แม่ๆรับมือปู่ย่าตายายที่ชอบสอนหลานแบบผิดๆยังไงคะ
แม่ๆเลือกที่จะบอกทันทีที่ปู่ย่าตายายสอนหลานแบบผิดๆไปเลย หรือไปคุยด้วยหลังจบเหตุการณ์นั้นแล้วกันคะ เรามีลูกวัย 8-9 เดือน ที่ปู่ย่าตายายเขาชอบคิดว่าเด็กวัยแค่นี้ไม่รู้เรื่องอะไร ปู่ย่าตายายเลยพูดไม่คิดหลายครั้ง ส่วนตัวพูดไปตรงๆต่อหน้าเลยเพราะดีกว่าให้ความคิดแบบนี้มันปลูกฝังในตัวลูกเราไปจนโต เช่น วันไหนลูกเราร้องไห้ ไม่ยิ้ม ไม่ร่าเริง ย่าจะถามว่าเป็นอะไรครับ ตอนย่าไม่อยู่แม่แอบตีหนูหรอ - เราเอ็ดย่าทันทีว่าอย่าไปพูดกับหลานแบบนั้น ไม่มีใครเขาตีลูกหรอกนะ วันไหนลูกเรานอนยาก กล่อมไม่หลับ ร้องไม่หยุด ย่าจะพูดว่าฟังๆๆๆ เดี๋ยวตุ๊กแกจะมากินตับเด็กแล้วนะ - เราอุ้มลูกไปทันที ไม่ให้ย่ามายุ่ง มากล่อม มาพูดกรอกหูลูกเราแบบนั้น - พ่อของลูกเคยเล่าให้เราว่าแม่ก็เลี้ยงเขามาแบบนั้น มันเป็นปมในใจเขามาก ทำไมเด็กคนนึงต้องมามีความคิดว่าตุ๊กแก สัตว์อะไรจะมากินตับเขาด้วย ลูกเรากินข้าวช้า เคี้ยวข้าวช้า บางครั้งส่ายหน้าหนีไม่ยอมกิน แม่หยุดป้อน จบมื้อ เอาเขาออกจากเก้าอี้กินข้าวทันทีเพราะรู้แล้วว่าเขาไม่เอ็นจอยมื้อข้าวแล้ว ย่ามาพูดว่าตอนเลี้ยงพ่อของหลาน เขาเอาใส่รถเข็นเข็นป้อนตั้งแต่หน้าบ้่นไปยันปากซอยแล้วก็เข็นกลับมาบ้านถึงจะยอมกินข้าวหมดชาม - เราแค่ฟังและไม่เคยคิดจะทำตาม ไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องทำแบบนั้นด้วย ปัจจัยที่ทำให้เด็กอยากกินข้าวคือทำให้เขาเรียนรู้ว่ากินข้าวแล้วจะเป็นยังไง -อิ่มท้อง -แข็งแรง ไม่ใช่หลอกล่อไปวันๆ บางทีปู่เขาก็ชอบมาชวนเล่นเวลากินข้าว ทำท่าจะอุ้ม บอกหลานว่ากินข้าวแล้วจะได้ออกไปเล่นนะ กินข้าวแล้วจะได้ไปเที่ยวนะ - เราไม่สน ลูกกิน=ป้อนต่อ ลูกไม่กิน=เก็บ พาออกจาโต๊ะแล้วอาบน้ำทำกิจวัตรประจำวันก่อนถึงจะให้พาไปเล่น พาไปเที่ยว เราคิดว่าตัวเองใจแข็งและเข้มแข็งมากค่ะ ใครอาจจะมองว่าเราเข้มงวด ไม่ยืดหยุ่นมากไปเราก็ไม่สน เพราะคนที่จะเลี้ยงลูกเราจนโตคือเรา ไม่ใช่ปู่ย่าตายาย จะให้มาปลูกฝังอะไรแบบนี้ไว้แล้วตัวเองก็แก่ตายไปปล่อยให้เรามานั่งแก้นั่งสอนลูกใหม่มันไม่ใช่เลยค่ะ แม่ๆบ้านอื่นรับมือกันยังไงบ้างคะ