สามีสูบบุหรี่ แต่คุณแม่ไม่ได้สูบบุหรี่จะส่งต่อ ทารกในครรภ์ไหมคะ

หญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่จะส่งผลให้ทารกในครรภ์มีโอกาสเกิดปากแหว่งเพดานโหว่มากกว่าทารกที่มารดาไม่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ถึง 2 เท่า และเมื่อทารกที่คลอดออกมาหากแม่ยังสูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่ ที่ทำให้ทารกป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจตอนล่าง หอบหืด และหูชั้นกลางอักเสบ ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่จำเป็นต้องเลิกสูบบุหรี่ เพื่อลดโอกาส เสี่ยงที่ลูกในครรภ์จะผิดปกติหรือไม่แข็งแรง หากเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จภายใน 3-4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อัตราเสี่ยงต่างๆ ที่จะมีผลต่อทารกจะลดลงอย่างมาก อธิบดีกรมอนามัยกล่าวอีกว่า ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่นแม้จะไม่สูบเองแต่จะมีอันตรายมากกว่าผู้สูบเอง เนื่องจากเป็นควันที่เกิดจากการเผาไหม้บุหรี่โดยตรง ไม่ได้ผ่านก้นกรองของบุหรี่ หญิงมีครรภ์ ทารกและเด็กจึงควรหลีกเลี่ยงไม่อยู่ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่หรืออยู่ในสถานที่มีควันบุหรี่ และหากต้องการเลิกบุหรี่ก็ควรใช้วิธีการพยายามเลิกด้วยตนเองก่อนการใช้ยา แม้ว่าปัจจุบันจะมียาหลายชนิดสำหรับใช้ในผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ จะช่วยให้สำเร็จในการเลิกบุหรี่มากขึ้น ทั้งยาที่มีนิโคตินทดแทนบุหรี่ ยาที่ไม่มีนิโคติน และยาสมุนไพรหญ้าดอกขาว การใช้ยาทุกชนิดควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร และที่สำคัญหญิงตั้งครรภ์หรือมารดาที่ให้นมบุตรไม่ควรใช้ยาเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง
อ่านเพิ่มเติม