เด็ก 2 ขวบครึ่งมีอาการหอบแบบนี้ต้องหาหมอเลยไหมค่ะ หรือพยาบาลเบื้องต้นยังไงได้ก่อนค่ะ
าการอย่างไร ? มักเริ่มต้นด้วยอาการ หวัด ไอ มีเสมหะ ถ้าไอมากขึ้นเรื่อยๆ ก็มักจะมีเสียงวี้ดๆ ในช่วงหายใจออก เมื่อร่างกายขาดออกซิเจนมากขึ้น ก็เกิดอาการหอบมาก ปากซีดเขียว ใจสั่น บางครั้งการเกร็งตัวของหลอดลมเกิดขึ้นไม่มากนัก ทำให้คนไข้มีอาการไม่มากแต่ก็เป็นอยู่เรื่อยๆ เด็กๆ บางคนจะมีอาการไออย่างเดียว และมักจะมีอาการอาเจียนร่วมไปด้วย ซึ่งอาการไอจะดีขึ้น หลังจากที่เด็กได้อาเจียนเอาเสมหะหนียวๆ ออก ให้สังเกตไว้ว่า การไอของเด็กเล็กๆ เช่น ไอแห้งๆ ที่ระคายเคือง ( dry irritating ) อาจเป็นอาการแสดงของโรคหอบหืดอย่างเดียว เพราะคนทั่วไปมักเข้าใจว่าต้องมีเสียง Wheez จึงจะเป็นหอบหืด เด็กที่แข็งแรงดีมักจะไม่ไอ ยกเว้นหวัดอย่างรุนแรง ความรุนแรงของหอบหืด 1. ขั้นเล็กน้อย - เริ่มไอ และ/หรือ มีเสียงวี้ด แต่ยังเล่นซนได้ตามปกติ และทานอาหารได้ตามปกติ การนอนยังปกติ ( ไม่ถูกรบกวนโดยอาการไอ ) 2. ขั้นปานกลาง - ตื่นกลางคืนบ่อยๆ วิ่งเล่นซนไม่ค่อยได้ ขณะเล่นมักไอ หรือมีเสียงวี้ดไปด้วย 3. ขั้นรุนแรง - กระสับกระส่ายจนนอนไม่ได้ เล่นซนไม่ได้ เหนื่อยหอบจนพูดหรือกินอาหารไม่ได้ หรือรอบริมฝีปากเป็นสีเขียว ยารักษาโรคหอบหืดประกอบด้วยยาอะไรบ้าง ? การรักษาหอบหืด แนวใหม่ ( Modern management ) มีจุดประสงค์ คือ การลดอาการของเด็ก ให้เด็กมีกิจกรรมได้ตามปกติ พยายามหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นที่ทำให้โรคเลวลง และการใช้ยาอย่างถูกต้อง ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืดนั้นประกอบด้วย 1. ยาขยายหลอดลม ( Relievers ) 2. ยาลดการบวม และการอักเสบของหลอดลม (Steroid ) 3. ยาป้องกัน ( Preventers ) ยาขยายหลอดลม มีทั้งชนิดพ่น และชนิดรับประทาน ซึ่งชนิดพ่นจะให้ผลได้เร็วกว่า และยังสามารถให้ได้ในเด็กเล็กๆ ยาชนิดนี้ จะช่วยให้การหายใจโล่งขึ้น เพราะไปขยายกล้ามเนื้อเล็กๆ ซึ่งอยู่ภายในหลอดลมที่หดเกร็ง เพื่อเปิดหลอดลมนั้น จะใช้เมื่อปรากฏอาการหอบ และใช้พ่นก่อนมีอาการ เพื่อ ป้องกันหอบหืดที่เกิดจากการออกกำลังกาย ยาขยายหลอดลมจึงเป็นยารักษาที่สำคัญ ยากลุ่ม Steroid จำเป็นต้องให้ เพียงระยะสั้นๆ คือ 3 - 5 วัน เพื่อรักษา และป้องกันไม่ให้โรครุนแรงขึ้น เด็กจะไม่รับผลข้างเคียงจากยาตัวนี้ เนื่องจากใช้ระยะสั้น และ ให้ในบางกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ยาป้องกัน จะช่วยป้องกันเยื่อบุหลอดลมไม่ให้เกิดอาการหดเกร็งได้ง่าย เวลากระทบกับสิ่งกระตุ้น ฉะนั้นยาจะไม่ได้ออกฤทธิ์ขยายหลอดลมขณะมีอาการหอบหืด การใช้ยาป้องกัน ต้องใช้สม่ำเสมอทุกวัน ถึงแม้เด็กจะมีอาการปกติแล้วก็ตาม ถ้าอาการหอบหืดควบคุมได้ดีแพทย์จะพิจารณาลดปริมาณยาลง ทำอย่างไรยาพ่นจึงจะลงไปที่หลอดลมได้ดี ? Inhalers คือยารักษาหอบหืด ในรูปยาพ่น ข้อดี คือ ยาผ่านเข้าปอดโดยตรง และให้ได้ในปริมาณที่น้อยกว่ายากิน และมีฤทธิ์ข้างเคียงน้อยกว่า แม้แต่ทารกในขวบปีแรก ก็สามารถใช้ยานี้ได้ และให้ประสิทธิภาพดีกว่ายาน้ำ ที่ใช้รับประทาน ยาพ่นมีทั้งชนิดแท่งสเปรย์ ( Aerosol puffer ) ชนิดอัดแห้ง ( dry powder ) เป็นกระเปาะ หรือแท่งดูด Spacers ในเด็กเล็กทุกรายที่ใช้แท่งสเปรย์ ควรใช้ Spacer ร่วมด้วยเพราะเด็กเล็กจะหายใจเอายาผ่านหลอดลม เข้าไปได้ดีขึ้น Spacer ทำให้เรามั่นใจว่า ยาพ่นสามารถไปถึงหลอดลมได้ดียาไม่ตกค้างเกาะอยู่ที่คอ หรือกระพุ้งแก้มในปาก Nembulisers เป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนยาในสภาพของเหลว ให้เป็นละอองฝอย โดยใช้ Oxygen หรืออากาศผ่านเข้าไปภายในกระเปาะยา ใช้ในบางกรณี เช่น ในห้องฉุกเฉิน สำหรับเด็กหอบรุนแรงที่ต้องการปริมาณยาที่มากกว่า
อ่านเพิ่มเติมถ้าน้องหอบจนหายใจไม่ออกควรจะต้องรีบไปพบแพทย์นะคะ เพราะน้องอาจจะมีอาการเป็นโรคหอบหืดค่ะ แต่ถ้าแค่หอบเพราะเหนื่อยอาจจะเป็นเพราะเขาหายใจไม่ทันก็ได้ค่ะ พยายามให้เขาออกกำลังกายให้เป็นประจำร่างกายเขาจะได้แข็งแรงและการหอบก็จะลดลงค่ะ
Promo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-9692)