เวลาเราได้ยินว่า จะต้องปั๊มนมทุก 3 ชม. แล้วมันชนกับมื้อนมของลูก รู้สึกเครียดและสับสนไหมคะ?
บางคนเป็นแม่ฟูลไทม์ ลูกกินจากเต้าอิ่มแล้ว ยังต้องทำสต็อกอีกไหม อย่างไร? จะปั๊มตอนไหนดี?
ถ้าไม่ปั๊ม ดูดเต้าอย่างเดียว น้ำนมจะลดไหม?
ถ้าปั๊มอย่างเดียว น้ำนมจะลดไหม?
.
หลักการเดียวกันทุกคน นะคะ
>> ให้เอาน้ำนมออกจากเต้าให้บ่อย แล้วน้ำนมจะผลิตเพิ่มตามนั้น
ลูกดูดเต้าได้อิ่ม 8 มื้อ
แม่จะผลิตน้ำนม ตลอดทั้ง 8 มื้อ
.
การ #ปั๊มออกมาดู ไม่สามารถชี้วัดได้ว่าในเต้ามีน้ำนมแค่นั้น
.
หากลูกดูด 5 มื้อ + เสริมนมชง 3 มื้อ
ร่างกายจะผลิต 5 มื้อค่ะ
.
ถ้าลูกไม่ดูด แม่ปั๊มใส่ขวดได้ 8 มื้อ
ร่างกายจะผลิตน้ำนม ตามปริมาณนั้นเลยค่ะ
.
แต่.... เนื่องจาก คุณแม่แต่ละกลุ่ม มีบริบทที่ต่างกัน ก็จะมีวิธีกระตุ้นน้ำนมที่ไม่เหมือนกันนะคะ
.
.
<3 กลุ่มแรก - #แม่ฟูลไทม์
ลูกดูดเต้าได้ดี คางขยับเยอะ อิ่มที่เต้าได้ น้ำหนักก็ขึ้นดี
ก็คือ ร่างกายผลิตน้ำนม 100% ที่ลูกต้องการ
ถ้าปั๊มนมต่ออีกหน่อย บีบมือต่ออีกหน่อย กลายเป็นเอาน้ำนมออกเพิ่มอีก 20% (ขโมยปั๊ม)
ร่างกายของเราจะผลิต 120% ค่ะ
.
... ถ้าลูกดูดเต้าตลอด ไม่ปั๊มนมก็ได้นะคะ น้ำนมจะไม่หมดค่ะ
กินเท่าไหร่ ก็ผลิตตามนั้น
#สนับสนุนให้ทำสต็อกให้อุ่นใจ ก็ดีนะคะ แต่ไม่ต้องโหมปั๊มก็ได้ เอาเท่าที่ไหวและมีสต็อกในวันที่ฉุกเฉินค่ะ
.
... ถ้า #แม่ต้องไปทำงาน
วิธีทำสต็อกคือ ปั๊มส่วนเกินออกมาแล้วเก็บสะสมก่อนนะคะ
ตอนแม่ไปทำงาน ห่างลูก ให้ปั๊มนมออกทุก 3-4 ชม. ให้เต้ายวบ ทำจี๊ด บีบมือ น้ำนมจะไหลดี กลับบ้านก็ให้ลูกดูดเต้า
พยายามบีบให้ลานนมนิ่ม นมจะออกดี ลูกจะไม่หงุดหงิด
ถ้าลานนมแข็ง มีท่อดิ้นๆ เหมือนเอ็น เหมือนกระดูกอ่อน น้ำนมจะออกยาก น้องอาจจะไม่ชอบเพราะนมออกยาก ปั๊มไม่ออกไม่ใช่น้ำนมหายค่ะ
.
.
<3 กลุ่มที่สอง - #ลูกดูดไม่เก่ง ดูดนาน แต่เบา
คุณแม่กลุ่มนี้ มีงานให้ทำมากกว่าใคร เพราะต้องเข้าเต้าด้วย
ต้องเตรียมสต็อกใส่ขวดด้วย และต้องปั๊มอีกด้วย
... พยายามปั๊มให้เกลี้ยง ด้วยการทำจี๊ด ปั้นนวดคลึงให้ลานนมนิ่ม น้ำนมพุ่งให้แรง กระตุ้นให้ร่างกายระบายน้ำนม มิฉะนั้นน้ำนมจะลดลงได้ค่ะ
.
... ถ้าลูกอายุยังน้อย หาทางแก้ติดจุก ให้หัดเข้าเต้าใหม่ ปรับการอุ้ม ปรับการดูด นวดกดช่วยให้น้ำนมระบาย ช่วยให้ลูกดูดนมได้มากขึ้นนะคะ
.
... ถ้าลูกดูดแบบจุ๊บจิ๊บ ไม่ค่อยอิ่ม น้ำหนักไม่ขึ้น แม่ควรทำจี๊ด + บีบมือบ่อยๆ เพื่อดันให้เศษไขมันในน้ำนมหลุดออกมาให้มากขึ้น ป้องกันรูน้ำนมตัน (น้ำนมจะใส สายจะบางๆ คือ มันตีบตันมาก บางคนหงุดหงิดไม่เอาเต้าเพราะเหตุนี้)
.
พอเริ่มอายุเดือนมากขึ้น เด็กที่ดูดเบาๆ แม้ว่า คุณแม่พยายามหมั่นปั๊มนมวันทำงานจนเต้ายวบ ก็แล้ว
แต่เข้าเต้าตอนกลางคืนและเสาร์อาทิตย์ ปรากฏว่าเต้าไม่เคยนิ่มลงเท่าไหร่ เพราะลูกชอบเต้าแม่แต่ดูดไม่แรง ทำให้ได้น้ำนมน้อย เป็นต้นเหตุที่ทำให้เด็กนมแม่กลุ่มนี้น้ำหนักไม่ค่อยขึ้นค่ะ
.
คุณแม่กลุ่มนี้ต้องพยายามเลี่ยงของมันของทอด นมเนย ที่จะไปทำให้ลูกดูดเต้ายากขึ้นนะคะ เข้าเต้าเยอะๆ นวดกดเยอะๆ แต่ถ้าน้องฉี่น้อย น้ำหนักขึ้นน้อย น้องแลดูไม่อิ่มจริงๆ ก็จำเป็นต้องเสริมนมเพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนักให้โตตามเกณฑ์ค่ะ
.
.
<3 กลุ่มที่สาม - #ลูกไม่ดูด ไม่เอาเต้าเลย หรือ เป็นแม่ทางไกล ต้องห่างลูก แต่ก็สู้ยิบตา ดึกดื่นแค่ไหนก็ตื่นมาปั๊ม เพราะตัวช่วยของเค้า คือเครื่องปั๊มนมนะคะ
จะว่าเค้าสุดโต่งไม่หรอก เพราะนี่คือสิ่งที่แม่คนหนึ่งต้องการทำเพื่อลูกของเค้าค่ะ
.
หากลูกไม่ดูดเต้าจริงๆ เริ่มต้น แม่ต้องปั๊มทุก 2 ชม.ในเดือนแรกเพื่อกระตุ้นและหมั่นระบายน้ำนม หลังจากนั้นเมื่อปั๊มได้ดีขึ้น จะปั๊มได้มากขึ้นและเว้นช่วงได้นานขึ้นค่ะ
.
กลุ่มแม่มือปั๊มเป็นนักสู้ค่ะ บีชื่นชมมาก
จะปั๊มทุก 3-4 ชม. กลางคืนก็ตื่นมาปั๊ม ทำทุกอย่างเพื่อลูกจริงๆ นะคะ ไม่อยากทรมานเต้า ของมันของทอด นมวัว นมถั่ว จะไม่แตะ เพราะไม่อยากท่อตันค่ะ
.
(y) #คำแนะนำของแม่แต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน นะคะ
(y) ถ้าแม่กลุ่มแรก ลูกเข้าเต้าอิ่มแล้ว แล้วยังต้องปั๊มทุก 3 ชม. น้ำนมจะผลิตมากเกินไปค่ะ ส่งผลให้น้ำนมพุ่งเกินไป ต้องบริหารจัดการสต็อกมากมายทั้งที่ไม่จำเป็น
(คือ แค่มีให้อุ่นใจค่ะ ไม่ต้องเยอะๆ แบบเลี้ยงลูกแฝดก็ได้นะคะ)
.
(y) ถ้าแม่กลุ่มที่สอง เข้าเต้าอย่างเดียว ทั้งที่ลูกดูดไม่เก่ง ตอดเบา ไม่อิ่ม วางไม่ได้ บวกกับแม่นมตัน ดูดยาก ... ลูกจะน้ำหนักไม่ขึ้น และจะปั๊มนมไม่ค่อยออกด้วย เพราะน้ำนมไม่ถูกกระบายออกสักเท่าไหร่
แม่จะถูกกดดันเรื่องน้ำหนักลูกเป็นอย่างมาก
แต่แม่ก็สู้เหมือนกันค่ะ ด้วยการขยันปั๊ม ใส่ขวดให้ลูก ถึงจะได้สต็อกไม่มาก วันชนวัน แต่ก็ไม่ล้มเลิก
กลุ่มนี้ยังมีอะไรให้อุ่นใจ เพราะได้ลูกมาเข้าเต้า มีนมไว้ปลอบใจลูกได้ ให้อุ่นใจทั้งลูกและแม่ในวันที่ทั้งคู่ต้องการนะคะ <3
.
(y) เป็นแม่กลุ่มที่สาม เหมือนจะง่ายสุด คือรักษาวินัยการปั๊มให้ได้ทุก 3 ชม.
แต่! ไม่ง่ายนะคะ เพราะ
1) เหนื่อย ต้องรักษารอบปั๊มมาก
2) นมตันง่ายเพราะไม่มีลูกช่วยดูด
3) ทานของที่ตนชอบไม่ค่อยได้ อร่อยปาก ลำบากนมทันที
เต้านมอักเสบนี่เหมือนเป็นสิวอักเสบ แต่เป็นเม็ดยักษ์ที่ทรวงอก ปวดตุ้บๆ เป็นไข้ หนาวสั่นได้เลยนะคะ ใครที่เคยเป็น จะรู้ว่า ปวดกว่าคลอดลูกซะอีก
.
เขียนเยอะๆ ยาวๆ ก็หวังว่า แม่ๆ จะเข้าใจมากขึ้นนะคะ
ที่สำคัญ ให้แก้ปัญหาให้เร็วที่สุด อย่ารอเป็นเดือนค่ะ
ใครอยากให้ลูกกลับมาดูดเต้า ควรรีบแก้ไขตั้งแต่เดือนแรก เพราะเข้าเดือนที่ 3-4-5 จะยากขึ้นมากนะคะ
เลือกแบบที่เหมาะกับเราค่ะ แก้ให้ตรงจุด แล้วทุกอย่างจะง่ายขึ้นจริงๆ ค่ะ
ขอเป็นกำลังใจให้กับคุณแม่ทุกคนค่ะ
เขียนยาวๆ ทวนแล้วทวนอีก หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับคุณแม่ทุกคนนะคะ
รูปนี้ รูปน้ำนมของแม่ปอย
ปกติปั๊มได้ 2-3 ออนซ์ ลูกดูดไม่อิ่ม
แต่ให้บีบลานนมให้น้ำนมพุ่งๆ ก่อน
เข้าเต้าจนอิ่มค่ะ
เสร็จแล้ว บีบมือออกได้ขนาดนี้ คือดีงามมากมายแล้วค่ะ สู้ๆ นะคะ
#นมแม่แฮปปี้