น้ำนมแม่
แม่ๆกดดันว่าต้องมีน้ำนมเยอะๆกันทั้งนั้นเลย สงสารแม่อ่ะ แม่เครียด เพราะบางทีก็ไปดูคนอื่น เขาได้นมกันเต็มขวดบ้าง มีนมเต็มตู้แช่บ้าง แต่เอ๊ะ! ทำไมเราถึงไม่ได้อย่างเขานะ . ต้องบอกก่อนนะคะว่า ความสามารถในการผลิตน้ำนมของมนุษย์ และหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ก็เหมือนกันนั่นแหละค่ะ คือ #เมื่อมีลูกก็จะผลิตน้ำนมเพื่อประทังชีวิตทารกน้อย . ถ้าเข้าเต้า เราก็จะไม่รู้หรอกว่า ในเค้ามีปริมาณน้ำนมเท่าไหร่ เพราะที่ลูกดูดไป มันก็ได้เรื่อยๆ มีเรื่อยๆ แต่พอปั๊มออกมา ก็เริ่มรู้สึกนอยด์ไงว่า ต้องได้เท่านั้นเท่านี้ เกิดการเปรียบเทียบ และกดดัน . มิ้นท์อยากจะบอกแบบนี้นะ ถ้ามันมีพอวันต่อวันไปเรื่อย ย้ำว่า #มีและมีไปเรื่อย คือ ดีแล้วค่ะ . ถ้าเป็น #แม่ฟูลไทม์ เข้าเต้าตลอด ก็มีไปตลอด การปั๊ม ก็แค่ทำให้มีนมสต๊อก #แม่ทำงานไปเช้าเย็นกลับ อยู่กับลูกเข้าเต้า ห่างลูกก็ปั๊มนม และลูกก็กินขวดไปตอนแม่ไม่อยู่ #แม่ปั๊มล้วน ก็ปั๊มได้วันละ 24 ออนซ์ ก็คือเพียงพอ โดยปั๊มนมทุก 3-4 ชั่วโมง ระวังอย่าตกรอบบ่อย อย่าปล่อยเต้าคัด รอบปั๊ม 6-9-12-15-18-21-24-3 น. . สำหรับแม่ทำงานอาจจะเหนื่อยหน่อยกับการปั๊ม แต่ก็ไม่ได้เหนื่อยมากนัก ถึงขั้นทรมานตัวเอง ฟังทางนี้ค่ะ นี้เป็นแนวทางที่ง่ายที่สุดนะ . 1. ลางาน เข้าเต้าล้วนๆ ไม่ใช้นมสต๊อก 2. อายุครบ 45 วัน ฝึกขวดวันละครั้งๆละ 1-2 ออนซ์ แค่ให้รู้จักนมสต๊อกและขวดเท่านั้น นอกนั้นกินเต้าไป . 3. เข้าเต้า + ปั๊มนม ทำไปเรื่อยๆ ปั๊มได้แค่ไหนก็แค่นั้นค่ะ สมมุติลางาน 3 เดือน ปั๊มนมได้วันละ 5 ออนซ์ 90 วัน คูณ 5 ออนซ์ = 450 ออนซ์ พอมะ⁉️ . 4. ช่วงไปทำงาน ที่ลูกต้องกินขวด อยากรู้มั้ยว่า ต้องใช้นมสต๊อกแค่ไหนต่อวัน ทำงานกี่ชั่วโมง ใช้นมสต๊อกเท่านั้นอออนซ์ ทำงาน 5 ชั่วโมงใช้นมสต๊อกไม่เกิน 5 ออนซ์ ทำงาน 10 ชั่วโมงใช้นมสต๊อกไม่เกิน 10 ออนซ์ ทำงาน 12 ชั่วโมงใช้นมสต๊อกไม่เกิน 12 ออนซ์ แล้วตุนไว้ช่วงลางานน่ะ เพียบละนา . 5. นมสต๊อกที่ตุนไว้ช่วงลางาน ถ้าใช้ไปก็จะค่อยๆหมด ดังนั้น ช่วงทำงานก็ต้องปั๊ม เพื่อเติมส่วนที่ลูกกินไปไม่ให้ขาดทุน ก็คือ ปั๊มกลับบ้านได้ปริมาณตาม ชม. ที่ห่างกัน ทำงาน 5 ชั่วโมงปั๊มนมกลับบ้าน 5 ออนซ์ ทำงาน 10 ชั่วโมงปั๊มนมกับบ้าน 10 ออนซ์ ทำงาน 12 ชั่วโมงปั๊มนมกับบ้าน 12 ออนซ์ ปกติ ก็ปั๊มทุก 3 ชม. 9-12-15-18 น. ราวๆนี้ ถ้าที่ทำงานปั๊มได้ไม่ถึงตามโควต้าที่ว่าไว้ กลับบ้านให้ลูกเข้าเต้าและขโมยปั๊ม ให้ครบตามโควต้าในแต่ละวัน ถ้าวันทำงานมันไม่มีเวลาจริงๆ ช่วงวันหยุดให้เข้าเต้าบวกปั๊มนม เติมส่วนที่ขาดทุนไป แล้วเราจะมีนมสต๊อกไปเรื่อยๆค่ะ . 6. สงสัยใช่มั้ยล่ะว่า จะป้อนนมยังไง ให้ได้ตามข้อ 4 (ชั่วโมงละ 1 ออนซ์) #ลูกกินนมสต๊อกเปลือง http://bit.ly/2MRVjKn . 7. ต้องปั๊มนมแบบนี้ไปถึงเมื่อไหร่ ปั๊มไปเรื่อยๆจนหยดสุดท้ายค่ะ แต่เอาจริงๆถ้าใครที่มีข้อจำกัด ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปั๊มนม เอาให้ถึง 1 ขวบ เพราะก่อน 1 ขวบกินนมเป็นหลัก ทำอย่างที่บอกจากข้อ 1 ถึงข้อ 6 ไปเรื่อยๆ ครบ 1 ขวบลูกกินนมจากเต้าอย่างเดียวก็ได้ ไม่จำเป็นต้องกินนมสต๊อกอีกก็ได้ ถ้ามันไม่มี #ไม่จำเป็นต้องเสริมนมกล่องหรือนมผง (1 ขวบขึ้นไปไม่ต้องกินนมผงแล้วไม่จำเป็น) ถ้าใครที่ยังปั๊มนมได้อยู่ก็ปั๊มต่อไปเรื่อยๆ เท่าที่จะทำได้ มีเท่าไหร่ก็กินเท่านั้น ตัวอย่างการกินนมและอาหาร • อาหาร 3 มื้อ เช้ากลางวันเย็น • นมสต็อก สาย บ่าย มื้อละ 2-4 ออนซ์ หรือถ้าใครปั๊มได้ออนซ์เดียว ก็กินออนซ์เดียว • นมเต้า สาย บ่าย ก่อนนอน มื้อดึก มื้อไหนไม่อยู่ก็ตัดทิ้ง กินมื้อที่อยู่ด้วยกัน ราวๆนี้ค่ะ และกินไปจนกว่าลูกจะเลิกไปเอง ใครอยากเลิกมื้อดึก ถ้าเลิกง่ายๆ ก็เลิก แต่ถ้าเลิกยาก ก็ไม่จำเป็นต้องเลิก ถ้าไม่อยากเลิก ก็ไม่ต้องเลิก ไงก็ได้ . พอเห็นภาพยังว่า เราไม่จำเป็นต้องไปเปรียบเทียบกับมคร #ตัวเราคือตัวเรา .. ชีวิตประจำวันของแต่ละคนแตกต่างกัน .. ลูกของแต่ละคนแตกต่างกัน .. ความสามารถในการเอาน้ำนมออกจากเต้าของแต่ละคนแตกต่างกัน .. ความสวยของแต่ละคนก็แตกต่างกัน แล้วจะมาเปรียบเทียบเอาพระแสงของ้าวทำไม เลิกดูนมของคนอื่น . ของเขาไม่ใช่ของเรา ของเรา ก็คือของเรา ไม่ใช่ของใคร ลูกเรา คือ ลูกเรา เราใช้ชีวิตแบบนี้ แล้วยังไง มีนมเพียงพอ ก็คือพอแล้ว เลี้ยงลูก ไม่ใช่ทำวิทยานิพนธ์ ไม่ต้องเครียด ไม่ต้องเป๊ะขนาดนั้นก็ได้ เอาที่มีความสุข เอาที่พอดี เอาที่พอใจ .. ขนาดทำวิทยานิพนธ์ อาจจะไม่ได้เครียดขนาดนั้นก็ได้นะ . #นมพ่อแบบเฮฟวี่
หม่าม๊า of 2 แสนซน ลูกชาย