Privacy PolicyCommunity GuidelinesSitemap HTML
Download our free app
แม่ลูกสาม
รีวิวผ่าคลอดและทำหมันค่ะ
แม่บ้านนี้กำหนดคลอด 28 ต.ค. 66 นัดผ่า + ทำหมัน 14 ต.ค. 66 แต่ วันที่ 11 มีน้ำเดิน ช่วงเย็น หมอเลยให้แอดมิดอดข้าวอดน้ำรอผ่า 12 ต.ค. เพราะน้ำคร่ำเหลือไม่มาก ระหว่างรอ น้องโก่งตัว ท้องแข็งมาเป็นระยะๆ 12 ต.ค . ได้เข้าห้องผ่าตัดประมาณ 13.30 น. ผ่าตัดแบบบล็อกหลัง แม่กลัวมาก แต่การผ่าตัดคลอดและหมัน เป็นไปด้วยดี หลังออกจากห้องผ่า แม่รู้สึกคันไปทั้งตัว ที่แผลรู้สึก ตึงๆ อาการตอนนี้ จะปวดจี๊ดๆ เมื่อขยับตัว โดยทั่วไปถ้าเลือกได้ จะขอคลอดธรรมชาติแล้วทำหมันค่ะ 😅😅😅😅
น้องกลับหัว
รอบที่แล้ว มาตามนัด 32 สัปดาห์คุณหมออัลตร้าซาวน์ บอกว่าน้องกลับหัวลงแล้ว มารอบนี้ 34 สัปดาห์ น้องเอาหัวขึ้น ตอนแรกตั้งใจจะคลอดธรรมชาติ แต่คุณหมอบอกว่า แนวโน้มอาจจะได้ผ่า แม่เลยตัดสินใจนัดวันผ่าเลยค่ะ ตื่นเต้นมากเลย มีใครมีประสบการณ์แบบนี้บ้างมั้ยคะ#ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ
ภาวะไม่สุขสบายตัวในหญิงตั้งครรภ์
เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยทั่วไปจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่อาจจะเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ได้ถ้าคุณแม่ไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม 1.อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ เป็นอาการที่พบได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ประมาณ 6-12 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาการจะค่อย ๆ ทุเลาและหายไปเอง 2.อาการอ่อนเพลียเมื่อยล้า มีสาเหตุมาจากการเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในช่วงแรกของการตั้งครรภ์, การขาดอาหาร, การขาดการออกกำลังกาย, โรคโลหิตจาง, สภาวะทางจิตใจและความเครียด เป็นต้น . 3.อารมณ์แปรปรวน มีสาเหตุมาจากความไม่สบายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จนทำให้เกิดความเครียด และทำให้มีอาการอื่น ๆ ทางอารมณ์ออกมา เช่น ใจน้อย วิตกกังวล อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หรือเกิดจากความเครียด ความกังวลในเรื่องการเจริญเติบโตของลูกในครรภ์ การคลอด การเลี้ยงลูกที่จะเกิดมา และจากบทบาทที่ต้องเปลี่ยนไป 4.ปวดศีรษะ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ฮอร์โมน อาการขาดน้ำกะทันหัน ความหิว ความอ่อนเพลีย เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ หรือจากภาวะเครียด 5.หายใจไม่สะดวก เกิดจากฮอร์โมนทำให้กล้ามเนื้ออกหย่อนตัวลงและขยายหลอดลม เนื่องจากต้องผลิตเลือดให้ปอดเพิ่มขึ้น เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์มากขึ้น มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจะไปดันกะบังลมจนส่งผลถึงปอด ทำให้หายใจได้ไม่สะดวก ในกรณีนี้แนะนำให้คุณแม่นอนศีรษะสูง หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนแออัด อย่าทำอะไรรีบร้อน พยายามหายใจช้า ๆ และลึก ๆ 6.อาการใจสั่น เป็นลม เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การนอนหงายจนทำให้มดลูกไปกดทับเส้นเลือดที่กลับสู่หัวใจ ทำให้เลือดกลับสู่หัวใจไม่ดี, การเปลี่ยนแปลงอิริยาบถเร็วเกินไป เช่น จากท่านอนเป็นท่านั่ง, การที่หลอดเลือดขยายตัวจนทำให้การไหลเวียนเลือดไปยังสมองไม่ดี มีน้ำตาลในเลือดต่ำ, มีพยาธิสภาพของโรค เช่น โรคหัวใจ โรคโลหิตจาง เป็นต้น 7.อาการอยากอาหารบางชนิดอย่างมาก มีสาเหตุมาจากการที่ทารกกำลังเจริญเติบโตในครรภ์ จึงต้องการสารอาหารจำเป็นเพิ่มขึ้น เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามิน, ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และอาจมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงจนทำให้เรารู้สึกนึกถึงรสชาติของอาหารพวกนี้ 8.น้ำลายมาก เกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน เนื่องจากสาเหตุทางจิตใจของคุณแม่ทำให้ไม่สามารถกลืนลงไปหรือบ้วนทิ้ง ในกรณีนี้ควรแนะนำให้คุณแม่รับประทานอาหารน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งขึ้นในแต่ละวัน 9.เหงือกอักเสบ เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้มีเลือดมาคั่งค้างมากขึ้น เมื่อมีรอยขีดข่วนหรือเศษอาหารติดซอกฟันก็ทำให้เกิดการติดเชื้อ มีเลือดออกได้ง่าย และเหงือกอักเสบได้ 10.อาการเรอเปรี้ยวหรือแสบร้อนยอดอก พบได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ได้ 2 สัปดาห์ ไปจนถึง 12 สัปดาห์ เป็นอาการมีผลมาจากฮอร์โมนโปรโจสเตอโรนไปลดการทำงานและการย่อยของระบบทางเดินอาหารทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อนไหวได้น้อยลง และกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารคลายตัว รวมทั้งมดลูกที่ใหญ่ขึ้นจะไปดันกระเพาะอาหารให้มีพื้นที่น้อยลง กรดในกระเพาะอาหารจึงไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้คุณแม่มีอาการแสบบริเวณยอดอกหรือร้อนบริเวณคอ 11.การผายลม มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทำให้กล้ามเนื้อหย่อนตัว อาหารและของเสียจึงไหลผ่านระบบย่อยอย่างช้า ๆ และสร้างลมในกระเพาะให้เกิดขึ้น หรืออาจเกิดจากการกลืนอากาศอย่างไม่ตั้งใจ เพื่อไล่อาการคลื่นไส้หรือจุกแน่นหน้าอกก็สามารถทำให้เกิดลมขึ้น 12.อาการท้องผูก (Constipation) มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้กระเพาะอาหารลำไส้บีบเคลื่อนไหวช้าลง มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจึงไปกดทับลำไส้ใหญ่ ทำให้อุจจาระผ่านได้ลำบาก อุจจาระที่ค้างอยู่นานจะถูกดูดซึมน้ำออกไปมาก คุณแม่บางคนก็มีการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหารจนทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่หน้าอก รวมทั้งการทานวิตามิน ธาตุเหล็กก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องผูกได้เช่นกัน 13.ริดสีดวงทวาร พบได้บ่อยในช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน มีสาเหตุมาจากการเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและจากมดลูกที่โตขึ้นจนไปกดทับเส้นเลือดดำ ทำให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณทวารหนักไม่ดี ความดันในเส้นเลือดเลยสูงขึ้น เส้นเลือดจึงโป่งพอง เมื่อท้องผูกอุจจาระจะเป็นก้อนแข็ง ทำให้เส้นเลือดที่โป่งพองเกิดฉีกขาด จึงมีเลือดสด ๆ ปนออกมากับอุจจาระและทำให้คุณแม่รู้สึกปวดแสบ 14.อาการตกขาว มักพบได้ในช่วงอายุครรภ์ 4 เดือน โดยมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่กระตุ้นการสร้างมูกที่บริเวณ Cervix หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อ เช่น หนองใน เชื้อรา Bacterial vaginosis เป็นต้น ลักษณะของตกขาวจะเป็นมูกขาวขุ่นเล็กน้อยและมีกลิ่นเหม็นอ่อน ๆ คุณแม่จะมีอาการคันบริเวณปากช่องคลอด ถ้าเกิดจากการติดเชื้อหนองในก็จะมีอาการแสบเวลาปัสสาวะด้วย 15.อาการปัสสาวะบ่อย จะเกิดขึ้นหลังจากขาดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 1-12 สัปดาห์ สาเหตุเป็นเพราะมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นไปเบียดกระเพาะปัสสาวะให้มีความจุน้อยลง ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนเลือดที่มากขึ้นบริเวณอุ้งเชิงกราน จึงทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม นอกจากนั้นยังอาจเกิดได้จากทางเดินปัสสาวะอักเสบด้วยเช่นกัน อาการนี้จะรบกวนคุณแม่ไปจนถึงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ หลังจากนั้นคุณแม่จะรู้สึกเคยชินและมดลูกจะโตพ้นอุ้งเชิงกราน ทำให้การกดทับกระเพาะปัสสาวะมีน้อยลง อาการปัสสาวะบ่อยก็จะลดลงด้วย จนถึงประมาณเดือนที่ 7-8 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะเริ่มรู้สึกปัสสาวะบ่อยขึ้นอีก เพราะขนาดของทารกในครรภ์ที่โตขึ้นและส่วนหัวของทารกจะเริ่มเข้าสู่อุ้งเชิงกราน และเบียดกระเพาะปัสสาวะอีกครั้ง 16.กลั้นปัสสาวะไม่อยู่เวลาจามหรือไอ เกิดจากเลือดไหลเวียนไปยังไต ทำให้ร่างกายผลิตปัสสาวะมากขึ้น และกล้ามเนื้อบริเวณ pelvic floor ย่อหย่อน (พื้นที่โดยรอบด้านหน้าและหลังของทวารหนัก) จนทำให้กระเพาะปัสสาวะทำหน้าที่ควบคุมได้ไม่ดี ในการพยาบาลแนะนำให้คุณแม่ดื่มน้ำมาก ๆ และปัสสาวะบ่อย ๆ 17.เส้นเลือดขอด (Vericose Veins) พบได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่มักพบบริเวณตาตุ่ม น่อง ข้อพับ ขึ้นมาจนถึงโคนขา มีสาเหตุมาจากการเพิ่มของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดทำงานได้ไม่ดี มีผลทำให้การไหลเวียนของเลือดส่วนล่างของร่างกายไม่ดี และมีสาเหตุมาจากขนาดของมดลูกที่โตขึ้น ซึ่งจะไปกดทับเส้นเลือดดำที่ผ่านจากอุ้งเชิงกรานมาสู่ช่องท้อง เมื่อถูกกดทับนาน ๆ ความดันโลหิตสูงขึ้น ก็จะดันให้เส้นเลือดเล็ก ๆ พองตัว ทำให้เลือดคั่งเส้นเลือดเป็นสีน้ำเงินม่วงที่ขอด ๆ ขดไปมาคล้ายตัวหนอน ทำให้คุณแม่มีอาการปวดและบวมที่ขา 18. อาการเจ็บที่กระดูกใต้อก (Rib pain) คุณแม่จะมีอาการเจ็บแปลบ ๆ ใต้อกข้างใดข้างหนึ่ง มีสาเหตุการขยายตัวใหญ่ขึ้นของมดลูกไปกดทับกระดูก แนะนำให้คุณแม่ซื้อบราที่ได้ขนาดพอดีกับทรวงอกที่ขยายขึ้น 19.โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal tunnel syndrome) มือ เท้าจะมีอาการชา เจ็บยิบ ๆ หรือรู้สึกเจ็บฝ่ามือเนื่องจากระบบประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ 20.ปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน (Pelvic pain) เป็นอาการปวดที่เกิดจากข้อต่อกระดูกซึ่งหย่อนตัวลง เตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ส่วนอาการเจ็บแบบแปลบ ๆ อาจเป็นเพราะทารกดิ้นไปชนกระเพาะปัสสาวะที่เต็มอยู่ของคุณแม่ 21.อาการปวดท้อง (Abdominal pain) มีสาเหตุมาจากข้อต่อซึ่งรองรับมดลูกได้ยืดตัวออก จึงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยด้านข้างของท้อง 22.อาการปวดหลัง (Back pain) พบได้มากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้อง (การเดิน การยกของหนัก การก้มเก็บของ การยืนหรือเดินนาน ๆ ในท่าที่ไม่ถูกต้อง), มดลูกมีขนาดโตขึ้น ทำให้น้ำหนักถ่วงมาด้านหน้า จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเลื่อนข้างหน้า ทำให้คุณแม่ต้องแอ่นหลังหรือเกร็งกล้ามเนื้อด้านหลังมากกว่าปกติ, การยืดขยายของเส้นเอ็นที่ข้อต่อต่าง ๆ ของกระดูกเชิงกรานเพื่อเตรียมสำหรับการคลอด เป็นต้น 23.โรคปวดร้าวลงขา (Sciatica) ซึ่งเป็นเพราะทารกในท้องกดทับเส้นประสาท ในการพยาบาลแนะนำให้คุณแม่นั่งพักและหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว เพราะจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บแปลบอีก 24.อาการบวมที่เท้าและข้อเท้า (Swelling of the feet, Swelling Ankles) มีสาเหตุมาจากน้ำคั่งในเนื้อเยื่อของร่างกายที่เกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนระหว่างการตั้งครรภ์ การสังเกตว่าเท้าบวมคือ รู้สึกตึงที่อวัยวะนั้น เมื่อกดแล้วปล่อยจะมีรอยบุ๋มค้างอยู่นาน ถ้ามือบวมมักจะรู้สึกในช่วงเช้า พอสายอาการบวมจะลดลง อย่าพยายามฝืนกำมือแรง ๆ ในขณะที่บวม เพราะจะทำให้ข้อนิ้วมืออักเสบได้ ส่วนขานั้นมักจะบวมมากในช่วงบ่ายและเย็น พอตื่นเช้าอาการบวมจะลดลง ในคนที่นั่งหรือยืนนาน ๆ มักจะเป็นมากกว่าคนที่เดินเคลื่อนไหวบ่อย ๆ 25.อาการตะคริว (Cramp) พบได้มากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การหมุนเวียนของเลือดมีประสิทธิภาพลดลง, เกิดจากความล้าของกล้ามเนื้อและการรับประทานอาหารที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เช่น ขาดแคลเซียม ขาดวิตามินบีรวม หรือเกลือ, เกิดจากการเสียสมดุลระหว่างแคลเซียมและฟอสฟอรัส จนทำให้แคลเซียมในเลือดน้อย, การดูดแคลเซียมลดลง เป็นต้น คุณแม่จะรู้สึกปวดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ต้นขา น่อง จะมีการแข็งตัวและปวดมาก ถ้าคลำดูจะรู้สึกแข็งเป็นก้อน ๆ ถ้าขยับกล้ามเนื้อส่วนนั้นก็จะยิ่งทำให้ปวดและแข็งมากขึ้น 26.อาการคันและผื่นแดง (Itching and Rashes) คุณแม่จะมีอาการคันตามเนื้อตัว ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ผิวหนังแห้ง การยืดตัวของผิวหนังในระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หรือเกิดจากความร้อนในร่างกาย หรืออาจเกิดจากการแพ้อาหารบางชนิด สบู่ หรือแม้แต่ผงซักฟอก 27.สีผิวเปลี่ยน เส้นคล้ำที่หน้าท้อง (Stretchmarks) คุณแม่จะมีรอยดำคล้ำในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณหัวนม ลานหัวนม เส้นกลางท้อง คอ รักแร้ ขาหนีบ ใบหน้า บางคนมีผิวแห้ง แต่บางคนหน้ามันขึ้น เส้นคล้ำ ๆ หรือรอยดำ ๆ นั้นเกิดจากผิวหนังเกิดการตึง แต่จะค่อย ๆ จางหายไปได้เองหลังการคลอด ซึ่งเหล่านี้มีสาเหตุมาจากระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ความยืดหยุ่นของผิวหนัง และการที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน ทำให้มีอาการผิวแตกลายที่หน้าท้อง คุณแม่บางคนอาจมีอาการคันหน้าท้อง ซึ่งเกิดจากหน้าท้องขยายเร็วและความอ้วน
แม่ๆ ตั้งครรภ์อายุเท่าไหร่กันบ้างคะ 🤰🏻
บ้านนี้ ท้องแรก แม่ 26 ท้อง 2 แม่อายุ 31 ท้องที่ 3 (สภาวะท้องลม) แม่อายุ 32 ท้องนี้ แม่อายุ 34 ส่วนคุณพ่อตอนนี้ 42 แม่ๆ คิดว่า ยิ่งอายุเยอะยิ่งเหนื่อยเหมือนกับบ้านนี้คิดมั้ยคะ✌️✌️🤰♥️♥️♥️♥️
ขอแชร์ประสบการณ์ ท้องลม
ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์สภาวะท้องลมนะคะ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แม่ตรวจได้ 2 ขีด ถ้านับก็เป็นท้องที่ 3 น่าจะประมาณ 8 สัปดาห์ แม่จึงไปฝากครรภ์ที่คลีนิค คุณหมอซักประวัติแล้วอัลตร้าซาวด์ให้ คุณหมอแจ้งว่า เจอถุงตั้งครรภ์แต่ไม่เจอตัวเด็ก ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าน่าจะเป็นสถาวะท้องลม ตอนนั้นแม่ไม่เข้าใจเลยถามคุณหมอเพิ่มเติม คุณหมอให้ความรู้มากเลยค่ะ และคุณหมอบอกว่า ไม่เกิน 1-2 วันนี้เดี๋ยวน้องคงหลุดออก เมื่อแม่กลับมาถึงบ้าน วันต่อมา รู้สึกปวดท้องหน่วงๆ เหมือนตอนจะคลอดลูกคนแรกกับคนที่ 2 เลยไปเข้าห้องน้ำ นั่งสักพัก เลือดก็ไหลออกมาไม่หยุด มีมูก มีเนื้อเยื่อปนๆออกมาด้วย แล้วในที่สุดเหมือนมีก้อนชิ้นออกมาแต่ออกไม่หมด แม่เลยตัดสินใจค่อยๆ ดึงออกมา เป็นตามภาพเลยค่ะ แม่ตกใจมาก กลัวตัวเองจะตกเลือด เรียกคุณพ่อให้เข้ามาช่วย แต่โชคดีที่แม่ไม่ตกเลือด ออกมาจากห้องน้ำ นอนพัก จากนั้นแม่ก็โทรไปหาคุณหมอ คุณหมอบอกว่า ใช่ หลุดออกมาแล้ว แต่แม่ต้องไปตรวจซ้ำว่าหลุดหมดมั้ยและต้องขูดมดลูกหรือเปล่า วันต่อมาแม่เลยไปหาคุณหมอ คุณหมออัลตร้าซาวด์ให้ แล้วบอกว่า ออกมาหมดเลย มดลูกสะอาด ไม่มีอะไรค้าง ให้ยามากินที่บ้าน... แม่แค่อยากแชร์ประสบการณ์ให้คุณแม่หลายๆ ท่านนะคะ ว่าสภาวะท้องลม คุณหมอบอกว่าไม่สามารถหาสาเหตุได้ และอาจจะเกิดกับใครก็ได้ค่ะ
รู้สึกว่าตัวเองมีกลิ่นตัว
ตอนนี้ 23 สัปดาห์ค่ะ รู้สึกเหม็นตัวเอง รู้สึกกลิ่นตัวของตัวเองแรงมาก อาบน้ำแต่ละครั้งนานมาก และวันๆนึง อาบน้ำบ่อยมาก มีแม่ๆ คนไหนเคยเป็นบ้างมั้ยคะ
เสี่ยงสูง ... แม่ใจคอไม่ดี เครียดมาก
ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม ผลออกมาเสี่ยงสูง 1:230 เครียดมาก ร้องไห้ทุกวัน คุณหมอนัดเจาะน้ำคร่ำ อาทิตย์หน้า เพราะตอนนี้พึ่งได้ 16 week ขอกำลังใจและแชร์ประสบการณ์จากแม่ๆ ด้วยค่ะ 🙇😣
อายุพ่อแม่
คุณแม่ คุณพ่อ อายุเท่าไหร่กันบ้างคะ บ้านนี้ ท้องแรกแม่ 26 ท้องสองนี้ 32 คุณพ่อตอนนี้ 39 ค่ะ
38 สัปดาห์
ตอนนี้ได้ 38 สัปดาห์แล้วค่ะ ยังไม่มีอาการใดๆ มีเพียงท้องแข็ง ดิ้นปกติ สะอึก เพิ่มเติมคือวันนี้ท้องเสีย และมีตกขาวเยอะมาก เป็นสัญญาณใกล้คลอดรึเปล่าคะ.... ท้องนี้ท้องสอง ท้องแรก 39+3 คลอดธรรมชาติค่ะ
ท้องแรกกับท้องสอง
ท้องแรก 39+3 คลอดธรรมชาติ ท้องสอง จะคลอดเร็วกว่าท้องแรกมั้ยคะ