ใครมีภาวะรกเกาะต่ำเหมือนกันบ้างคะ

อัลตราซาวตอน19วีค หมอบอกเป็นภาวะรกเกาะต่ำ ใครเจอกับปัญหานี้บ้างคะ อันตรายมั้ย มีกี่คนที่รกต่ำแล้วขยับขึ้นสูงเองได้บ้างในอายุครรภ์เยอะ ตอนนี้เครียดมาก

2 ตอบกลับ
 profile icon
เขียนข้อความตอบกลับ

รกเกาะต่ำมีกี่แบบ รกเกาะต่ำแบ่งได้เป็น 3 แบบใหญ่ๆ ตามความรุนแรง ดังนี้ครับ รกเกาะต่ำคลุมปากมดลูกทั้งหมดรกปิดปากมดลูกทั้งหมดทำให้ทารกคลอดทางช่องคลอดไม่ได้ ต้องผ่าคลอดทารกออกมา รกเกาะต่ำคลุมปากมดลูกเป็นบางส่วนปากมดลูกที่ขยายมากขึ้นอาจไปดึงให้รกขยับสูงขึ้น บางครั้งอาจไม่ขวางการคลอดของทารก แต่จะทำให้มีเลือดออกมาก ทำให้ต้องผ่าคลอดทารกออกมา รกเกาะต่ำบริเวณด้านล่างของมดลูกแต่ไม่คลุมปากมดลูกคือทารกสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ แต่ถึงแม่จะสามารถคลอดทารกทางช่องคลอดได้ ก็ทำให้เลือดออกมามากเช่นกัน รกเกาะต่ำเกิดขึ้นได้อย่างไร ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่า รกเกาะต่ำเกิดขึ้นจากสาเหตุใด แต่ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำมีดังนี้ครับ ตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก หรือ 35 ปีขึ้นไป ตั้งครรภ์แฝด เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน ยิ่งผ่าตัดหลายครั้ง ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น เคยขูดมดลูก แม่ท้องสูบบุหรี่จัด การติดเชื้อในครรภ์ เช่น ซิฟิลิส

อ่านเพิ่มเติม

รกเกาะต่ำอันตรายอย่างไร ภาวะรกเกาะต่ำ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แม่ท้องมีเลือดออกทางช่องคลอด ส่วนใหญ่เลือดที่ออกครั้งแรกจะออกไม่มาก และมักจะหยุดเองถ้าไม่มีสิ่งไปกระตุ้น เช่น การมีเพศสัมพันธ์ แต่ถ้าแม่ท้องมีเลือดออกมาก จะมีผลต่อทั้งแม่และลูกในครรภ์ อาจจำเป็นต้องผ่าคลอดแม้ว่าอายุครรภ์จะยังไม่ถึงกำหนด หากหัวใจของทารกเต้นผิดปกติก็อาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้ และภาวะรกเกาะต่ำนี้อาจทำให้แม่ท้องตกเลือด และอาจช็อคจากการเสียเลือดจนเสียชีวิต บางครั้งหากมารดาเสียเลือดมากหลังผ่าตัดคลอดแล้ว อาจจำเป็นต้องตัดมดลูกออกเพื่อหยุดเลือดด้วย โดยอัตราการเสียชีวิตของแม่ท้องที่เกี่ยวข้องกับภาวะรกเกาะต่ำนั้น พบได้ 2 – 3 % ซึ่งถือว่าเป็นอะไรที่อันตรายมากเลยทีเดียว

อ่านเพิ่มเติม
คำถามที่เกี่ยวข้อง