแพทย์อาจต้องรักษาโดยการผ่าตัด เมื่อสังเกตเห็นว่าบุตรหลานเป็นตาเหล่แล้ว ควรนำเด็กไปพบจักษุแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็วเนื่องจากภาวะตาเหล่ส่วนใหญ่ยิ่งรักษาเร็วเท่าไรจะยิ่งได้ผลดี การเป็นตาเหล่แล้วไม่ได้รักษาอาจทำให้เป็นตาขี้เกียจตามมาด้วย โดยถ้าเด็กเป็นตาขี้เกียจร่วมด้วย แพทย์อาจรักษาตาขี้เกียจก่อนที่จะรักษาตาเหล่ การรักษาตาขี้เกียจอาจทำโดยการให้แว่นตาหรือการปิดตาด้านดี แล้วแต่สาเหตุของตาขี้เกียจว่าเกิดจากสาเหตุอะไร อนึ่ง ถ้าปล่อยให้เด็กตาเหล่จนกระทั่งอายุมากแล้ว การรักษาจะทำได้แค่เพียงผ่าตัดเพื่อทำให้ตากลับมาตรงเท่านั้น แต่จะไม่สามารถรักษาให้กลับมามองชัดเหมือนคนปกติได้ และการทำงานประสานกันของสองตาโดยเฉพาะการมองเห็นสามมิติ(Stereopsis)จะเสียไปด้วย ดังนั้นถ้าผู้ปกครองสังเกตเห็นบุตรหลานมีอาการตาเหล่หลังจากเด็กอายุมากกว่า 3 เดือนแล้ว ให้พาเด็กไปพบจักษุแพทย์อย่างเร็วที่สุดเพื่อทำการรักษา (ตาเหล่ มีทั้งชนิดเหล่ตลอดเวลา หรือเหล่เป็นพักๆ ไม่ว่าจะเหล่แบบไหนถ้าสังเกตเห็นควรพาเด็กไปพบจักษุแพทย์เช่นเดียวกัน) ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.doctorvision.net/2012-01-23-15-41-20/2012-01-23-15-44-19/535--3-

มีวิธีตรวจอย่างง่ายๆดังนี้ค่ะ 1. จากการมองด้วยตาเปล่า หรือสังเกตจากรูปถ่ายของเด็กว่าตาทั้งสองข้างตรงหรือเขไปในทิศทางใด มีการเอียงคอหรือเอียงศีรษะอยู่เสมอหรือไม่ โดยอาจจะเปรียบเทียบรูปถ่ายในแต่ละช่วงอายุของเด็ก 2. ควรแยกแยะว่าตาเขที่สังเกตพบ เป็นตาเขจริงๆ หรือตาเขเทียม (Pseudostrabismus) บ่อยครั้งที่เราพบตาเขเข้าด้านในเทียมในเด็กเล็ก ๆ ที่ยังไม่มีดั้งจมูก ทำให้เห็นดั้งจมูกแบนกว้างไปปิดส่วนหัวตาทั้งสองข้าง จึงดูเหมือนกับว่ามีตาเขทั้ง ๆ ที่ความจริงตาไม่เข หรือในเด็กบางคนมีผิวหนังข้างๆหัวตามากกว่าปกติ (Epicanthal fold) ทำให้บังตาขาวด้านหัวตา จึงดูเหมือนกับว่าตาดำชิดกัน มองเหมือนตาเขเข้า เมื่อเด็กโตขึ้น ตาจะตรงขึ้น และเราอาจจะพบตาเขออกเทียมได้ในเด็กที่มีตาทั้ง 2 ข้างห่างกันมาก (wide papillary distant) 3. ตรวจดูว่าตาเขจริงหรือตาเขเทียมได้ด้วยวิธี Hirschberg’s Test (Corneal Light Reflex Test) โดยการให้เด็กมองที่จุดใดจุดหนึ่ง แล้วใช้ไฟฉาย (penlight) ส่องดูตรงๆ จะสังเกตเห็นแสงสะท้อนสีส้ม (Red reflex) ตรงกลางรูม่านตาถ้าตำแหน่งอยู่ตรงกลางทั้งสองข้าง แสดงว่าตาตรง (ตาเขเทียมจะเห็นแบบนี้ค่ะ) แต่ถ้าเลื่อนเข้าในหรือเลื่อนออกด้านนอก แสดงว่ามีอาการตาเขจริง ทั้งนี้หากสงสัยว่าลูกตาเข ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจดูให้แน่ใจค่ะ ซึ่งโดยปกติแล้ว เด็กควรได้รับการตรวจตาในช่วง 3-6 เดือน และช่วง 3 ขวบ และช่วง 5-6 ขวบ อยู่แล้วค่ะ เพราะหากตรวจพบได้เร็วก็จะมีโอกาสหายขาดได้ง่ายกว่าค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/optometry/2009/07/20/entry-1

Promo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-11681)

คำถามที่เกี่ยวข้อง

คำถามยอดฮิต

บทความเกี่ยวข้อง