คนท้องปวดท้องน้อยบอกอะไร 1.การเปลี่ยนแปลงของมดลูก คนท้องจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ส่วนหนึ่งมาจากการขยายตัวของมดลูก ทำให้มดลูกของคุณแม่เกิดการเกร็งตัว เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทาทารก และมักจะพบบ่อยกับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก และเมื่อคุณแม่เริ่มเข้าสู่ไตรมาสที่สอง อาการปวดก็จะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปที่สุด ซึ่งจะไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใดค่ะ สำหรับคุณแม่ที่มีอาการปวดท้องน้อย แนะนำให้ดูแลตัวเองด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ ควรนอนหรือนั่งพักทันทีเมื่อมีอาการปวดท้องน้อย บางครั้งอาการปวดท้องน้อยก็มาจากการยืน เดินมากจนเกินไป จึงควรหาที่นั่งพัก แล้วยกขาสูงเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ใช้หมอนหลาย ๆ ใบหนุนหลังในขณะนั่ง รวมไปถึงใช้วางหนุนท้องและขาในขณะที่นอนตะแคง ก็จะช่วยพยุงน้ำหนักและอยู่ในท่าที่ผ่อนคลายมากขึ้น ออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อเสริมสร้างให้หน้าท้องและหลังแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดีขึ้น ด้วยการเดินเหยาะ ๆ ว่ายน้ำและโยคะสำหรับคนท้อง งดการทำงานที่ต้องใช้แรงยกและมีการเกร็งหน้าท้อง เช่น การยกของหนัก เอี้ยวตัวหยิบของระยะไกล จามแรง ๆ
2.ท้องนอกมดลูก หากคุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกว่าตัวเองปวดท้องน้อยด้านใดด้านหนึ่งอย่างมาก ซึ่งเป็นการปวดท้องน้อยอย่างเฉียบพลัน ถึงขนาดอยากจะเป็นลม พร้อมๆ กับมีเลือดออกในช่องคลอดแบบกะปริบกะปรอย อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ สาเหตุที่ทำให้คุณแม่รู้สึกปวดก็เพราะว่าตัวอ่อนได้ไปฝังตัวอยู่นอกโพรงมดลูกนั่นเองค่ะ ซึ่งถ้าคุณแม่มีอาการแบบนี้ควรรีบปรึกษาหมอทันที ถ้าปล่อยไว้จะทำให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตนอกมดลูก อาจทำให้อวัยวะฉีกขาดจนเกิดเลือดออกในช่องคลอด ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตของคุณแม่ได้ค่ะ สำหรับคุณแม่ที่มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือมีการอักเสบในอุ้งเชิงกราน เคยได้รับการผ่าตัดทางช่องท้อง เคยใช้ยาหรือเทคนิคการกระตุ้นให้ไข่ตก เคยมีประวัติท้องนอกมดลูกมาก่อน หรือเคยมีประวัติสำส่อนทางเพศ รวมทั้งคนที่มีนิสัยชอบสูบบุหรี่ เคยใช้ห่วงยางคุม
คนท้องปวดท้องน้อย อันตรายไหม คนท้องปวดท้องน้อย ปวดแบบนี้บ่อยๆ จะเป็นอะไรหรือเปล่า? อาการปวดท้องแบบนี้คุณแม่ควรทำอย่างไร ก่อนอื่นคุณแม่ต้องสังเกตตัวเองว่าตัวเองมีอาการอื่นร่วมด้วยหรือเปล่า ปวดบ่อยแค่ไหน และช่วงเวลาที่ปวดคุณแม่ตั้งครรภ์อยู่ในไตรมาสที่เท่าไหร่ ลองมาหาคำตอบกันค่ะ ท้องน้อยอยู่บริเวณไหน ท้องน้อยจะอยู่บริเวณใต้สะดือ ประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ มดลูก รังไข่ และช่องคลอด ลักษณะอาการ อาการปวดตรงช่วงท้องน้อย ปวดแบบหน่วงหรือปวดจี๊ด ๆ คล้ายกับอาการปวดประจำเดือน โดยจะมีอาการปวดเป็นพัก ๆ จากนั้นจึงจะค่อย ๆ จะหายไปเอง
3.แท้งลูก ลักษณะอาการของคุณแม่ที่แท้งลูกคือ มีเลือดหรือมูกปนเลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องน้อย ปวดหลัง (มากกว่าที่เคยเป็น) น้ำหนักตัวลด รู้สึกว่ามดลูกแข็งตัวหรือบีบตัวบ่อย รู้สึกท้องมีขนาดเล็กลงหรือไม่โตขึ้นเลย และอาการที่บ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์หายไป เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ตึงคัดเต้านม เป็นต้น ซึ่งการแท้งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่คุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 4-20 สัปดาห์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 13 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์) เมื่อคุณแม่พบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ ให้รีบพบแพทย์โดยด่วนนะคะ