2 ตอบกลับ

ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์ เป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด ซึ่งมีผลทำให้ทารกตายหรือทุพพลภาพได้ ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกหรือรั่วจะเกิดขึ้นก่อนเริ่มมีอาการเจ็บครรภ์และไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อน หรือเมื่ออายุครรภ์ได้ครบกำหนดก็ตามโดยทั่วไปจะพบประมาณ 8% ของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ครบกำหนดสำหรับถุงน้ำคร่ำแตกก่อนครรภ์ครบกำหนดพบได้ประมาณ 1-3% ของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่ทราบสาเหตุ แต่มีภาวะที่อาจพบร่วมด้วย หรืออาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ คือ 1. ภาวะติดเชื้อ เชื่อว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญของถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ โดยเฉพาะในครรภ์ที่มีการคลอดก่อนกำหนดจากการติดเชื้อบริเวณช่องคลอด ทำให้ถุงน้ำคร่ำอ่อนแอลงและแตกได้ เช่น การติดเชื้อกามโรคของช่องคลอด 2. คุณแม่เคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ หรือเคยมีประวัติถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ในครรภ์ก่อน 3. ครรภ์แฝด และครรภ์แฝดน้ำ ทำให้มดลูกมีความตึงตัวมากผิดปกติ 4. ท่าทารกผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง 5. ส่วนนำของทารกไม่เข้าสู่เชิงกราน 6. เคยตัดปากมดลูก หรือเคยได้รับการเย็บผูกปากมดลูก 7. ภาวะที่มีความพิการแต่กำเนิดของมดลูก 8. ภาวะการอักเสบเรื้อรังของระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีการรัดตัวของมดลูกเพิ่มขึ้น 9. คุณแม่ที่เคยทำหัตถการต่างๆ เพื่อการวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด เช่น การเจาะน้ำคร่ำ 10. คุณแม่มีเศรษฐานะต่ำ 11. คุณแม่ที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ ผลข้างเคียง ผลข้างเคียงที่เกิดตามมาได้แก่ การติดเชื้อในมารดาและทารกการเจ็บครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด ภาวการณ์ขาดออกซิเจนเนื่องจากสายสะดือถูกกด อัตราการผ่าท้องทำคลอดบุตรเพิ่มขึ้นความผิดปกติทางโครงสร้างของทารกในครรภ์ ดังนั้นการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็ว มีความสำคัญยิ่งต่อการลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นต่อทั้งมารดาและทารก อาการ คุณแม่มักให้ประวัติว่ามีน้ำใสๆ ไหลจากช่องคลอดคล้ายกับการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยคุณแม่อาจจะคิดว่าเป็นอาการของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะราด มีน้ำไหลตามมาหน้าขาและไหลออกมาเรื่อยๆ ส่วนบางรายอาจได้ประวัติแค่มีน้ำเลอะบริเวณกางเกงในเป็นวงใหญ่ หรืออาจเปื้อนกระโปรงเล็กน้อยเท่านั้นในกรณีที่ประวัติไม่ชัดเจนคุณหมอจำเป็นต้องหาข้อมูลเพิ่มขึ้นเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย นอกจากนี้ยังต้องแยกน้ำเดินออกมาจากสารคัดหลั่ง เช่น ตกขาวที่มีปริมาณมากผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากปากมดลูกอักเสบ หรือมูกเลือด เป็นต้น การวินิจฉัย เป็นขั้นตอนที่แพทย์ต้องระวังการติดเชื้อจากการตรวจสอบภายในก่อนตรวจต้องดูบริเวณปากช่องคลอดด้วยว่ามีลักษณะเปียกชื้นมากน้อยเพียงใด สีของน้ำที่เห็นบริเวณปากช่องคลอดเป็นอย่างไรแล้วจึงใส่เครื่องมือที่ปราศจากเชื้อเข้าไปในช่องคลอด พร้อมกับสังเกตลักษณะและปริมาณของเหลวภายในช่องคลอดโดยทั่วไปหากถุงน้ำคร่ำแตกจริง จะพบว่ามีน้ำคร่ำไหลออกจากปากมดลูก ซึ่งปกติทั่วไปน้ำคร่ำจะไม่มีสี เว้นเสียแต่ช่วงครรภ์ใกล้จะครบกำหนด อาจพบคล้ายมีน้ำสีขาวปะปนได้ ในกรณีตรวจไม่พบของเหลวภายในช่องคลอดที่ชัดเจน คุณหมอจะให้คุณแม่ไอหรือเบ่ง โดยคุณหมอจะใช้มือกดบริเวณยอดมดลูก ขณะเดียวกันคุณหมอจะตรวจดูว่าปากมดลูกเปิดกี่เซนติเมตร และมีการบางตัวมากน้อยแค่ไหน การที่ตรวจพบว่ามีน้ำไหลออกมาจากรูของปากมดลูก หรือพบน้ำปะปนขี้เทาของทารก ถือว่าเป็นการวินิจฉัยที่แน่นอนที่สุดว่าเป็นน้ำคร่ำจริง แพทย์ที่ตรวจจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้นิ้วมือผ่านเข้าไป เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ คุณหมอจะใช้นิ้วตรวจสภาพมดลูกก็ต่อเมื่อมีการเจ็บครรภ์ หรือมีการชักนำให้เกิดการคลอดเท่านั้น การดูแลรักษาภาวะ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์ เมื่อวินิจฉัยภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์ได้แล้ว แน่นอนว่าขั้นตอนต่อไปก็คือการดูแลรักษาคุณแม่ โดยจะรับไว้รักษาในโรงพยาบาล และสอบประวัติการตั้งครรภ์ ประวัติประจำเดือนครั้งสุดท้ายเพื่อยืนยันอายุครรภ์ รวมทั้งประวัติการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูว่าขณะนี้ลูกในครรภ์อายุเท่าใด แล้วนำมาประกอบการตัดสินใจวางแผนการดูแลรักษาต่อไปในรายที่มีอาการแสดงหรือตรวจพบ และยืนยันว่ามีการติดเชื้อในโพรงมดลูก หรือมีหลักฐานที่แสดงว่าทารกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่ออันตรายจากสายสะดือกดทับ เนื่องจากภาวะน้ำคร่ำน้อยลง ต้องตัดสินใจให้คลอดโดยไม่คำนึงถึงอายุครรภ์คุณแม่คงเข้าใจแล้วนะครับ ว่าถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์หมายถึงอะไร และคุณจะรู้อย่างไรว่าน้ำที่ไหลออกมาคือน้ำคร่ำซึ่งเป็นสัญญาณเตือนคุณแม่ว่าต้องมาโรงพยาบาลแล้วค่ะ

หากน้ำคร่ำแตกในช่วงสัปดาห์ที่ 38 เป็นต้นไปคืออาการที่เด็กกำลังจะคลอดแล้วค่ะ ไม่มีอันตรายมากเพียงแต่คุณหมอจะต้องระวังเรื่องการติดเชื้อในเด็ก แต่หากน้ำคร่ำแตกก่อน 38 สัปดาห์ เด็กในครรภ์ยังพัฒนาอวัยวะได้ไม่สมบูรณ์เต็มที่ จึงยังไม่พร้อมที่จะออกจากท้องแม่ แต่ก็ต้องออกมา จึงทำให้มีอันตรายได้ค่ะ

คำถามยอดฮิต