2 ตอบกลับ
แพทย์เตือนแม่ลูกอ่อนอย่าให้นมแทนกัน เด็กอาจติดเชื้อโดยไม่ตั้งใจ แพทย์เตือนไม่ใช่แม่ลูกกันโดยตรง อย่าให้นมเด็กเพราะสงสาร อาจทำเด็กติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ไวรัสบี ไวรัสซี ฯลฯ การให้ลูกได้รับน้ำนมแม่เป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าไม่ใช่แม่ลูกกันแล้วแบ่งปันแชร์น้ำนมกันก็อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพกับเด็กขึ้นได้ กลายเป็นเรื่องดราม่า จากกรณีโลกโซเชียลแชร์ข้อความจากเฟซบุ๊ก สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นภาพที่พยาบาลคนหนึ่งที่เป็นแม่ลูกอ่อนกำลังให้นมเด็ก เนื่องจากพ่อแม่เกิดอุบัติเหตุ โดยพ่อเสียชีวิต ส่วนแม่บาดเจ็บสาหัส ไม่สามารถให้นมเด็กได้ จนมีผู้เข้ามาชื่นชมการกระทำของพยาบาลท่านนี้เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าว ลงเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan โดยระบุว่า... "อ่าน social media แล้วตกใจ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าไม่ควรบริจาคนมแม่ในเวชปฏิบัติ ถ้าทารกไปดูดนมแม่อื่นที่ไม่ใช่แม่ของตน ทั้งนี้ ทางตะวันตกจะถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ให้ดูแลทารกนั้นเหมือนบุคลากรทางการแพทย์ ที่ถูกเข็มตำทีเดียว เพราะในนมแม่ที่ไม่ใช่แม่ทารกเอง ไม่ทราบว่ามีเชื้อโรคอะไรบ้าง เช่น เชื้อเอชไอวี (HIV) ไวรัสบี ไวรัสซี ฯลฯ ถึงแม้ว่านมแม่จะดีที่สุด ก็ดีที่สุดสำหรับลูกตัวเอง ไม่ควรบริจาคให้ใครเด็ดขาด ถ้าจะมีการให้นมแม่ ก็จะมีธนาคารนม การจัดจำหน่ายต้องมีขบวนการฆ่าเชื้อที่ถูกวิธี โดยคุณค่านมไม่เสีย จะเป็นการลงทุนที่สูงมาก" หลังข้อความดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปก็ทำให้หลาย ๆ คนต่างสงสัยว่า จริง ๆ แล้วการให้นมแก่เด็กที่ทารกที่ไม่ใช่ลูกของตนเองนั้น เป็นเรื่องที่ควรกระทำหรือไม่กันแน่ ทางด้านคุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ก็ออกมาให้ความเห็นที่ตรงกันว่า... ข่าวที่พยาบาลให้นมแก่เด็กวัย 4 เดือนนั้นทำให้คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ นึกถึงข่าวตำรวจหญิงชาวจีนให้นมแก่เด็กทารกเมื่อ 7 ปีที่แล้วที่ประเทศจีนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เด็กกำพร้าจำนวนหนึ่งสามารถรอดชีวิตได้จากการกินนมจากเต้าของแม่คนอื่น ซึ่งต่างจากกรณีที่เกิดขึ้นในบ้านเรา ที่เด็กไม่ยอมกินขวด ป้าหมอแนะนำว่า สามารถใช้วิธีอื่นๆ แทนการดูดขวดได้ เช่น การจิบจากถ้วย การใช้ช้อน การใช้ finger feeding การใช้ไซริงจ์ เนื่องจากในน้ำนมแม่มีเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อกันได้ จึงไม่ควรให้นมแทนกัน รวมทั้งไม่ควรบริจาคนมแม่กันเองโดยไม่ผ่านการตรวจหาเชื้อโรคติดต่อก่อน เพราะเด็กจะมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโดยที่ผู้ให้นมไม่ได้ตั้งใจ "เมื่อ 7 ปีที่แล้ว เป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในจีน ทำให้คนเสียชีวิตมากกว่า 51,000 สูญหายมากกว่า 29,000 คน ทำให้มีเด็กกำพร้าหลายพันคน ในขณะที่การช่วยเหลือยังเข้าไปไม่ถึง ขาดแคลนน้ำสะอาดและไฟฟ้า เด็กกำพร้าจำนวนหนึ่งรอดชีวิตได้ด้วยการกินนมแม่คนอื่น แต่ทันทีที่การช่วยเหลือเข้าไปถึงแล้ว เด็กก็ต้องเปลี่ยนไปกินนมผงที่มีการเตรียมอย่างสะอาดและถูกวิธี แต่หากคุณแม่มีชีวิตอยู่และยังมีน้ำนม ต้องให้นมแม่ของตัวเองจึงจะดีที่สุด อย่างไรก็ดี กรณีที่เกิดขึ้นของเราที่เป็นข่าวนั้นไม่ใช่แบบเดียวกับแผ่นดินไหวในจีน การที่หนูน้อยไม่ยอมกินขวด ไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องให้กินนมจากเต้าของแม่คนอื่น ถ้าบีบน้ำนมแม่ตัวเองออกมาป้อนได้ก็ควรทำ แต่ถ้าแม่อาการหนักไม่สามารถบีบหรือปั๊มนมออกมาได้ ก็ให้ใช้นมผงที่ลูกไม่แพ้ และน้ำสะอาดสำหรับชงนม อยู่ในรพ.มีนมผงแน่นอน ถึงไม่ยอมดูดขวดก็สามารถให้นมผงโดยวิธีอื่นได้โดยไม่ใช้ขวด ตามที่เพจนมแม่หลายๆ เพจได้กล่าวมาเยอะแล้ว เช่น การจิบจากถ้วย การใช้ช้อน การใช้ finger feeding การใช้ไซริงจ์ เพราะเราทราบดีว่า ในน้ำนมคนเรานั้นมีเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อได้ เช่น เอดส์ ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี,ซี ไวรัสซีเอ็มวี ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคลูคีเมียหรือโรคภูมิต้านทานทำงานผิดปกติ (HTVL1,HTVL2) จึงไม่สามารถนำมาให้เด็กคนอื่นกินโดยไม่ได้ผ่านการตรวจหาเชื้อเหล่านี้ก่อน ซึ่งจะทำได้ในรพ.ที่มีธนาคารนมแม่ การรับนมแม่บริจาคกันเองจึงมีความเสี่ยงที่ลูกจะได้รับเชื้อเหล่านี้ ความกังวลใจอีกอย่างคือ สมควรที่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ของเด็ก น้องพยาบาลที่ให้นม และหนูน้อย ควรได้รับการตรวจเลือดตอนนี้เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นเอาไว้ก่อน เพื่อแสดงว่าตอนนี้ทุกคนปลอดเชื้ออยู่นะ เพราะเราไม่ทราบว่าในอนาคตวันข้างหน้า ถ้าหากหนูน้อยคนนี้มีการติดเชื้ออะไร น้องพยาบาลท่านนี้จะได้ไม่ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อของหนูน้อย ถึงแม้ว่าสิ่งที่ทำจะไม่ถูกต้อง แต่เชื่อว่าหลายคนเข้าใจความเจตนาดีมีน้ำใจของน้องพยาบาลค่ะ"
ลองปรึกษาคุณหมอนะค่ะ ปั้มใส่ขวดน่าจะดีกว่า อย่าดูดจากเต้านะค่ะ เพื่อลูกเราเปลี่ยนกลิ่นแล้วไม่ยอมดูดเต้าเรา