3 ตอบกลับ

สำหรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป สามารถแยกแยะความจริงได้แล้ว หากเด็กพูดโกหกอาจมีสาเหตุคือ 1.เพื่อหลีกหนีจากสิ่งที่ไม่ต้องการ กลัวว่าจะถูกทำโทษเมื่อทำผิด เช่น ลูกขโมยเงินพ่อแม่เพื่อเอาไปซื้อของเล่นยอดฮิตเหมือนเพื่อนๆที่โรงเรียน แต่กลัวพ่อแม่จับได้เลยต้องโกหก สำหรับวัยรุ่นปัญหาที่มักจะเจอส่วนใหญ่ก็คือการคบเพื่อน การมีกลุ่มเพื่อนที่อาจจะชักจูงกันไปทำกิจกรรมที่ไม่ค่อยถูกต้องหรือถูกใจผู้ปกครองมากนัก ก็พยายามหาวิธีการหลบหลีกด้วยการโกหก บ่อยครั้งที่ผู้ปกครองจับไม่ได้ และบ่อยครั้งที่ผู้ปกครองก็จับได้ ดังนั้น สิ่งที่จะตามมาก็คืออาจจะถูกตำหนิ ดุด่า ในที่สุดพฤติกรรมเหล่านั้นแทนที่จะหายไปกลับยิ่งถูกส่งเสริมให้รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการตำหนิยิ่งทำให้สถาน การณ์ของปัญหาการโกหกแย่ลง เพราะวัยรุ่นจะยิ่งห่างจากครอบครัวมากขึ้น 2.เพื่อให้ได้รับสิ่งที่ต้องการ เช่น เด็กที่รู้สึกเบื่อ เหงา อาจสร้างเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาเล่าให้พ่อแม่ฟัง พ่อแม่จะได้สนใจตนมากขึ้น หรือเด็กที่รู้สึกว่าตนเองไม่เก่งไม่ดีก็อาจเล่าเรื่องโกหกให้ตัวเองดูดี เพราะอยากให้พ่อแม่ชื่นชม และ 3.เด็กมีความผิดปรกติทางด้านจิตเวช เช่น เด็กที่มีปัญหาเรื่องสติปัญญาบก พร่อง มีปัญหาด้านภาษา เด็ก ที่ป่วยเป็นโรคจิต บางครั้งก็ดูเหมือนว่าจะพูดเรื่องไม่จริงตามความคิดที่เกิดขึ้นในโลกส่วนตัวจากการที่มีสติปัญญาบกพร่องอยู่ หรือเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า อาจจะไม่ได้แสดงออกทางอารมณ์ แต่มาแสดงออกทางพฤติกรรม เช่น พูดโกหก หนีเรียน ลักขโมย เป็นต้น ก็สามารถพบเห็นได้บ่อยทั้งที่บ้านและโรงเรียน หากไม่อยากให้ลูกกลายเป็นเด็กเลี้ยงแกะ พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถช่วยเหลือและ ดูแลได้ 5 ข้อหลักๆดังนี้ 1.พ่อแม่ควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกอยู่เสมอ ลูกจะได้มั่นใจในความรักและความ หวังดีของพ่อแม่ เพื่อเวลาที่ลูกทำผิด หรือทำสิ่งไม่ดีลงไป ลูกจะได้กล้าปรึกษาพ่อแม่ ซึ่งจะช่วยไม่ให้ลูกตัดสินใจผิดพลาดจนเกิดผลเสียร้ายแรงตามมา 2.ไม่ควรมีอารมณ์โมโห หรือตำหนิตัวตนของลูกเมื่อลูกทำความผิด แต่ควรจัดการเฉพาะพฤติกรรมที่ผิดเท่านั้น ควรใช้เหตุผลพูดคุยกัน เพื่อลูกจะได้กล้ายอมรับความจริงในสิ่งที่ตนทำ ควรชื่นชมที่ลูกกล้าสารภาพผิด และแนะนำว่าเขาควรทำอย่างไรต่อไป เพราะการที่ลูกถูกตำหนิและตราหน้าอยู่เรื่อยๆว่าเป็นเด็กไม่ดีจะทำลายความรู้สึกดีที่ลูกมีต่อตนเอง ยิ่งทำให้ลูกมีพฤติกรรมชอบโกหก และบางครั้งพฤติกรรมเหล่านี้อาจรุนแรงมากขึ้นอีก 3.ควรมีความไว้วางใจไม่จับผิดหรือระแวงลูกมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกเหมือนเป็นนักโทษ เช่น บางครั้งลูกกลับบ้านดึก แม่ก็คอยซักถาม จับผิดว่าลูกไปไหน ไปทำอะไร ซึ่งบางทีลูกอาจแค่ไปร้องคาราโอเกะกับเพื่อน แต่การที่พ่อแม่ซักถามเหมือนไม่ไว้ใจลูกและไต่สวนเหมือนเป็น ผู้กระทำความผิด เด็กก็อาจ ใช้วิธีการโกหกเพื่อให้พ่อแม่ หยุดซักถาม หรือหลบหลีกด้วยการโกหก 4.ควรหลีกเลี่ยงการลง โทษที่รุนแรงเมื่อลูกทำผิดหรือจับโกหกได้ เพราะการลงโทษเป็นเพียงการแก้ไขที่ปลายเหตุ ยังมีทางออกที่ดีกว่าวิธีการลงโทษคือ การพูดจาเพื่อทำ ความเข้าใจถึงเหตุผลบางประ การของลูก ซึ่งพ่อแม่ต้องมีอารมณ์ที่สงบเพื่อจะรับฟังลูกอย่างจริงใจ 5.เป็นแบบอย่างที่ดี ไม่พูดโกหกให้ลูกเห็น เพราะลูกอาจเลียนแบบจนติดเป็นนิสัย เข้าใจผิดว่าการโกหกเป็นเรื่องปรกติที่สามารถทำได้ ที่สำคัญพ่อแม่จะต้องพยายามสังเกตว่าลูกมีอาการป่วยทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า ความบกพร่องทางสติปัญญา หรือมีปัญหาเรื่องภาษาหรือไม่ เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้อาจโกหกโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ทำไปเพราะพวกเขาป่วย หากสงสัยว่าลูกมีภาวะดังกล่าวควรพามาพบจิตแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม http://www.thaihealth.or.th/Content/25476-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81'%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%81'.html http://www.thaihealth.or.th/Content/25476-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81'%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%81'.html

เป็นเรื่องที่ดีนะคะที่คุณแม่เข้าไปพูดคุยกับคุณครู และร่วมกันแกปัญหาของน้อง แต่ก็เป็นเรื่องเศร้าที่รู้ว่าเด็กในวัยเริ่ม 2-3 ขวบจะรู้สึกว่าตัวเองต้องโกหก และพวกเขาก็ทำเช่นนั้นจริง ๆ ดังนั้น กุญแจที่จะทำให้ลูกไม่โกหกคือการรู้ว่า “ทำไม” เขาถึงทำเช่นนั้น และรู้ “วิธี” ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมในทางลบของลูก ทำไมลูกชอบโกหก? มีหลายสาเหตุด้วยกันที่ทำให้ลูกชอบโกหก เราลองมาเริ่มดูอันที่ง่ายที่สุดเพื่อดูว่าพฤติกรรมใดเป็นความไร้เดียงสา และเราไม่สามารถที่จะปิดกั้นจินตนาการของเขาได้ สิ่งนี้เกิดขึ้นกับเด็กในวัยนี้เป็นปกติอยู่แล้ว พวกเขามีจินตนาการอันโลดแล่นและไม่รู้ว่าจะแยกจินตนาการออกจากความจริงได้อย่างไร บางส่วนในจินตนาการของเขาเป็นเรื่องที่เขาไม่ได้เจตนา แต่ก็มีบางครั้งที่เขาตั้งใจให้มันเกิดขึ้น (เหมือนจะไร้เดียงสา แต่ก็เป็นเรื่องที่เขาตั้งใจให้เกิดขึ้น) อีกเหตุผลที่ลูกชอบโกหกคุณคือ เพื่อหลีกเลี่ยงการที่ต้องทำในสิ่งที่เขาไม่อยากทำ เช่น “ใช่ค่ะแม่ หนูแปรงฟันแล้ว” สิ่งนี้จะออกมาจากปากลูกน้อยโดยง่ายดายเมื่อเขากำลังจดจ่ออยู่กับการเล่นของเล่นและไม่อยากไปทำอะไรอย่างที่คุณสั่ง เด็กมักจะโกหกเกี่ยวกับการบ้านว่าทำเสร็จแล้วหรือทำงานบ้านเสร็จแล้วด้วยเหตุผลที่คล้ายกัน ลูกชอบโกหกเพื่อเลี่ยงการถูกทำโทษ คุณคิดว่ามันน่าทึ่งหรือไม่ล่ะที่เห็นลูกน้อยอีกคนร้องไห้เพราะโดนหยิก แต่ลูกอีกคนกลับปฏิเสธความผิดอย่างแน่วแน่ว่าเขาไม่ได้ทำ? แน่นอนว่าลูกคุณไม่อยากถูกทำโทษอยู่แล้ว บางครั้งเด็กโกหกเพื่อปกป้องบางคน ลูกสาวของฉันมีเพื่อนมาเล่นด้วยที่บ้าน ซึ่งเด็กคนนั้นไม่ค่อยเป็นเด็กดีเท่าไหร่ ฉันต้องคอยบอกเด็กคนนั้นถึงสองครั้งในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงว่าอย่าพูดไม่เพราะกับน้องของน้องบุ๋ม ซึ่งเป็นลูกสาวอีกคนของฉัน เมื่อลูกสาวคนเล็กของฉันเข้ามาในห้องพร้อมกับร้องไห้บอกว่าเพื่อนของน้องบุ๋มผลักเธอออกจากห้อง น้องบุ๋มกลับปฏิเสธว่าเพื่อนเธอไม่ได้ทำเพราะเธอรู้ว่าฉันไม่อนุญาตให้พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นในบ้านอยู่แล้ว หลังจากที่ซักถามไปได้สองครั้ง น้องบุ๋มก็ยอมรับว่าเพื่อนของเธอทำเช่นนั้นจริง ๆ ฉันจึงประกาศอย่างสุภาพว่าการมาเล่นด้วยกันในครั้งนี้สิ้นสุดลงแล้ว และฉันพาเพื่อนของน้องบุ๋มไปส่งที่บ้าน ลูกชอบโกหกก่อนที่จะรู้ตัวว่าเขาโกหก ผู้ใหญ่เองมักพูดสิ่งต่าง ๆ ด้วยความรีบร้อน เด็กก็ไม่ต่างกัน สนับสนุนให้เขาพูดแต่ความจริง ในเมื่อคุณไม่สามารถห้ามลูกของคุณไม่ให้โกหกได้ มีหลายวิธีที่ช่วยส่งเสริมให้เขาพูดความจริงและและลดการโกหกลงได้ โดยที่: •คุณเองควรพูดความจริงและซื่อสัตย์ต่อตนเองเสมอ •ห้ามลงโทษลูกเมื่อเขาบอกความจริงกับคุณ •อย่ากล่าวหาลูก ให้โอกาสเขาได้สารภาพในสภาพแวดล้อมที่ไม่ทำให้เขากลัว •อย่าทำเหมือนว่าคุณกำลังไต่สวนลูก การซักถามเขาอย่างหนักหน่วงจะยิ่งทำให้เขาปกป้องตัวเขาเองมากขึ้น และเมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น ลูกของคุณจะบอกเฉพาะสิ่งที่เขาคิดว่าคุณอยากได้ยินเพื่อให้เขารอดพ้นจากสถานการณ์นั้น ๆ ควรให้เกียรติลูกได้พูดความจริงและแสดงให้เขารู้ว่าคุณเคารพในความจริงที่เขาพูดและรู้สึกชื่นชมในความพยายามที่จะพูดความจริงเสมอ ข้อมูลดีดีจากTheAsianParentค่ะ

ก่อนอื่นอาจต้องหาสาเหตุก่อนนะค่ะ ว่าทำไมลูกถึงต้องโกหก หลายๆครั้งเด็กๆ อาจโกหกเพราะกลัวโดนดุ หรือ โกหกเพราะไม่อยากให้พ่อ แม่เสียใจ หรือ กลัวพ่อแม่ไม่รัก หรือมองว่าเค้าเป็นเด็กไม่ดี หรือ เพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ หรือ ถ้าเค้าชองยุให้คนอื่นทะเลาะกัน ก็อาจเกิดจาก เค้าอยากเป็นที่รักของเพื่อน ๆ เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสาเหตุมากจากอะไร บางครั้ง ถ้าคุณพ่อคุณแม่ ดุเกินไป หรือ ห้ามมากเกินไป พฤติกรรมของเด็กก็อาจจะแสดงออกด้วยการ โกหกเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจ ประเด็นสำคัญคือมองว่า ถ้าที่คุณครูบอกว่า จะช่วยดูที่โรงเรียนอีกทาง ต้องไม่เป็นการเหมือนไปจับผิดเค้า แต่ต้องให้เค้าเรียนรู้ว่า การโกหก ไม่ดียังไง มีผลเสียยังไง มีอีกหลายวิธีแนะนำค่ะ เด็กๆ วัยนี้ แก้ไขพฤติกรรมได้ค่ะ จะได้ไม่ติดไปจนเติบโตเป็นผู้ใหญ๋ ที่ขี้โกหกค่ะ มีข้อมูลเพิ่มเติมมากมาย ลองศึกษาจาก Link ด้านล่างนะค่ะ ทำอย่างไรไม่ให้ลูกพูดโกหก - Thaihealth.or.th | สำนักงานกองทุนสนับสนุน ... www.thaihealth.or.th › สาระสุขภาพ › บทความสุขภาพ

คำถามที่เกี่ยวข้อง

คำถามยอดฮิต

บทความเกี่ยวข้อง