1 ตอบกลับ

หาข้อมูลมาให้ค่ะ โรคเท้าปุกเทียม จะพบว่าความผิดรูปของเท้ามีลักษณะนิ่ม เพียงการดัดเบาๆ ก็จะเห็นเท้าคืนรูปได้ เท้าปุกชนิดนี้เท้าไม่ได้มีความผิดปกติที่เกิดกับโครงสร้างของเท้าที่แท้จริง สาเหตุเชื่อว่าอาจเกิดจากการที่เด็กขดตัวอยู่ในท้องแม่เป็นเวลานานหรืออาจหาสาเหตุไม่พบเลย เท้าปุกแบบนี้สามารถหายเองได้หรืออาจใช้เพียงการเขี่ยเท้าเพื่อกระตุ้นให้เด็กขยับเท้าก็เพียงพอ ส่วน โรคเท้าปุกแท้ นั้น ความผิดปกติของรูปร่างเท้าจะรุนแรงกว่า เห็นได้ชัดเจนและแข็งไม่สามารถดัดให้เท้าคืนกลับมาอยู่ในรูปร่างปกติได้ เท้าปุกแบบนี้ไม่สามารถหายเองได้จำเป็นต้องได้รับการรักษา เพราะหากทิ้งไว้จะก่อให้เกิดความผิดปกติหรือความพิการถาวรเกิดขึ้นได้ การแยกเท้าปุกทั้งสองแบบออกจากกันจึงมีความสำคัญหากไม่แน่ใจควรปรึกษาศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อในเด็ก วิธีการรักษาโรคเท้าปุก การรักษาโรคเท้าปุกมีการพัฒนามายาวนาน มีทั้งการรักษาแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ในปัจจุบันวิธีการรักษาที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือคือการรักษาโดยวิธีแบบ Ponseti หลักของการรักษาแบบนี้คือการดัดแก้ไขความผิดรูปของเท้าทีละน้อยร่วมกับการใส่เฝือก โดยต้องเปลี่ยนเฝือกทุก 1-2 สัปดาห์และทำการดัดเท้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาจจะประมาณ 6-8 ครั้งขึ้นกับความรุนแรง จนได้รูปเท้ากลับมาใกล้เคียงปกติ และมักจะต้องร่วมกับการเจาะยืดเอ็นร้อยหวายในการใส่เฝือกครั้งสุดทาย หลังจากเท้าได้รูปที่ดีแล้วยังคงต้องใส่อุปกรณ์ช่วยดัดเท้าในเวลาที่เด็กนอนหลับต่ออีก 3-4 ปีเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การรักษาโดยวิธีนี้ควรเริ่มรักษาให้เร็วที่สุดจะได้ผลดีกว่า

คำถามที่เกี่ยวข้อง

คำถามยอดฮิต

บทความเกี่ยวข้อง